TY - JOUR AU - บูรณวรศิลป์, ลัดดาวัลย์ PY - 2022/08/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย ในองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 19 IS - 2 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/258192 SP - 127-139 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาการพัฒนาใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม</p><p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แนวคิดของ Kemmis &amp; McTaggart และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แบ่งระยะการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการ และ3) ระยะประเมินผล เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกายวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.94 และ 2) รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พัฒนาขึ้นเอง ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.87 เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 74 คน ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม 2565 เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พัฒนาขึ้น โดยใช้สถิติ paired T-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p><p><strong>ผลการศึกษา</strong>: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับขั้นความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ขั้นเริ่มปฏิบัติ ร้อยละ 44.6 ใช้เวลาออกกำลังกายเฉลี่ย 50.06 นาที/ ครั้ง หรือ 3.43 ครั้ง/ สัปดาห์ <br />วิธีออกกำลังกายส่วนใหญ่ คือ การเดิน ร้อยละ 48.6 หลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรม<br />การออกกำลังกายที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีลำดับขั้นความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ความสมดุลยภาพในการตัดสินใจในการออกกำลังกายและดัชนีมวลกายเฉลี่ย แตกต่างกับระยะก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05</p><p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong>: รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่พัฒนาจากทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการออกกำลังกายและควรขยายผลการศึกษาไปยังสหสาขาวิชาชีพอื่นและส่งเสริมสุขภาพในประเด็นอื่น ๆ</p> ER -