https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/issue/feed วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2024-06-27T15:46:47+07:00 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม mskh.journal@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นวาสารวิชาการวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พยาบาลและเกี่ยวข้องด้านการสาธารณสุขทุกสาขา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขและเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านการแพทย์ พยาบาล และการสาธารณสุขทั้งในและนอก องค์กรสู่การสืบค้นแก่ผู้ที่สนใจ </p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร</strong></p> <p> 1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ <br /> 2. แพทยศาสตร์ (Medicine) <br /> 3. ทันตแพทยศาสตร์ (dentistry) <br /> 4. เภสัชศาสตร์ (pharmacy) <br /> 5. พยาบาลศาสตร์ (Nursing) <br /> 6. สาธารณสุขศาสตร์ (Health professions) <br /> 7. เทคนิคการแพทย์ (Medical technology) <br /> 8. กายภาพบำบัด (Physical Therapy) <br /> 9. รังสีเทคนิค (Radiological Technology) <br /> 10. สาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p><strong>กระบวนการ </strong><strong>Peer Review Process</strong></p> <ul> <li>กองบรรณาธิการวารสาร ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</li> <li>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และต่างหน่วยงาน/ต่างสถาบัน จำนวน 3 ท่าน <strong>โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind)</strong> และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</li> <li>กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์ หรือ เพิกถอนบทความในขั้นตอนใด ๆ ได้ หากมีการตรวจพบข้อผิดพลาดด้านเนื้อหาและ/หรือจรรยาบรรณทางวิชาการของบทความนั้นโดยประจักษ์</li> </ul> <p><strong>ประเภทบทความที่สามารถลงตีพิมพ์</strong></p> <p> 1. นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) ได้แก่ บทความที่เสนอผลงานใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เคย ตีพิมพ์ในวารสาร หรือหนังสืออื่นๆ<br /> 2. รายงานผู้ป่วย (case report) เป็นรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ เช่น การบาดเจ็บ, ความผิดปกติหรือโรคที่ พบได้ยาก และที่น่าศึกษา ใช้วิธีการนวัตกรรม หรือเครื่องมือใหม่ ในการรักษาผู้ป่วย ควรเขียนตามลำดับ ได้แก่ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ (เหตุผลที่ทำการศึกษานี้รวมทั้งวัตถุประสงค์) รายงานผู้ป่วย (รวมถึงวัสดุและ วิธีการศึกษา) วิจารณ์สรุปอภิปรายผล และเอกสาร อ้างอิง<br /> 3. บทความพิเศษ (special article) เป็นบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านการแพทย์ทันตแพทย์ เภสัชกรรม พยาบาลการสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์อาจมีลักษณะเป็นบทวิเคราะห์วิจารณ์หรือ บทความทางด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องและเห็นว่าเป็นประโยชน์<br /> 4. บทความวิชาการ (review article) ได้แก่ บทความที่ได้จากการรวบรวมนำเอาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ ในวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์นำมาเรียบเรียงและ วิเคราะห์วิจารณ์หรือ เปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความลึกซึ้งหรือเกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น<br /> 5. ปกิณกะ (miscellany) เป็นบทความหรือสาระความรู้ได้แก่ บทความอื่น ๆ หรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับ ด้านการแพทย์ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ หรือบทความที่ส่งเสริม ความเข้าใจอันดีต่อผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร<br /></strong>จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ <br /> ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – เมษายน) <br /> ฉบับที่ 2 (เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม) <br /> ฉบับที่ 3 (เดือน กันยายน – ธันวาคม)<strong><br /></strong><em>*หมายเหตุ : วารสารเผยแพร่เฉพาะในเว็บไซต์ ไม่จัดพิมพ์รูปเล่ม</em></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> 1. บุคคลภายนอก จำนวน 4,000 บาท<br /> 2. บุคคลภายใน (โรงพยาบาลมหาสารคาม) จำนวน 1,500 บาท<br /><span style="color: red;">หมายเหตุ 1 :</span> เรียกเก็บเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขอตีพิมพ์ก่อนส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ<br /><span style="color: red;">หมายเหตุ 2 :</span> หากผู้เขียนดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมขอตีพิมพ์บทความแล้ว ทางวารสารฯ จะไม่คืนค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ทุกกรณี</p> <p> </p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267127 การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลมหาสารคาม 2024-02-06T10:35:55+07:00 สุดาจันทร์ สุคะตะ chaiphar8@gmail.com ธณัญภรณ์ วาโยบุตร thananyaporn@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาสภาพปัญหา บริบทของการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ นำมาพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการและเพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะเวลาวิจัย เมษายน 2565 - มกราคม 2566 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ คนพิการด้านการเคลื่อนไหว คนพิการด้านจิตใจและพฤติกรรม 100 คน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ตัวแทนภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>:</strong> ปัญหาในการดูแลคนพิการ คือ คนพิการเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ที่ต้องดูแลใกล้ชิด ว่างงานไม่มีรายได้ ขาดการประสานงานระหว่างภาคีเครือข่าย และ การบันทึกข้อมูลคนพิการและการให้บริการยังใช้การจดในแบบฟอร์มเป็นกระดาษ การประสานการช่วยเหลือยังไม่ครอบคลุมครบถ้วน การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ ประชุมภาคีเครือข่ายนำรูปแบบการสื่อสารแบบออนไลน์ระบบทางไกลมาใช้เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลและให้บริการคนพิการร่วมกันของภาคีเครือข่าย มีการคืนข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปออกแบบกิจกรรมจนได้รูปแบบการดูแลคนพิการตามบริบทของชุมชนและหน่วยงาน ผลของการพัฒนารูปแบบดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ พบว่า ร้อยละคนพิการได้รับการดูแลทางสังคมผ่านช่องทางการสื่อสารแบบออนไลน์ระบบทางไกล ร้อยละ 100 มีจำนวนเครือข่ายที่ร่วมดูแลคนพิการทางสังคม 5 เครือข่าย และคนพิการได้รับการดูแลทางสังคมอย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง ร้อยละ 100</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>การศึกษา </strong><strong>:</strong> การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยภาคีเครือข่ายได้ใช้ข้อมูลวางแผนในการให้บริการ ทำให้คนพิการได้รับการดูแลแบบองค์รวม ครบถ้วน</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267926 บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี 2024-03-25T09:50:01+07:00 สุกันยา พิลาตัน sky.plt18@gmail.com สุรชัย พิมหา surachai@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> : </strong>ศึกษาบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) ประชากร คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงาน SRRT ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี จำนวน 208 คน คำนวณขนาดตัวอย่าง ได้จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2567–4 กุมภาพันธ์ 2567</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี และบรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง 4 ตัวแปร มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 76.2 (R<sup>2</sup>=0.762, p-value&lt;0.001)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>ปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยี และบรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย และยั่งยืนต่อไป</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267902 แรงจูงใจและสุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย 2024-03-25T09:52:12+07:00 กาญจนา พันนะ kan.mydear@hotmail.com สุรชัย พิมหา surachai@gmail.com กฤษณะ อุ่นทะโคตร krissana@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>:</strong> เพื่อศึกษาแรงจูงใจและสุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย</strong> <strong>: </strong>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด 384 คน และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.99 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>: </strong>ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะในการวางแผนและจัดองค์กรความก้าวหน้าในตำแหน่ง ความรับผิดชอบ และการยอมรับนับถือ ทั้ง 5 ตัวแปร มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ได้ร้อยละ 72.6 (R<sup>2</sup>=0.726, p-value&lt;0.001)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> <strong>: </strong>ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะในการวางแผนและจัดองค์กร ความก้าวหน้าในตำแหน่ง ความรับผิดชอบ และการยอมรับนับถือ ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการส่งเสริมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย และยั่งยืนต่อไป</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267162 ภาวะแคลเซียมเกาะหลอดเลือดจนอุดตันส่งผลให้มีการตายของเนื้อเยื่อบริเวณองคชาติในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย: รายงานผู้ป่วย 2024-02-06T10:06:42+07:00 กัณตินันภ์ กาญจนา jibew_fm@hotmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> ภาวะแคลเซียมเกาะหลอดเลือดจนอุดตันส่งผลให้มีการตายของเนื้อเยื่อบริเวณองคชาติ (Penile calciphylaxis) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก แต่มีความรุนแรงของโรคสูงและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รายงานนี้เป็นการกล่าวถึงปัจจัยการเกิดโรค พยาธิสภาพบริเวณรอยโรค และลักษณะทางพยาธิวิทยาเฉพาะผู้ป่วยรายนี้</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> : เป็นรายงานผู้ป่วย 1 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย โรงพยาบาลร้อยเอ็ด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : รายงานผู้ป่วยชายไทย อายุ 69 ปี มีแผลเรื้อรังที่องคชาติมา 2 เดือน มีโรคประจำตัวไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ตรวจร่างกายพบมีการตายของเนื้อเยื่อบริเวณองคชาติบางส่วน ทำการรักษาด้วยการตัดองคชาติส่วนที่มีการตายออก ผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบมีแคลเซียมเกาะที่บริเวณผนังหลอดเลือดขนาดเล็กจนเกิดการอุดตัน ส่งผลให้มีการตายของเนื้อเยื่อบริเวณองคชาติ</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong>: การรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการตัดองคชาติส่วนที่มีการตายออก เป็นการลดภาวะแทรกซ้อนของเนื้อเยื่อตายและแผลติดเชื้อจากภาวะ penile calciphylaxis จึงช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267514 ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการระงับความรู้สึก เมื่อให้ยา Midazolam เสริมใน Propofol-based TCI ในผู้ป่วยที่มาเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ 2024-03-15T13:29:38+07:00 จรัมพร พัฒนพิชากร jpichakorn@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา Midazolam ในการช่วยลดขนาดยา Propofol ที่ใช้ระงับความรู้สึก และลดภาวะความดันโลหิตต่ำ ขณะผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีการวิจัย :</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยทุกรายได้รับยา Propofol และบริหารยาโดยใช้ Target controlled infusion (TCI) เพื่อระงับความรู้สึกในระหว่างการรักษา โดยทำการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม M = Midazolam 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม + Fentanyl 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ตามด้วย Propofol TCI : Ce เริ่มต้น 1.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ ให้เพิ่ม Ce ครั้งละ 0.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จนกว่า Modified Observer's Assessment of Alertness/Sedation (MOAA/S) score ≤ 2 และกลุ่ม P = Fentanyl 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัม + Propofol TCI : Ce เริ่มต้น 1.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ ให้เพิ่ม Ce ครั้งละ 0.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จนกว่า MOAA/S score ≤ 2</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> จากข้อมูลทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าเฉลี่ย Total Propofol (มิลลิกรัม) กลุ่ม M 150.4±73.3 และ กลุ่ม P 198.2±97.5 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=&lt;0.01) ซึ่งยา Midazolam มีประสิทธิภาพในการช่วยลดขนาดยา Propofol ที่ใช้ระงับความรู้สึกขณะผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบภาวะความดันโลหิตต่ำ จากการใช้ยา Propofol พบว่ากลุ่ม M 27 ราย (ร้อยละ 58.7) และกลุ่ม P พบ 26 ราย (ร้อยละ57.8) ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.92) และเมื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงจากการใช้ยาพบว่า กลุ่ม M ต้องช่วยเปิดทางเดินหายใจ 12 ราย (ร้อยละ26.1) และกลุ่ม P พบ 9 ราย (ร้อยละ20.0) ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.49) และไม่มีผู้ป่วยจากทั้งสองกลุ่มยืดระยะเวลาออกจากห้องพักฟื้น</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา :</strong> Midazolam สามารถช่วยลดขนาดการใช้ยา Propofol ได้ และพบว่าภาวะความดันโลหิตต่ำ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่นไม่มีความแตกต่างกัน</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267592 คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาล บ้านบึง จังหวัดชลบุรี 2024-03-14T11:37:28+07:00 ณัฐสินีย์ นลินทัศไนย thutsanai@hotmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อประเมินความชุกของคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี </p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย : </strong>เป็นการศึกษาที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional study) ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี คำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรประมาณค่าสัดส่วน ได้ 148 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการป่วยเป็นเบาหวาน คุณภาพการนอนหลับ PSQI ประเมินโรคซึมเศร้า 9Q และประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกอย่างง่าย (Simple logistic regression) และสถิติถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression) กำหนดช่วงความเชื่อมั่น 95%</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>การศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 148 ราย พบผู้ป่วยที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 68 ราย (ร้อยละ 45.9) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับไม่ดีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สถานภาพหย่าร้าง/แยกกันอยู่/หม้าย (Adj. OR = 13.24; 95%CI = 1.77 – 98.68), HbA1c ที่เพิ่มขึ้นครั้งล่าสุดทุก 1 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์มีความเสี่ยง 1.34 เท่า (Adj. OR = 1.34; 95%C I= 1.02 - 1.82) และโรคซึมเศร้าระดับปานกลาง (Adj. OR = 13.36; 95%C I= 1.34 – 132.25)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> <strong>: </strong>ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 45.9 และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับไม่ดีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ สถานภาพหย่าร้าง/แยกกันอยู่/หม้าย HbA1c ครั้งล่าสุดและโรคซึมเศร้าระดับปานกลาง</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268335 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2024-04-09T08:41:40+07:00 ชนาธิป ไชยเหล็ก chailek.ch@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ประชากรเป็นอสม. ที่ปฏิบัติงานใน 27 ชุมชนในปี 2566 สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบกลุ่มชนิดขั้นตอนเดียว จำนวน 17 ชุมชน รวม 198 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขของสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับ</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรครวมทุกทักษะอยู่ในระดับมีปัญหา (58.3±9.4 คะแนน) เมื่อแยกรายทักษะพบว่าทักษะที่อยู่ในระดับพอเพียงคือทักษะการเข้าใจและการนำไปใช้ ส่วนทักษะที่อยู่ในระดับมีปัญหา ได้แก่ การเข้าถึง การไต่ถาม และการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคคือ ระดับการศึกษา โดยระดับอนุปริญญาขึ้นไปมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าระดับประถมศึกษา (adjusted OR=2.54, 95% CI: 1.22-5.29) เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเพศ</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> กลยุทธ์ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคของอสม. ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี โรงพยาบาลควรเน้นที่ทักษะการเข้าถึง การไต่ถาม และการตัดสินใจ และการออกแบบกิจกรรมควรคำนึงถึงปัจจัยด้านการศึกษาร่วมด้วย</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268147 การศึกษาเปรียบเทียบผลการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านเสด็จ กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสด็จ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม 16 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2024-04-04T14:47:15+07:00 พลเทพ มณีวรรณ ponthepm@yahoo.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านเสด็จ รพ.สต.นิคม 16 รพ.สต.ทรายทอง ในความรับผิดชอบของทีมหมอครอบครัวเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านเสด็จ</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน รพ.สต.ทั้ง 3 แห่งที่มาตรวจเลือดประจำปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2566 – มกราคม 2567 จำนวน 944 คน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ระดับน้ำตาล น้ำตาลสะสม ความดันโลหิต และสีตามระบบปิงปอง 7 สี ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลการรักษาราย รพ.สต. ด้วยสถิติ One-way ANOVA และ Bonferroni test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong> ผลการควบคุมโรคเบาหวาน พบว่าค่าเฉลี่ยน้ำตาลในกระแสเลือดขณะอดอาหาร (FBS) พบอยู่ในช่วง 91 (33.32 ) ถึง 96 (25.83) ถือว่าควบคุมได้ดี แต่จากค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1c) พบว่ามีค่ามากกว่า 7 % แต่ไม่เกิน 8 % ทั้ง 3 รพ.สต. ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้สำหรับผู้สูงอายุ ผลการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ตามระบบปิงปอง 7 สีพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสีเขียวถือว่าควบคุมได้ดี เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานพบว่า รพ.สต.เสด็จควบคุมโรคเบาหวานได้ดีกว่า รพ.สต.ทรายทองอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.002) เมื่อทดสอบค่าความดันเฉลี่ยตัวบน พบว่า รพ.สต.เสด็จควบคุมดีกว่า รพ.สต.นิคม16 และ รพ.สต. ทรายทองควบคุมดีกว่า รพ.สต.นิคม 16 อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.001) และ (p=0.019) ตามลำดับ ส่วนค่าความดันเฉลี่ย ตัวล่างและค่าเฉลี่ยน้ำตาลในกระแสเลือดขณะอดอาหาร พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 3 รพ.สต.</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>การศึกษา</strong> <strong>:</strong> ผลการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.ทั้ง 3 แห่งภาพรวมอยู่ในระดับดีและยอมรับได้ แต่ยังพบว่ายังมีความแตกต่างกันเมื่อวิเคราะห์เชิงลึกทางสถิติเชิงอนุมาน ถึงแม้จะได้รับการรักษาจากทีมหมอครอบครัวเดียวกันจึงควรมึการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการบริการใหม่ในอนาคต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระบบเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268366 การพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง 2024-04-24T09:38:31+07:00 อะนุตย์ ปุริสังข์ anut@gmail.com กำทร ดานา dkamthorn@gmail.com พัชรมาศ คุณวงศ์ patcharamas@gmail.com อนุชา ไทยวงษ์ anucha@smnc.ac.th <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย</strong><strong> :</strong> ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบประสานความร่วมมือ (Mutual collaborative approach) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ความต้องการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน 2) ระยะพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน และ 3) ระยะประเมินผลระบบบริการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 75 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปความ</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> สถานการณ์ของผู้สูงอายุในพื้นศึกษาพบ 1) ด้านร่างกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีภาวะสุขภาพปานกลาง ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย มีปัญหาการเคลื่อนไหว สูญเสียความจำและการมองเห็น 2) ด้านสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีภาวะสมองเสื่อม 3) ด้านเศรษฐกิจและสังคม แม้จะได้รับสนับสนุนการเงินจากบุตร รัฐบาลและชุมชน แต่ยังมีความกังวลด้านการเงิน กระบวนการการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 1) การสร้างการมีส่วนร่วม 2) การสร้างความตระหนัก 3) การสร้างศูนย์รวมการบูรณาการทำงานระหว่างสามองค์กรภาคี และ 4) การบริหารจัดการให้บริการแบบบูรณาการ การดูแลระยะยาวระหว่างสามองค์กรภาคี ผลลัพธ์จากการพัฒนาพบว่า มีการจัดบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน และมีความสามัคคีของคนในชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันเพื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา มี 3 ภาคี คือโรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรภาคประชาชน ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในการทำงานร่วมกันและปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน คือ วิสัยทัศน์ของผู้นำ ศักยภาพของทีมดำเนินงาน และทุนทางสังคมของชุมชนที่ศึกษาถือเป็นปัจจัยของความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>การศึกษา </strong><strong>: </strong>การพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของ 3 ภาคี คือ โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรภาคประชาชน เกิดเป็น 4Cs Model</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268029 ผลของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเฝ้าระวังอันตรกิริยาระหว่างยา ในโรงพยาบาลมหาสารคาม 2024-04-24T09:19:35+07:00 นฤมล คูณเจริญรัตน์ onpharm1@gmail.com นวลอนงค์ คูณเจริญรัตน์ nuananong@gmail.com ธนาภรณ์ ลุยตัน thanapon@gmail.com รังสรรค์ ศรีสารคาม rangsan@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>เพื่อประเมินผลของการพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยาที่ผู้ป่วยได้รับ</p> <p><strong>รูปแบบการศึกษา </strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีเก็บข้อมูล ประมวลผลคำสั่งใช้ยาจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนพัฒนาโปรแกรมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 และระยะหลังพัฒนาโปรแกรม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ fisher's exact test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การปรับโปรแกรมและฐานข้อมูล ทำให้มีการแจ้งเตือนคู่ยาที่เกิดอันตรกิริยาได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า โดยก่อนปรับโปรแกรมและฐานข้อมูล พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยามีระดับความรุนแรงระดับ E คือ มีภาวะเลือดออก 2 ราย ต้องได้รับการแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น และมีผู้ป่วยที่มีค่า International normalized ratio (INR) สูงขึ้น (มากกว่า 3) 13 ครั้ง หลังปรับโปรแกรมไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก แต่พบผู้ป่วยที่มี INR สูงขึ้น (มากกว่า 3) 17 ครั้ง ในส่วนของความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา และความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาหลังปรับโปรแกรมมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.033 และ p=0.028) โดยก่อนปรับโปรแกรมพบพบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยารุนแรงระดับ B จำนวน 248 ครั้ง และระดับ C ขึ้นไป 80 ครั้ง หลังปรับโปรแกรมพบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาลดลง พบรุนแรงระดับ B จำนวน 142 ครั้ง และระดับ C ขึ้นไป 4 ครั้ง</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลเพื่อป้องกันอันตรกิริยาระหว่างยา สามารถตรวจสอบ และแจ้งเตือนคู่ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน ให้แพทย์ และเภสัชกรได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยา และป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาให้กับผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยของผู้ป่วย ควรมีการนำระบบการสั่งยาผ่านคอมพิวเตอร์มาใช้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/266067 การพัฒนาสูตรตำรับยาเตรียมเฉพาะคราว ยาน้ำสำหรับแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟต (2%w/v) ในการเป็นสารเคลือบอุจจาระสำหรับการตรวจวินิจฉัยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ 2024-04-19T14:43:03+07:00 วิศิษฏ์ โสดาวิชิต wisitsodawichit@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> เพื่อพัฒนาสูตรตำรับของยาน้ำสำหรับแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟต (2%w/v) ศึกษาความคงตัวทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และประสิทธิภาพการเป็นสารเคลือบอุจจาระในการตรวจวินิจฉัยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong><strong> :</strong> การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 พัฒนาสูตรแม่บทของน้ำกระสายยา 4 ตำรับที่มี Carboxy-methylcellulose sodium (0.2%, 0.3% ,0.4%, 0.5% w/v CMC sodium) ระยะที่ 2 ศึกษาความคงตัวทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และระยะที่ 3 เทียบประสิทธิภาพการเป็นสารเคลือบอุจจาระโดยรังสีแพทย์ </p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ระยะที่ 1 พบว่า สูตรตำรับที่มี 0.2% (A2-L) และ 0.3% (A3-L) CMC sodium มีผลประเมินความพึงพอใจต่อรสชาติ กลิ่น ความหนืด และองค์ประกอบโดยรวมได้คะแนนสูงที่สุดร้อยละ 71.17 และ 62.33 ตามลำดับ ระยะที่ 2 ยาน้ำสำหรับแขวนตะกอน BaSO<sub>4</sub>-A2-L และ BaSO<sub>4</sub>-A3-L ไม่พบการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ,Sedimentation volume ratio (F=0.913-0.99), pH=4.31–4.47 และไม่พบการเจริญของเชื้อจุลชีพ <em>E.coli</em>, <em>Salmonella,S. aureus</em> และ <em>P.aeruginosa</em> ตลอดอายุการเก็บรักษา 6 เดือน ในระยะที่ 3 พบว่า ประสิทธิภาพของยาทั้ง 2 ตำรับ ในการเป็นสารเคลือบอุจจาระแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value 0.311)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> โรงพยาบาลมหาสารคามได้เลือกสูตรตำรับยาน้ำสำหรับแขวนตะกอนแบเรียมซัลเฟต (2% w/v) ที่เตรียมจากน้ำกระสายแขวนตะกอน 0.2% w/v CMC sodium และเลือกสภาวะการเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็น กำหนดอายุการเก็บรักษานาน 6 เดือนหลังการเตรียมยาไว้สำหรับการให้บริการในโรงพยาบาลมหาสารคาม</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268532 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม 2024-04-24T10:38:03+07:00 สุชัญญ์ญา เดชศิริ suchanya@gmail.com วุฒิชัย สมกิจ wuttichai@smnc.ac.th จีระพรรณ อินทะวัน Jeeraphan@gmail.com กำทร ดานา dkamthorn@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองตาย ที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 มิถุนายน 2566 ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 213 ราย เก็บข้อมูลโดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านภาวะความเจ็บป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา และปัจจัยด้านข้อมูลการบริจาคอวัยวะ วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ และลักษณะกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> กลุ่มตัวอย่างจำนวน 213 ราย ยินยอมบริจาคอวัยวะ จำนวน 51 ราย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 15,000 – 25,000 บาทต่อเดือน (OR Adj 2.51; 95%CI = 1.14, 5.49; p = 0.022) และปัจจัยด้านข้อมูลการบริจาคอวัยวะ ได้แก่ การมี donor card หรือมีความประสงค์จะขอบริจาคอวัยวะไว้ล่วงหน้า (OR Adj 1.97; 95%CI = 1.24, 3.27; p &lt; 0.001) ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริจาคอวัยวะจากสื่อต่างๆ (OR Adj 6.79; 95%CI = 1.45, 9.28; p &lt; 0.001) ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองตาย (OR Adj 1.46; 95%CI = 1.13, 5.65; p &lt; 0.001) และญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดอวัยวะออกเพื่อไปปลูกถ่าย (OR Adj 2.49; 95%CI = 1.21, 4.06; p &lt; 0.001)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการขอรับบริจาคอวัยวะ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 15,000 – 25,000 บาทต่อเดือน การมี donor card หรือมีความประสงค์จะขอบริจาคอวัยวะไว้ล่วงหน้า การมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริจาคอวัยวะจากสื่อต่างๆ การมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองตาย และการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดอวัยวะออกเพื่อไปปลูกถ่าย</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268055 การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค ในบุคลากรโรงพยาบาล : กรณีศึกษา 2 ราย 2024-03-20T09:20:54+07:00 ลัดดาวัลย์ บูรณวรศิลป์ Laddawan.eid@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค ในบุคลากรโรงพยาบาล กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา :</strong> เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ที่ติดเชื้อวัณโรค และรับการรักษาด้วยยาวัณโรค ในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ นำข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา และประเมินด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน เพื่อกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย ในระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 – 20 ธันวาคม 2566</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นหญิงไทยอายุ 27 ปี พยาบาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยสูติกรรม ปฏิบัติงานในลักษณะเวรผลัด ตรวจสุขภาพประจำปี 2566 ภาพถ่ายรังสีพบ reticulonodular infiltration ที่ left upper lobe ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ TB ในวันที่ 3 ยืนยันผลเป็น Pulmonary TB มีประวัติผ่าตัด Bilateral Lt. Oophorectomy ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี 2 สัปดาห์ พบมี Hct และ Hb ต่ำกว่าปกติ จึงมีความเสี่ยงต่อความทนต่อการทำกิจกรรมได้มากกว่าในรายที่ 2 พบ SGOT และ SGPT สูงกว่าปกติ ไม่มีตัวเหลือง ตาเหลือง รับประทานอาหารได้ปกติ ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นหญิงไทยอายุ 45 ปี พยาบาลชีพประจำงานผู้ป่วยนอก ห้องตรวจ HIV โรงพยาบาลมหาสารคาม ผลตรวจสุขภาพประจำปี 2566 ภาพถ่ายรังสีพบ Increased focal opacity lesion at lateral aspect of left upper hemi thorax มีก้อนที่ breast mass 2 ข้าง ผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ TB มีการรับรู้ด้านสุขภาพ ว่ามีผล CXR ผิดปกติ เป็น Chronic focal pleural thickeny ตั้งแต่ปี 2564 ผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ TB แต่ยืนยันการวินิจฉัย TB จากผล CT ตลอดการรักษา พบเจ็บตามข้อร่วมกับมีเสียงดังตามข้อเวลาเคลื่อนไหว หลังการดูแลร่วมที่งานกายภาพบำบัด 2 สัปดาห์ อาการทั่วไปดีขึ้น รับประทานอาหารได้น้อยเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง 1 กิโลกรัม ใน 6 สัปดาห์ ไม่พบอาการและอาการแสดงของการแพ้ยา</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การคักกรองและให้การรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้น พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทัศนคติและทักษะปฏิบัติในการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/267697 การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ 2024-04-05T11:44:13+07:00 นุชจรี พันธุ์โยศรี nuchajaree1512@gmail.com เพิ่มพูน ศิริกิจ sweetyooys@gmail.com พชรวรรณ คูสกุลรัตน์ pacharawan@gmail.com นุชนาถ บุญมาศ nutchanad@gmail.com นิศมา แสนศรี nisama@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย</strong><strong> :</strong> เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ร่วมกับใช้แนวคิดการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นกรอบแนวคิดเชิงเนื้อหา พื้นที่ในการศึกษาประกอบด้วย 13 หอผู้ป่วย ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ทีมพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ 30 คน และพยาบาล 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อ, แบบสอบถามความพึงพอใจ, แบบวัดความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย วิธีการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันและการปฏิบัติตามมาตรการ SHIP แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับประเด็น สถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ รูปแบบการจัดบริการพยาบาล ปัญหาและอุปสรรคในการพยาบาล แผนนิเทศ แบบสังเกตการปฏิบัติตาม SHIP Bundle, แผนการอบรม</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> จากการศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ พบมากที่กลุ่มงานผู้ป่วยวิกฤตและกลุ่มงานอายุรกรรม พบประเด็น คน (Host) ซึ่งพบมากในกลุ่มอายุมากกว่า 70 ปีร้อยละ 37.60 และเป็นกลุ่มที่มาด้วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจจากโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 64 เชื้อโรค (Agent) เชื้อที่พบมากที่สุด คือ <em>Acinetobacter baumannii</em> CRAB-MDR สิ่งแวดล้อม (Environment) พบการปฏิบัติตามมาตรการยังไม่ครอบคลุม และมีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาถูกส่งตัวไปรับการรักษายังเครือข่ายบริการ ร้อยละ 7.6 สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้มีโอกาสแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 8 กิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่ายบริการ ผลลัพธ์พบอัตราการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพลดลง รูปแบบการพัฒนามีความเหมาะสมตามบริบทของโรงพยาบาลในระดับมากที่สุด บุคลากรพยาบาลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบพัฒนาในระดับมากที่สุด</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดการเรียนรู้ บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นมีแรงจูงใจเกิดนวัตกรรมในการพัฒนา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน มีการทำงานเป็นทีม คุณภาพการพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ลดอัตราการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเกิดประโยชน์ทั้งผู้ป่วยและบุคลากร</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/266521 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมญาติหรือผู้ดูแลในการตัดสินใจให้ผู้ป่วยระยะประคับประคอง สู่ภาวะ good death กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2024-03-25T10:14:36+07:00 ธัญญารัตน์ ศรีวรนันท์ธำรง kunchun1418@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมญาติหรือผู้ดูแลในการตัดสินใจของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองให้เข้าสู่ภาวะการตายดี</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย :</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) 1. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยแบบประคับประคอง จำนวน 30 คน 2. ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 30 คน ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะเตรียมการ 1. ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงาน 2. จัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ระยะการดำเนินงานวิจัย 1. ประเมินระดับอาการของผู้ป่วยด้วยแบบการประเมิน PPS และการประเมิน 2. การให้การดูแลทางการพยาบาล 3. การให้ความรู้แก่ญาติหรือผู้ดูแลในการดูแล ระยะประเมินผล การเปลี่ยนแปลงระดับอาการผู้ป่วยด้วยแบบประเมิน PPS และ ESAS วิเคราะห์ โดยใช้สถิติแบบ Pair t-test และระดับความพึงพอใจของการให้บริการการดูแลผู้ป่วย การใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> พบว่าการเปรียบเทียบระดับผู้ป่วยตามการประเมิน PPS และ ESAS ก่อนและหลัง พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt; 0.001) และระดับความพึงพอใจของญาติในการรับบริการแบบประคับประคองอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจมาก</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา :</strong> ปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้ป่วยและญาติในการดูแลแบบประคับประคองด้วยกระบวนการดูแลแบบครบวงจร ส่งผลให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้าสู่ภาวะเสียชีวิตได้ดี</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268163 การจัดการปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2024-05-27T09:47:55+07:00 ศุภิญญา ภูมิวณิชกิจ supinya.tir@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อพัฒนาแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาและประเมินการจัดการปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยแบบพรรณนา ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับยาในรพ.สต. 3 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ทำการจำแนกและวิเคราะห์ปัญหาด้านยา สาเหตุด้านยา วิธีการจัดการปัญหาด้านยา และติดตามผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้านยา การวิเคราะห์สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> แบบติดตามความร่วมมือในการใช้ยาระดับบุคคลและครอบครัวที่พัฒนาขึ้น เมื่อนำมาประเมินผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจากเภสัชกร 1,272 ครั้ง พบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย 46 ราย โดยพบปัญหารวม 55 ปัญหา ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาไม่ต่อเนื่อง หยุดยาเอง ตั้งใจไม่ใช้ยาต่อ การใช้ยาไม่ถูกขนาด การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา สาเหตุหลักเกิดจากอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา ผู้ป่วยมีปัญหาด้านความทรงจำ ผู้ป่วยเลือกใช้ทางเลือกอื่น/สมุนไพรในการรักษา วิธีการแก้ไขปัญหาคือ การให้คำแนะนำโดยวาจาแก่ผู้ป่วย การดำเนินการตามระบบด้านอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา การประสานงานแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการแก้ไขปัญหา</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> <strong>:</strong> การศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะรูปแบบและแนวทางการจำแนกปัญหา สาเหตุ วิธีการจัดการ และการติดตามผลลัพธ์ด้านยา ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประเมินและจำแนกปัญหาด้านยาที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความซับซ้อน ทำให้เกิดการแก้ปัญหาของผู้ป่วยด้านความร่วมมือในการใช้ยาได้อย่างเฉพาะเจาะจงและมีการขยายนำไปใช้ในทุก รพ.สต. เขตพื้นที่บริการในเครือข่ายของโรงพยาบาลมหาสารคามได้</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/268512 การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในโรงพยาบาล 2024-04-29T10:38:19+07:00 ประนมพร ตุมอญ pranomporn.tumon2516@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในโรงพยาบาลมหาสารคาม</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong> : </strong>การวิจัยเชิงพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ 1. ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการพัฒนา 2. พัฒนารูปแบบ 3. นำรูปแบบไปใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิผล 4. ประเมินผลปรับปรุงแก้ไขและยืนยันคุณภาพรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรศูนย์จ่ายกลางโรงพยาบาลมหาสารคามโดยเลือกแบบเจาะจงจำนวน 37 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินภาวะทางการยศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.84 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ Paired sample t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value&lt;0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> 1. สถานการณ์อาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ พบว่าตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวดมากที่สุดคือบริเวณไหล่ หลังส่วนล่าง และคอ เมื่อยล้าหลังเลิกงานเป็นบางครั้ง อาการผิดปกติมากที่สุด คืออาการขัดยอก สาเหตุมาจากการทำงานยกของหนัก การทำงานซ้ำๆ ระยะเวลานาน ส่วนใหญ่ใช้วิธีบีบนวดด้วยตัวเอง 2. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้พัฒนา 1) การประเมินความเสี่ยง 2) การอบรม ทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที การอบรมเพิ่มความรู้ ความตระหนักกลุ่มไลน์สนับสนุนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน การใช้เครื่องทุ่นแรงทดลองออกแรง รูปแบบประกอบด้วยนโยบาย กระบวนการปรับเปลี่ยนติดตามประเมินผลพบว่ายังมีปัญหาความเจ็บปวดบริเวณไหล่ ร้อยละ 29.72 ลดลงจากร้อยละ 78.37 และ 67.56หลังส่วนล่างร้อยละ 24.32 ลดลงจากร้อยละ 59.45 เมื่อมีปัญหาเจ็บปวด ส่วนใหญ่ใช้การบีบนวดร้อยละ 45.90 ความรุนแรงเจ็บปวดในครั้งล่าสุดปวดปานกลาง ระดับ 3-5 คะแนน ร้อยละ 24.32 ในครั้งที่มีระดับ 1–2 คะแนน ปวดเล็กน้อย ร้อยละ 29.72 และ 3. ผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้นพบว่า ความรุนแรงของการบาดเจ็บกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างหลังการทดลองลดลง ผู้รับการอบรมมีความรู้หลังการทดลองสูงขึ้น พฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรมเสี่ยงลดลง มีความรู้ความสามารถแห่งตนสูงขึ้น และมีความคาดหวังในผลลัพธ์หลังการฝึกอบรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา :</strong> ภายหลังการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการยศาสตร์ ตามทฤษฎีความสามารถแห่งตน บุคลากรศูนย์จ่ายกลางมีความรู้ด้านการยศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ ความรู้ความสามารถแห่งตนสูงขึ้น ความคาดหวังในผลลัพธ์สูงขึ้น และระดับความรุนแรงอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างลดลงกว่าก่อนการได้รับการปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม