@article{Jhankumpha_2020, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะภูมิไวเกินในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel}, volume={2}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/231218}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย และศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxelมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะภูมิไวเกิน ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel แล้วเกิดภาวะภูมิไวเกินทั้งหมดในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ถึง 31 เดือนตุลาคม พ.ศ.2561 จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel แล้วไม่เกิดภาวะภูมิไวเกิน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่ม 2 เท่าของผู้ป่วยที่เกิดภาวะภูมิไวเกิน จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบลักษณะ 2 กลุ่มด้วยการทดสอบไคสแคว์ ผลการวิจัย พบว่า <br>1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 80.23 มีอายุ ≥ 55 ปี ร้อยละ 55.56 มีอายุเฉลี่ย 55.11 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 25.0 – 29.9 ร้อยละ 32.56 และส่วนใหญ่ไม่เป็นโรคประจำตัว ร้อยละ 51.16 <br>2. ผู้ป่วยที่เกิด Hypersensitivity ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาแบบ Second line ร้อยละ 53.33 ปริมาณยาที่ได้รับเฉลี่ยเท่ากับ 30 CC ระยะเวลาที่เกิด Hypersensitivity และเกิดหลังจากเริ่มรับยาประมาณ 17 นาที และส่วนใหญ่อยู่ใน grade 2 ร้อยละ 76.67<br>3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ป่วย ลักษณะของโรคและการรักษากับการเกิดภาวะ Hypersensitivity พบว่า ปัจจัยด้านผู้ป่วย ลักษณะของโรคและการรักษามีความสัมพันธ์กับการเกิด Hypersensitivity อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกล่าวคือ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ลักษณะของโรคและการรักษา ไม่มีความสัมพันธ์กับการ เกิด Hypersensitivity</p> <p> </p>}, number={3}, journal={วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา}, author={Jhankumpha, Supattra}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={43–54} }