TY - JOUR AU - อัครแสง, ทศพร PY - 2022/08/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ภาวะ re-displacement ในกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 19 IS - 2 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/258049 SP - 36-49 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>ศึกษาภาวะ re-displacement และปัจจัยที่สัมพันธ์กับกระดูกเรเดียสส่วนปลายหักที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย</p><p><strong>วิธีการดำเนินการวิจัย </strong><strong>: </strong>รูปแบบการวิจัย (Research design) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic study by retrospective data collection) โดยการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยทางระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะกระดูกเรเดียสส่วนปลายหัก ที่รักษาในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561- 31 ธันวาคม 2564</p><p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> จากการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 91 ราย พบว่าอายุอยู่ระหว่าง 16-89 ปี, ส่วนสูง 140-178 เซนติเมตร, น้ำหนัก 35-97 กิโลกรัม, ข้างที่หักข้างซ้ายมากกว่าเล็กน้อย 51.6%, ส่วนใหญ่ถนัดข้างขวา 95.6%, กลไกการบาดเจ็บเป็นแบบ Low energy 82.4%, ประเภทของกระดูกหักเป็นแบบ Bending fracture 72.5%, การรักษาทั้งหมดเป็นการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมโดยการใส่เฝือก ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ Re-displacement ที่ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ภายหลังจากการรักษา  และที่ระยะเวลา 4-5 สัปดาห์ภายหลังจากการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบไปด้วย Unacceptable alignment, Associated ulnar fracture , Residual post-reduction  displacement, Dorsal comminution, และมีอาการปวดหลังการรักษา และอายุเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ในผู้ป่วยสูงอายุที่มี displacement ใน post reductionและ dorsal comminution  จากภาพภาพถ่ายทางรังสี มีโอกาสเกิด re-displacementมากขึ้น ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงควรพิจารณาติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิด re-displacement หลังการเข้าเฝือก หรือพิจารณารับการรักษาด้วยการผ่าตัด</p> ER -