TY - JOUR AU - สาธิตสมิตพงษ์, เนติ PY - 2022/04/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การเปรียบเทียบผลการรักษากระดูกต้นขาส่วนกลางหักระหว่าง Dynamic compression plate กับ Locking compression plate JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 19 IS - 1 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/256351 SP - 53-63 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาภาวะกระดูกต้นขาส่วนกลางหักที่ไม่มีชิ้น comminution หรือมีชิ้น comminution ขนาดเล็กระหว่าง dynamic compression plateกับlocking compression plate<strong>    รูปแบบและวิธีวิจัย</strong> <strong>:</strong> ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยที่มีกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการจัดกลุ่มอยู่ใน Winquist and Hansen classification 0 และ 1 ที่เข้ามารักษาในแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 121 ราย โดยศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียน ฟิล์มเอกซเรย์ เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธี ORIF with DCP กับ ORIF with LCP</p><p><strong>          ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> DCP พบ complication มากกว่า LCP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) โดย DCP พบ complication 9 ราย แบ่งเป็น delayed union 5 ราย และfail plate 4 ราย ทั้ง 9 รายเป็นผู้ป่วยที่อยู่ใน Winquist and Hansen type 1 ส่วน LCP ไม่พบcomplicationเลยทั้ง type 0 และ type 1 DCP และ LCP มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่พบ radiographic union ใกล้เคียงกัน คือ DCP 4.99 เดือน LCP 5.08 เดือน <br />(p-value = 0.607) เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มย่อย พบว่าใน DCP ผู้ป่วย type 1 มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่พบ radiographic union มากกว่า type 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ type0 4.36 เดือน type1 5.24 เดือน (p-value = 0.041) แต่ใน LCP ไม่พบความแตกต่าง</p><p><strong>          สรุปผล</strong><strong>การศึกษา </strong><strong>:</strong> ใน Winquist and Hansen classification type 1 การใช้ LCP มีความเหมาะสมกว่าการใช้ DCP เนื่องจากให้ผลการรักษาที่ดีกว่า ส่วนในกรณี Winquist and Hansen type 0 ทั้ง DCP และ LCP ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน</p> ER -