วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ <p>วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นวาสารวิชาการวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พยาบาลและเกี่ยวข้องด้านการสาธารณสุขทุกสาขา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขและเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านการแพทย์ พยาบาล และการสาธารณสุขทั้งในและนอก องค์กรสู่การสืบค้นแก่ผู้ที่สนใจ </p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร</strong></p> <p> 1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ <br /> 2. แพทยศาสตร์ (Medicine) <br /> 3. ทันตแพทยศาสตร์ (dentistry) <br /> 4. เภสัชศาสตร์ (pharmacy) <br /> 5. พยาบาลศาสตร์ (Nursing) <br /> 6. สาธารณสุขศาสตร์ (Health professions) <br /> 7. เทคนิคการแพทย์ (Medical technology) <br /> 8. กายภาพบำบัด (Physical Therapy) <br /> 9. รังสีเทคนิค (Radiological Technology) <br /> 10. สาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p><strong>กระบวนการ </strong><strong>Peer Review Process</strong></p> <ul> <li>กองบรรณาธิการวารสาร ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</li> <li>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และต่างหน่วยงาน/ต่างสถาบัน จำนวน 3 ท่าน <strong>โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind)</strong> และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</li> <li>กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์ หรือ เพิกถอนบทความในขั้นตอนใด ๆ ได้ หากมีการตรวจพบข้อผิดพลาดด้านเนื้อหาและ/หรือจรรยาบรรณทางวิชาการของบทความนั้นโดยประจักษ์</li> </ul> <p><strong>ประเภทบทความที่สามารถลงตีพิมพ์</strong></p> <p> 1. นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) ได้แก่ บทความที่เสนอผลงานใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เคย ตีพิมพ์ในวารสาร หรือหนังสืออื่นๆ<br /> 2. รายงานผู้ป่วย (case report) เป็นรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ เช่น การบาดเจ็บ, ความผิดปกติหรือโรคที่ พบได้ยาก และที่น่าศึกษา ใช้วิธีการนวัตกรรม หรือเครื่องมือใหม่ ในการรักษาผู้ป่วย ควรเขียนตามลำดับ ได้แก่ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ (เหตุผลที่ทำการศึกษานี้รวมทั้งวัตถุประสงค์) รายงานผู้ป่วย (รวมถึงวัสดุและ วิธีการศึกษา) วิจารณ์สรุปอภิปรายผล และเอกสาร อ้างอิง<br /> 3. บทความพิเศษ (special article) เป็นบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านการแพทย์ทันตแพทย์ เภสัชกรรม พยาบาลการสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์อาจมีลักษณะเป็นบทวิเคราะห์วิจารณ์หรือ บทความทางด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องและเห็นว่าเป็นประโยชน์<br /> 4. บทความวิชาการ (review article) ได้แก่ บทความที่ได้จากการรวบรวมนำเอาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ ในวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์นำมาเรียบเรียงและ วิเคราะห์วิจารณ์หรือ เปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความลึกซึ้งหรือเกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น<br /> 5. ปกิณกะ (miscellany) เป็นบทความหรือสาระความรู้ได้แก่ บทความอื่น ๆ หรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับ ด้านการแพทย์ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ หรือบทความที่ส่งเสริม ความเข้าใจอันดีต่อผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร<br /></strong>จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ <br /> ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – เมษายน) <br /> ฉบับที่ 2 (เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม) <br /> ฉบับที่ 3 (เดือน กันยายน – ธันวาคม)<strong><br /></strong><em>*หมายเหตุ : วารสารเผยแพร่เฉพาะในเว็บไซต์ ไม่จัดพิมพ์รูปเล่ม</em></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> จำนวน 4,000 บาท</p> th-TH <p>วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม</p> mskh.journal@gmail.com (วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม) mskh.journal@gmail.com (โรงพยาบาลมหาสารคาม) Mon, 25 Dec 2023 13:29:05 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชนของโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263399 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> : </strong>เพื่อศึกษากระบวนการและผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong> : </strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 ผู้ร่วมวิจัย คือผู้ร่วมพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล 60 คน และผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ 32 คน ผู้ดูแล32 คน รวม 124 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>: อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับแนวโน้มสูงขึ้น จากการขาดแบบแผนที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วย จึงเกิดการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชนพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีแผลดีขึ้น 27 คน ร้อยละ 84.38 แผลกดทับดีขึ้นเป็นระดับ 2 ร้อยละ 20 และแผลหาย ร้อยละ 80 แผลที่มีความเสี่ยงสูงลดลงเหลือร้อยละ 20.83 ความก้าวหน้าของแผลกดทับมีค่าเฉลี่ยลดลงจากร้อยละ 10.25 เป็นร้อยละ 8.82 และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.15</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong>: การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชน ส่งเสริมให้ญาติและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลแผลที่มีความซับซ้อนภายใต้การเสริมพลังชุมชนของภาคีเครือข่าย ที่เรียกว่า“Pressure Ulcers MSKH Model”</p> ปารณีย์ มากดี, สุทธิรัตน์ บุษดี Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263399 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะจุดรับภาพบวมในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265413 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดจุดรับภาพบวมจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรงพยาบาลมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย : </strong>เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (DR) ซึ่งเข้ารับการตรวจรักษา ณ คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาสารคาม ในช่วง 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรประมาณค่าสัดส่วนประชากรกลุ่มเดียว ได้จำนวน 190 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square test, T test, Simple logistic regression และ Multiple logistic regression </p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>ผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาทั้งหมด 190 ราย ความชุกของภาวะจุดรับภาพบวมในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จำนวน 64 ราย (ร้อยละ 33.68) (95%CI =27.00-40.88) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะจุดรับภาพบวมในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (Adj.OR=1.12, 95%CI=1.03-1.22), ค่าความดันโลหิตส่วนบน (Adj.OR=1.05, 95%CI=1.03-1.09), ค่าไขมันเลว (Adj.OR=1.01, 95%CI=1.00-1.01), ค่าไขมันดี (Adj.OR=0.95, 95%CI=0.91-0.99), ค่าไตรกลีเซอไรด์ (Adj.OR=0.99, 95%CI=0.98-0.99) และค่าอัตราการกรองของไต (Adj.OR=0.98, 95%CI=0.97-0.99)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา : </strong>ความชุกผู้ป่วยที่มีภาวะจุดรับภาพบวมจากเบาหวานร้อยละ 33.68 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะจุดรับภาพบวมในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ค่าความดันโลหิตส่วนบนค่าไขมันเลว ค่าไขมันดี ค่าไตรกลีเซอไรด์ และค่าอัตราการกรองของไต แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้กลยุทธ์การตรวจคัดกรองที่คุ้มค่าเพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการตรวจตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และรักษาอย่างทันท่วงที</p> อติพร สุรวงษ์สิน Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265413 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 พัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในกลุ่มอาการ Long COVID-19 ในผู้รับบริการ หลังการติดเชื้อ COVID-19 คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน : บริบทโรงพยาบาลชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263459 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการตนเองในกลุ่มอาการ Long COVID-19 ในผู้รับบริการหลังการติดเชื้อ COVID-19 ณ คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการจัดการตนเองประกอบด้วยกิจกรรม 1) การเฝ้าระวังตนเอง 2) การมีทักษะหรือกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการควบคุมการดำเนินของโรค 3) การเสาะแสวงหาข้อมูลการจัดการตนเอง และ 4) การปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโรคและการรักษา 2. กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบทั่วไป ผลลัพธ์ของการศึกษา คือ พฤติกรรมการจัดการตนเอง สภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ COVID-19 และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>: </strong>ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยคะแนนสภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ COVID-19 ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยยังพบว่า อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในแผนกผู้ป่วยนอกหลังการจำหน่ายกลับบ้านใน 72 ชั่วโมง และ 6 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม 0.75 เท่า และ 0.66 เท่า ตามลำดับ และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินหลังการจำหน่ายกลับบ้าน ใน 72 ชั่วโมง และ 6 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม 0.50 เท่า และ 0.40 เท่า ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> <strong>: </strong>รูปแบบการจัดการตนเองส่งผลให้พฤติกรรมการจัดการตนเอง สภาวะการทำหน้าที่ภายหลังการติดเชื้อ COVID-19 ดีขึ้น และอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำหลังการจำหน่ายกลับบ้านใน 72 ชั่วโมง และ 6 สัปดาห์ ลดลง </p> อนุศร การะเกษ, วรรณชาติ ตาเลิศ, เกตุนรินทร์ บุญคล้าย, พิสมัย ประสมศรี Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263459 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ระยะเวลารอคอย และการรับรู้บทบาทการคัดแยกผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยนอก ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265340 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาสถานการณ์ปฏิบัติงานคัดแยกผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน รอระยะเวลารอคอย และศึกษาระดับการรับรู้ของการปฏิบัติบทบาทการคัดแยกของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ (1) เวชระเบียนผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังของเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ได้รับการคัดแยกระดับ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565 สุ่มอย่างง่าย ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 384 ฉบับ และ (2) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 28 คน สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนภูมิดัชนีคัดแยกผู้ป่วยตามความรุนแรงฉุกเฉินฉบับที่ 4 (Emergency Severity Index Version 4) แปลเป็นภาษาไทยและเรียบเรียงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นคู่มือ MOPH ED TRIAGE เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก แบบสอบถามการรับรู้การปฏิบัติบทบาทการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและคู่มือการคัดแยกผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบราค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>1) สถานการณ์การปฏิบัติงานคัดแยกผู้ป่วยนอก มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานประจำ 1 อัตรา ในช่วงเวลา 7: 00 – 15: 00 น. ปฏิบัติหน้าที่คัดแยกลำดับที่ 1 (Primary Triage) ทำหน้าที่คัดแยกทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าตามข้อกำหนดการบริการแผนกต่าง ๆ รวมถึงการคัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ 2) ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยมายื่นบัตรตรวจถึงผู้ป่วยเข้ารับการรับการตรวจรักษาจากแพทย์เป็นเวลา 83.72 นาที ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการคัดแยก ESI และ 3) ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การปฏิบัติบทบาทการคัดแยกผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( x̅= 4.62, SD = 0.36)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา :</strong> แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อการคัดแยกผู้ป่วยในบริบทงานบริการผู้ป่วยนอกได้</p> สุรางค์ วิมลธาดา Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265340 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาลักษณะไขกระดูกและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง multiple myeloma https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/264104 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> งานวิจัยนี้แสดงอัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา รวมถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ทางการตรวจพยาธิวิทยาและมัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอด</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษาย้อนหลังศึกษาในไขกระดูกของคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาครั้งแรกทั้งหมด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 จนถึง 31 ธันวาคม 2562 ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> ผู้ป่วยจำนวน 253 คนมีอัตราการรอดชีพคิดเป็นมัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอดที่ 2.12 ปี (ค่าความเชื่อมั่น 95%: 1.83 – 2.64 ปี) ผู้ป่วยจำนวน 44 คน (17.4%) ซึ่งมีลักษณะของเซลล์มะเร็งพลาสมาเป็นกลุ่มยังไม่เจริญเต็มที่ มีการดำเนินโรคแย่กว่ากลุ่มที่มีลักษณะของเซลล์มะเร็งเจริญเต็มที่ โดยมีมัธยฐานระยะเวลาความอยู่รอดที่ 1.83 ปี (ค่าความเชื่อมั่น 95%: 0.70 – 2.17) และ 2.44 ปี (ค่าความเชื่อมั่น 95%: 1.83 – 3.01) ตามลำดับอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value 0.0297) (อัตราส่วนความเสี่ยงอันตราย 1.5, ค่าความเชื่อมั่น 95%: 1.04 – 2.18, p-value 0.031)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ลักษณะของเซลล์มะเร็งพลาสมาที่เป็นกลุ่มยังไม่เจริญเต็มที่ ส่งผลต่อการพยากรณ์โรคที่แย่กว่ากลุ่มที่เจริญเต็มที่ แม้ว่าจะมีโอกาสพบในคนไข้น้อยกว่ามาก</p> ธนยศ เตชะวิจิตรา, ณิชาภา อทิตติญพงศ์, ชินดล วานิชพงษ์พันธุ์, วลัยลักษณ์ บำรุงกิจ, ปิติ อึ้งอารีย์วิทยา Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/264104 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพ (Trauma Audit) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265656 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษากระบวนการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้ป่วยอุบัติเหตุเสียชีวิตและเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุให้ดีขึ้น ลดความพิการและเสียชีวิต</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย</strong><strong> :</strong> เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กรอบแนวคิดของ<em>เคมมิสและแม็กแท็กการ์ด</em> (Kemmis and McTaggart) ด้วยวงจรการวิจัยแบบพีเอโออาร์ สหวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ 60 คน ผู้ป่วยอุบัติเหตุเสียชีวิตที่มีค่าโอกาสการรอดชีวิต (Ps score) &gt; 0.5 จำนวน 61 ราย ใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพ (Trauma Audit) ค้นหาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สร้างข้อตกลง แนวทางปฏิบัติของสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง แนวทางเวชปฏิบัติ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล นำไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลหลังจากมีการนำไปใช้ วิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ขยายใช้ในเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> การพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพมาพัฒนาระบบโดยมีการสร้างแนวทางเวชปฏิบัติ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุให้ครอบคลุมปัญหาพบการเกิดประเด็นปัญหาข้อผิดพลาดลดลงจากก่อนการพัฒนา การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลปัญหาด้านระบบลดลงร้อยละ 11 ในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน พบการรักษาผิดพลาดลดลงมากที่สุด ร้อยละ 16 รองลงมาคือ ด้านระบบที่เกี่ยวข้อง ลดลงร้อยละ 13 ตามมาด้วย วินิจฉัยล่าช้าและขั้นตอนผิดพลาด ลดลงร้อยละ 10, 7 ตามลำดับ ผู้ป่วยในพบ การรักษาผิดพลาดลดลงมากที่สุด ลดลงร้อยละ 14 รองลงมาคือการวินิจฉัยล่าช้าและด้านระบบที่เกี่ยวข้อง ลดลงร้อยละ 9, 8 ตามลำดับ การเสียชีวิตที่ป้องกันได้ อาจจะป้องกันได้ ไม่สามารถป้องกันได้ ความรุนแรงของความพิการ ลดลงร้อยละ6, 5, 2, 2 ตามลำดับ ผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด มากกว่าร้อยละ 80</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> รูปแบบนี้ช่วยให้ค้นพบข้อผิดพลาดในกระบวนการให้บริการทั้งระบบ เกิดการพัฒนาคุณภาพบริการผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุ แนวทางปฏิบัติของสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง แนวทางเวชปฏิบัติ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ป่วยและบุคลากร</p> วิไลกูล ครองยุทธ, กนกวรรณ เจริญศิริ, จุลินทร ศรีโพนทัน Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265656 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาที่บ้านต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคไหล่ติด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263238 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาที่บ้านต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอาการปวด องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ดัชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของข้อไหล่ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) ระยะเวลาเก็บข้อมูลเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม 2565 โดยทำการศึกษาแบบ 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน วัดผลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายในผู้ป่วย กลุ่มทดลองได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดสัปดาห์ละ 3 ครั้งและได้รับโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อการรักษาพร้อมคู่มือและ มีการโทรศัพท์ติดตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามมาตรฐานเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย Independent t-test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม และเปรียบเทียบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วน pair t-test ใช้เปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่ม</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> กลุ่มทดลองหลังการรักษา 4 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับอาการปวดลดลง และองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ในท่า shoulder abduction ,shoulder internal rotation , shoulder external rotation ส่วนค่าเฉลี่ยดัชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของข้อไหล่(SPADI) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อการรักษาโรคไหล่ติดที่บ้าน ทำให้อาการปวดลดลงและพิสัยการเคลื่อนไหวในท่ากางแขน , หมุนแขนเข้าด้านในและหมุนแขนออกด้านนอก เพิ่มขึ้นมากกว่าการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างเดียว</p> กุลรัศมิ์ น่าชม Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263238 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการรักษากระดูกไหปลาร้าส่วนกลางหักด้วยวิธีอนุรักษ์ในโรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265421 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลการรักษากระดูกไหปลาร้าส่วนกลางหักด้วยวิธีอนุรักษ์ในโรงพยาบาลมหาสารคาม</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็น Analytic study by retrospective study data collection ผู้ป่วยที่วินิจฉัย Closed fracture midshaft of clavicle ในโรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จำนวน 95 ราย และติดตามการรักษาจนกระดูกเชื่อมติด</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเพศชาย 65 ราย (ร้อยละ 68.4) โดยสาเหตุการหักเกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 82.1) ชนิดของกระดูกหักส่วนมากเป็น AO-OTA type B 47 ราย (ร้อยละ 49.5) วิธีการรักษาส่วนใหญ่ใช้วิธีใส่ Figure of eight splint 90 ราย <br />(ร้อยละ 94.7) ผลการรักษาพบมีภาวะ failed conservative treatment 7 ราย แบ่งเป็น Nonunion 3 ราย (ร้อยละ 3.2) และ Skin tenting 4 ราย (ร้อยละ 4.2) เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม AO–OTA พบว่า Type C มีระยะเวลากระดูกติดใช้เวลานานกว่าชนิดอื่นๆ (P=0.01) และโอกาสเกิดภาวะ failed conservative treatment มากกว่าชนิดอื่นๆ (P=0.042)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> กระดูกไหปลาร้าส่วนกลางหักสามารถรักษาได้ด้วยวิธีอนุรักษ์โดยเฉพาะในกลุ่ม AO –OTA type A และ Type B แต่ในกลุ่ม Type C ต้องนัดติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสเกิด failed conservative treatment ได้มากกว่า</p> ปรมินทร์ ตุลยฉัตร Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265421 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลภายใต้การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อเฝ้าระวังอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265636 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอายุรกรรม 2. เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเฝ้าระวังอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพเป็นกรอบแนวคิดประกอบด้วย 4 ระยะ ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนมิถุนายน 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รับการรักษา ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 89 ราย ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 45 ราย และกลุ่มควบคุม 44 ราย และพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 21 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม 2) แบบบันทึกและเฝ้าระวังอาการทรุดลงทางคลินิก 3) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk) และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> พบว่าแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้ได้ในบริบทหน้างานจริง ไม่ยุ่งยาก ภายหลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้พบว่าในกลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (RR 0.19, 95% CI = 0.05, 0.73, p=0.009) ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันและการเสียชีวิตในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติได้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90% และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้จริง ควรนำไปศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น</p> สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, อนุชา ไทยวงษ์, ศิริขวัญ ทิพสีลาด, ดวงแก้ว ศรีเคน, มลฤดี แสนจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265636 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 กรณีศึกษา การศึกษาประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการ โดยใช้แบบประเมิน Gross motor function measure https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263237 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> เพื่อประเมินประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการโดยการใช้แบบประเมิน Gross motor function measure (GMFM)</p> <p><strong>รูปแบบและวีธีการวิจัย</strong><strong> :</strong> เป็นกรณีศึกษาในผู้ป่วยเด็กสมองพิการแบบติดตามผลย้อนหลัง การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดประกอบด้วยเทคนิค Functional training, Exercise(active, passive, stretching), movement analysis and education strategies และ Manual techniques เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยเทคนิคทางกายภาพบำบัด ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดต่อเนื่องนาน 3 ปี แบบประเมิน GMFM-66 ในการประเมินและติดตามในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัด โดยประเมินผล 24 สัปดาห์</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยเด็กสมองพิการก่อนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดมีค่าคะแนน GMFM-66 ร้อยละ 89.70 และหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดมีค่าคะแนนเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ 94.29 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 วิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบการเดิน 6 นาที, การลุกนั่ง 5 ครั้ง, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ, และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ pair t-test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องร่วมกับการติดตามวัดผลเป็นระยะด้วยแบบประเมิน GMFM-66 ช่วยในการวางแผนการฟื้นฟูที่เหมาะสมและติดตามผลของการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สุวรรณี บุญพูนเลิศ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/263237 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ทางคลินิก ของนิสิตพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265149 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิกของนิสิตพยาบาล การดำเนินงานแบ่งเป็นพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิก</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> การวิจัยและพัฒนา (Research and development) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 78 คน โดยมีเครื่องมือวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) แบบประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิกด้านการดูแลด้วยความเอื้ออาทร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย การใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเสมือนจริงในหอผู้ป่วยจำลอง การสอนสุขศึกษา การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาลการประชุมทางการพยาบาล การประชุมก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การฝึกปฏิบัติแบบเผชิญหน้าทางออนไลน์ และการฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย การประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิกด้านการดูแลด้วยความเอื้ออาทร พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลด้วยความเอื้ออาทรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 4.46, SD = 1.39) ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ด้วยความเข้าอกเข้าใจ (M=4.53, SD = 1.35) ด้านที่ 2 การแก้ปัญหา (M=4.56, SD =1.26) และด้านที่ 3 การดูแลด้วยความเข้าอกเข้าใจ (M=4.79,SD = 1.25)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา : </strong>การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลผู้รับบริการด้วยความเอื้ออาทร ช่วยให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถในการดูแลด้วยความเข้าอกเข้าใจ และมีทักษะในการแก้ปัญหา ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นวิธีการหนึ่งในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป</p> สุพัตรา บัวที, นิตยา สุทธยากร, กัญจน์ณิชา เรืองชัยทวีสุข, จารุรินทร์ พงษ์ประเทศ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265149 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265638 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย</strong> : วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน ผู้ร่วมวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 20 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. วิเคราะห์สถานการณ์ 2. พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและ 3. ประเมินผล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 แบบบันทึกการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวการปฏิบัติการพยาบาล แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติ และแนวคำถามการสนทนากลุ่มดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน เมษายน 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> 1. ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจค่อนข้างสูง ทำให้มีอัตราการครองเตียง ค่าใช้จ่ายในการรักษา และอัตราการเสียชีวิตสูง 2. ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เกิดแนวปฏิบัติการพยาบาล 1 วงจร ประกอบด้วย 4 หมวดกิจกรรม (4S Model) ได้แก่ การดูดเสมหะและการดูแลความสะอาดช่องปาก การประเมินการหย่าเครื่องช่วยหายใจและการจัดท่านอนคว่ำ การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และการดูแลความสะอาดและสุขวิทยา 3. ระยะประเมินผล พบว่าอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80) คิดเป็นร้อยละ 100 มีการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติครบถ้วนและครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 92.52</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา :</strong> ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิต</p> สายวลุน จันทคาม, อนุชา ไทยวงษ์, รวิสรา บรรลือ, ณัฐกานต์ ปวงสุข, ขนิษฐา ศรีธรรมา, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265638 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลเลย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/262636 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายและศึกษาผลการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลเลย</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย</strong><strong> : </strong>เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental study) เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้าย ในโรงพยาบาลเลย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยระยะท้าย 66 คน และผู้ดูแล 66 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 คือระยะพัฒนาการวางแผนจำหน่าย ระยะที่ 3 คือนำผลลัพธ์จากการปฏิบัติตามการจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองปรับปรุงเพื่อการแก้ไขให้ดีขึ้น ส่วนระยะที่ 4 คือระยะติดตามและประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ และแบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยแบบประคับประคอง </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> พบว่ากลุ่มตัวอย่างเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มีอาการรบกวน เช่น ปวด หายใจหอบเหนื่อย กระวนกระวาย ร้อยละ 34.85 การกลับมานอนโรงพยาบาลด้วยปัญหาที่ป้องกันได้ ร้อยละ 18.18 ได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 78.80 สถานที่เสียชีวิต ร้อยละ 92.89 เป็นที่บ้าน ลักษณะการเสียชีวิต ด้วยอาการสงบ ร้อยละ 65.15 ครอบครัว มีความพึงพอใจต่อการดูแลผู้ป่วย อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 73.26 <br />(Mean =4.62 SD =61.37) ระดับมาก ร้อยละ 18.21 (Mean = 4.06 SD =58.59)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>การศึกษา</strong> <strong>: </strong>งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยการจัดการอาการทางกายที่มีประสิทธิภาพ วางแผนการดูแล สื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว วางแนวทางการรักษา ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสียชีวิตอย่างสงบตามความประสงค์ที่ได้วางแผนล่วงหน้าไว้</p> เสริมสุข ธัญญะวัน, อุดมศักดิ์ บุญส่งทรัพย์, ปวีณา ใจชัย Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/262636 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวโดยใช้การอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในการดูแลเด็กสมาธิสั้น: บทบาทสำคัญของพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/264299 <p>สมาธิสั้นเป็นปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นที่พบมากที่สุด ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวในระยะยาว ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมหน่วยย่อยแรกที่ใกล้ชิดกับเด็กและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กมากที่สุด เมื่อครอบครัวต้องดูแลเด็กสมาธิสั้นทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำหน้าที่ของครอบครัวในทุกมิติประกอบด้วย ด้านการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร ด้านบทบาท ด้านการตอบสนองต่ออารมณ์ ด้านความผูกพันทางอารมณ์ และด้านการควบคุมพฤติกรรม ในขณะที่การทำหน้าที่ของครอบครัวที่ดีจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การควบคุมอาการสมาธิสั้นได้ดีขึ้น ในระยะเริ่มต้นพยาบาลควรมีการส่งเสริมการทำหน้าที่ของครอบครัวโดยประยุกต์ใช้การอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก โดยการสร้างความผูกพัน การยอมรับในตัวเด็ก การเลี้ยงดูเด็กเชิงรุก การเป็นผู้นำในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การสร้างวินัยเชิงบวกมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้ความรู้คำแนะนำแก่ครอบครัวในการดูแลเด็กสมาธิสั้นเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติต่อเด็กตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อลดการเกิดปัญหาพฤติกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวในเด็กสมาธิสั้นต่อไป</p> กนกจันทร์ เขม้นการ, รรฤณ แสงแก้ว, สิทธิพงศ์ ปาปะกัง, วัชราวรรณ วงศ์เครือศร Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/264299 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ เพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265621 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> วิจัยกึ่งทดลองศึกษาสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง (The two-group posttest-only design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ผลตรวจเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระผิดปกติ จากโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มารับบริการที่งานผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม โปรแกรม G*Powerกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่รับการส่องกล้องครั้งแรก ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 32 คน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มตัวอย่าง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามทฤษฎีของ Ryan &amp;Sawin (2009) ซึ่งมีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลักและสื่อสารทางไลน์แอปพลิเคชันได้เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว (ผู้ดูแลหลัก) แบบประเมินการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ใช้ The Mann-Whitney U Test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>:</strong> ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้อยู่ในระดับดีร้อยละ 92.28 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value&lt;.01) เปรียบเทียบความแตกต่างความสะอาดของลำไส้พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีระดับความสะอาดของลำไส้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยระดับความสะอาดของลำไส้ของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองอยู่ในเกณฑ์สะอาดร้อยละ 96.87 ไม่ผ่านเกณฑ์สะอาดร้อยละ 3.12 ส่วนผู้สูงอายุกลุ่มควบคุม อยู่ในเกณฑ์สะอาดเพียงร้อยละ 28.12 ไม่ผ่านเกณฑ์สะอาดร้อยละ 71.86 อยู่ในเกณฑ์แย่และการเตรียมลำไส้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 9.37 และ 3.12</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> การให้โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวสามารถทำให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตนในการเตรียมลำไส้เพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อยู่ในระดับดีความสะอาดของลำไส้อยู่ในเกณฑ์สะอาดถึงร้อยละ 96.87 ส่งผลให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ในการจัดการตนเอง ครอบครัวเข้าใจถึงบทบาทของตัวเองช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติตัวในการเตรียมลำไส้ใหญ่ที่ถูกต้อง</p> อุไรวรรณ บุญถม, ลักขณา ศรีปัดถา, ณัฐวุฒิ สุริยะ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265621 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265700 <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีการวิจัย :</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่าง 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ก่อนและหลังการทดลอง ได้รับการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) ด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา ทดลองโดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ คือ 1) การให้ความรู้การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา 2) การฝึกทักษะส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษารายบุคคล 3) การใช้สื่อ โปสเตอร์ กิจกรรมการเล่น รวมทั้ง QR code คลิปฝึกทักษะพัฒนาการด้านภาษา และ 4) การกำกับติดตามและนัดมารับบริการต่อเนื่อง ระยะเวลา 1 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา โดยใช้สถิติ Paired t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =-.38, p = 0.71) แต่พัฒนาการด้านการใช้ภาษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br />(t = -4.43, p ‹ 0.05) </p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา : </strong>โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาที่พัฒนาขึ้น ส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัย</p> จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, กานต์รวี โบราณมูล, สิทธิพงศ์ ปาปะกัง, เกศนีย์ เรียนพิศ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265700 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ฟ้าทะลายโจร ในการรักษาโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265487 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 โดยการให้ผู้ป่วยได้รับยาฟ้าทะลายโจรผงในรูปแบบแคปซูลที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 84 มิลลิกรัมต่อวัน</p> <p><strong>รูปแบบการศึกษา :</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ถึงธันวาคม 2565 ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 145 คน จะได้รับยาฟ้าทะลายโจรแคปซูลผง ขนาด 350 มิลลิกรัมต่อแคปซูล (มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ 7 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 5 วัน คำนวณเป็นปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ เท่ากับ 84 มิลลิกรัมต่อวัน ติดตามอาการทางคลินิก ประเมินระดับความเจ็บป่วยด้วย visual analog scale ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา โดยความถี่ในการติดตาม คือ วันแรกที่รับผู้ป่วย วันที่ผู้ป่วยเริ่มทานยา (วันที่ 1) วันที่ 3, 6 และ 14 ทำการประเมินผลการรักษาโดยวัดจากคะแนนรวมของ 12 อาการ ได้แก่ ไข้ ความรุนแรงของอาการไอ ปริมาณน้ำมูก เจ็บคอ ภาวะหายใจลำบาก การได้กลิ่น การรับรส เยื่อบุตาแดง อาการผื่น อาการถ่ายเหลว อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในวันที่ 1, 3, 6 และ 14</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> พบว่าคะแนนรวมของกลุ่มอาการทางโควิด-19 จาก visual analog scale ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.05) ตั้งแต่วันที่ 3 เมื่อเทียบกับวันที่ 1 ของการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจร และพบว่าระดับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจรมีผลลัพธ์เชิงบวกที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในวันที่ 3 เทียบกับวันที่ 1 ของการรักษา โดยพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการมีอาการเล็กน้อย มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.48 และ 84.83 ตามลำดับ อาการทางคลินิกที่มีจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการติดตามผลการรักษาในวันที่ 3 เทียบกับวันที่ 1 ของการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจร ได้แก่ อาการ ไข้ อาการเจ็บคอ ภาวะหายใจลำบาก อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผลการรักษาเมื่อครบเวลา 14 วัน พบว่าผู้ป่วยโควิด-19 เป็นร้อยละ 67.59 หายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยในการรักษาจนหายอยู่ระยะเวลา 10.32 ± 6.77 วัน ด้านความปลอดภัยผู้ป่วยร้อยละ 98.62 ไม่พบอาการข้างเคียงจากการใช้ยาฟ้าทะลายโจร</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การให้ยาฟ้าทะลายโจรผงในรูปแบบแคปซูลที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 84 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ป่วยโควิด-19 เป็นระยะเวลา 5 วัน มีประสิทธิผลและความปลอดภัย ซึ่งเป็นขนาดการใช้ยาที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ อยู่ในช่วง 60 – 180 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นขนาดที่แนะนำให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19</p> ปริญา ถมอุดทา, อดิศักดิ์ ถมอุดทา, กฤษณี สระมุณี, ศิริพร ราชรามแก้ว, ประถมพร มาตย์วิเศษ, จีริสุดา คำสีเขียว, ภาณุวัฒน์ นพินกุล, จรัญญา จุฬารี Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265487 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ระยะแรกร่วมกับมีภาวะช็อกชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา 2 ราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265662 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกร่วมกับภาวะช็อกชนิดรุนแรง 2 กรณีศึกษา ในมารดาที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามปี พ.ศ. 2564-2566 </p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> การรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong> พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เป็นการตั้งครรภ์แฝดเคยผ่าตัดคลอดในครรภ์แรกมีอาการเจ็บครรภ์คลอดและตรวจพบภาวะซีด ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องแบบฉุกเฉิน หลังผ่าตัดพบมดลูกหดรัดตัวไม่ดีและมีเลือดออกทางช่องคลอดทันทีเมื่อแรกรับที่หอผู้ป่วย ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ยังพบมดลูกไม่หดรัดตัวและมีเลือดออกทางช่องคลอดจนเกิดภาวะช็อก จึงทำการผ่าตัดซ้ำโดยการตัดมดลูกท่อนำไข่และปีกมดลูกด้านขวาออก สูญเสียเลือดประมาณ 2,800 มิลลิลิตร ให้การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมบทบาทมารดาและลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ผู้ป่วยปลอดภัย รวมระยะเวลารักษา 5 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เคยผ่าตัดคลอดในครรภ์แรก นัดผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องร่วมกับการทำหมัน ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องแบบไม่ฉุกเฉิน หลังผ่าตัดแรกรับที่หอผู้ป่วยพบมดลูกหดรัดตัวดี เลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย มีอาการปวดแผลรุนแรง ระดับความปวด 7 คะแนน ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดและลดความปวด ระดับความปวดลดลงเหลือ 5 คะแนน 4 ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วยเวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออก ตัวเย็น พบท้องอืด มดลูกไม่หดรัดตัว เลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ให้การพยาบาลขณะเกิดภาวะช็อก ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ตรวจพบมีเลือดออกในช่องท้อง มีการผ่าตัดซ้ำ 2 ครั้ง ครั้งแรก มีการตัดมดลูก ท่อนำไข่ทั้งสองข้างออก ครั้งที่ 2 ทำการผูกเย็บเส้นเลือดแดงที่มดลูก เนื่องจากมีการฉีกขาด สูญเสียเลือดประมาณ 4,900 มิลลิลิตร ให้การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกและลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัว พิทักษ์สิทธิค่ารักษาสิทธิประกันสังคม ผู้ป่วยปลอดภัย รวมเวลารักษาตัว 6 วัน</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การดูแลมารดาหลังคลอดพยาบาลวิชาชีพต้องมีความรู้ ทักษะการประเมินปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด เมื่อพบสัญญาณเตือนสามารถคาดการณ์ความรุนแรงล่วงหน้าและตัดสินใจรายงานแพทย์ได้ทันเวลา และเมื่อเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉินสามารถให้การพยาบาลช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง</p> ชุติมา อันเนตร์ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/265662 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700