วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ <p>วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา<br />ISSN 2630-0214 E-ISSN 2821-9899<br />กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม–สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม<br />นโยบายของการตีพิมพ์ วารสารมีนโยบายตีพิมพ์รายงานวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Articles) ในด้านการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา</p> <p>นโยบายการประเมินบทความ<br />บทความที่จะตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนหรือไม่อยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น วารสารใช้ระบบการประเมินแบบ Double-blinded peer review บทความวิจัย (Research article) <br />และบทความวิชาการ (Review article) ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer reviewers) จากหลากหลายสถาบัน <br />และมีความเชี่ยวชาญตรงสาขากับบทความ อย่างน้อย 3 ท่าน ผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ จะถูกรวบรวมโดยบรรณาธิการเพื่อสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไข ผู้เขียนบทความต้องแก้ไขบทความจนเป็นที่พึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการ<br />บทความภาษาไทยที่ได้รับการตอบรับ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เป็นเงิน 3,500 บาท</p> วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี th-TH วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2630-0214 การเสริมพลังชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/267264 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ การเสริมพลังชุมชนเป็นหนึ่งในกลวิธีสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างยั่งยืน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษา 1) แนวคิดการเสริมพลังชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 2) วิธีการหรือแนวทางในการเสริมพลังชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง </p> <p><strong> </strong><strong>ประเด็นสำคัญ</strong>: แนวทางในการเสริมพลังชุมชน ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมของชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2) การสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหา 3) การขับเคลื่อนดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามแผน และ 4) การกำหนดมาตรการและข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนรับทราบและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม</p> <p><strong> </strong><strong>สรุป</strong><strong>:</strong>การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหา เข้าใจปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ รวมถึงช่วยกันกำหนดเป้าหมายเพื่อให้รู้ถึงวิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของแต่ละชุมชน อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์การเกิดชุมชนสุขภาวะต่อไป</p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ</strong>: บุคลากรสาธารณสุขหรือทีมสุขภาพสามารถนำแนวคิดการเสริมพลังชุมชนไปใช้สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนได้ โดยประยุกต์ใช้แนวทางหรือวิธีการเสริมพลังชุมชนที่สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของพื้นที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ มีการติดตามและประเมินผลประสานการทำงานอย่างต่อเนื่อง</p> คอรีเย๊าะ เลาะปนสา พัชรินทร์ คมขำ สุชาดา เจะดอเลาะ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 7 1 88 99 การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/267154 <p> </p> <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลให้โรครุนแรงขึ้น หากนำความสะดวกทางเทคโนโลยีมาใช้มีแอปพลิเคชันที่สะดวกต่อการดูแลตนเอง จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้มากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การวิจัยและพัฒนาดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างและพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น</p> <p>โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเบาหวาน พยาบาล ผู้ป่วยและญาติที่ดูแล นำมาสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นแล้วเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ ขั้นที่ 2 นำเว็บแอพพลิเคชั่นไปใช้และประเมินผล ทดลองใช้กับผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดมหาสารคาม 12 คน พยาบาลผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต 4 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอพพลิเคชั่น วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong>: 1) ได้เว็บแอพพลิเคชั่นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีฟังก์ชันการทำงาน 2 ส่วน สำหรับพยาบาลและสำหรับผู้ป่วย 2) การประเมินคุณภาพด้านความสะดวกของผู้ป่วยในการดูผลจากเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่าดีมาก 3) การประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่าพยาบาลและผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด และ มาก (Mean = 4.52, SD.= 0.56 และ Mean = 4.39, SD.= 0.48 ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: เว็บแอพพลิเคชั่นนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: การใช้เว็บแอพพลิเคชั่นนี้มีข้อมูลช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทำกิจกรรม ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น </p> อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย ณัฐวุฒิ สุริยะ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-29 2024-04-29 7 1 1 14 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผนในทารกแรกเกิด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/268156 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การเลื่อนหลุดของท่อหลอดลมคอโดยไม่ได้วางแผนพบได้บ่อย มีผลกระทบต่อทารก การพัฒนาแนวปฏิบัติฯโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ จึงมีความสำคัญ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติฯเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน ในทารกแรกเกิด</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง พยาบาลวิชาชีพ 12 คน และทารกอายุแรกเกิดถึง 30 วัน ที่ใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน คุณภาพของแนวปฏิบัติทางคลินิก (AGREE) มีค่าคะแนนร้อยละ 98.04 และค่าความเที่ยงของการสังเกต 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบอัตราการเกิดอุบัติการณ์ฯก่อนและหลังการนำแนวปฏิบัติฯไปใช้ ด้วยสถิติ Chi-Square test</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong>: พบ</p> <ol> <li>แนวปฏิบัติฯ มี 1) แผนผังการป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุด 2) คู่มือการใช้แนวปฏิบัติฯ 3 องค์ประกอบที่ดี คือ การเริ่มต้น การเฝ้าระวัง และการสื่อสาร ร่วมกับการใช้นวัตกรรม Logan Bow, Tubing holder, ที่นอนรังนกและรังนกรองศีรษะสำเร็จรูป</li> <li>หลังนำแนวปฏิบัติฯไปใช้ พบอุบัติการณ์ท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดลดลงจาก ร้อยละ 15 เหลือ ร้อยละ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05)</li> <li>ความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติฯ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> <p> <strong>สรุปผล</strong>: แนวปฏิบัติฯนี้ช่วยให้การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดได้ดียิ่งขึ้น</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: ผู้บริหารควรสนับสนุน ติดตาม และพยาบาลควรมีส่วนร่วมในการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง</p> อังคนา จันคามิ ศิราณี อิ่มน้ำขาว Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-29 2024-04-29 7 1 15 27 ผลการเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะรอคลอดด้วยวิธีของ Dare และ Johnson https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/265808 <p> </p> <p><strong> บทนำ</strong><strong>:</strong> การคาดคะเนน้ำหนักทารกมีหลายวิธี การเลือกวิธีที่ถูกต้องจะส่งผลต่อการวางแผนการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ได้เหมาะสมและอย่างปลอดภัย</p> <p><strong> วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ในระยะรอคลอดด้วยวิธีแบบแดร์และวิธีแบบจอห์นสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มารอคลอด อายุครรภ์ระหว่าง 24-41<sup>+6 </sup>สัปดาห์และมีศีรษะทารกเป็นส่วนนำ จำนวน 200 คน โดยทุกรายจะได้รับการคาดคะเนความถูกต้องของน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ทั้ง 2 วิธี โดยใช้สถิติ Exact probability test สำหรับ P-value estimated from Exact McNemar testหลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับน้ำหนักทารกแรกคลอดด้วย Modified Bland-Altman’s plot</p> <p><strong> ผลการวิจัย</strong>: พบว่ากรณีที่มีการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ได้น้อยกว่า 3,500 กรัม วิธีแบบแดร์สามารถประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักทารกแรกคลอดมากกว่าวิธีแบบจอห์นสัน โดยมีค่าที่แตกต่างกัน ± ไม่เกิน 200 กรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.020) และเมื่อมีการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ได้มากกว่า 3,500 กรัม พบว่าวิธีการทั้ง 2 วิธี สามารถประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ไม่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับน้ำหนักทารกแรกคลอด (p=0.503) </p> <p> <strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> สามารถเลือกใช้วิธีแบบแดร์ ในการประเมินน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ที่ไม่เกิน 3,500 กรัม ในน้ำหนักตัวของทารกแรกคลอดมากกว่าวิธีแบบจอห์นสัน</p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ</strong>: ผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลประจำในห้องคลอดสามารถใช้เป็นแนวทางคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นต่อภาวะคลอดติดไหล่หรือคลอดยาก โดยใช้การคาดคะเนน้ำหนักของทารกในครรภ์ระหว่างรอคลอด หากพบว่าทารกในครรภ์น้ำหนักตัวมาก จะได้ใช้ประกอบการรายงานสูติแพทย์พิจารณาชนิดการคลอดต่อไป</p> สุพันธินันท์ วรรณพฤกษ์ ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร เรืองศิริ ภานุเวศ จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ Copyright (c) 1970 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-29 2024-04-29 7 1 28 37 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/268338 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยสำคัญ การเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูเด็ก จะช่วยให้เด็กเติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อพัฒนาและประเมินผลของรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กรอบแนวคิดของเคมมิสและแมคทากกาท โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ 1) การวางแผน 2) การลงมือปฏิบัติ 3) การตรวจสอบติดตาม และ 4) การสะท้อนผล คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบหลายขั้นตอนและสุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกตัวแทนจาก 4 พื้นที่ของอำเภอหนองหาน รวม 97 คน ประกอบด้วย บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย เครื่องมือการวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และ และความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.70-0.88 ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่า รูปแบบการเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1) การกำหนดนโยบายระหว่างผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วนร่วมกัน 2) การดำเนินการแบบบูรณาการ และ 3) ระบบการติดตามเชื่อมโยงจากสถานบริการถึงชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วม ผลการประเมินรูปแบบการเฝ้าระวังฯที่พัฒนาขึ้นพบว่ากลุ่มบุคลากรฯมีความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ต่อรูปแบบฯโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em> = 4.77, <em>SD</em> =0.25) และกลุ่มผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em>= 4.69, <em>SD </em>=0.41)</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: รูปแบบการเฝ้าระวังฯที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้</p> <p><strong> </strong><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยควรดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกันในหลายภาคส่วนตามบริบทของพื้นที่โดยมีผู้จัดการดูแลสุขภาพเด็กเป็นผู้ประสานงาน</p> จิรัชญา มัฆนาโส นพพร จันทรเสนา ยุพาภรณ์ ติรไพรวงค์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 7 1 38 52 ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย ในจังหวัดเพชรบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/267279 <p> </p> <p><strong>บทนำ</strong>: นักเรียนหญิงมัธยมปลายที่มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้</p> <p> <strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อศึกษาการควบคุมน้ำหนัก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในจังหวัดเพชรบุรี</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>:การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นหญิงอายุ 15-18 ปี ชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 – 6 จำนวน 140 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 114 ชุด วิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุแบบขั้นตอน</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong>: นักเรียนหญิงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 57.8 , SD = 3.25 ) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ความรู้สึก วัตถุสิ่งของ ค่าใช้จ่าย และการได้รับคำแนะนำข้อมูลข่าวสารในการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายจากครอบครัว เพื่อน ครู บุคลากรสาธารณสุข และสื่อต่างๆ สามารถทำนายพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวได้ร้อยละ 7.1 </p> <p> <strong>สรุปผล</strong>: ผลการวิจัยนำมาใช้สร้างเสริมสุขภาพโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการให้คำแนะนำข้อมูลข่าวสารบนความร่วมมือของนักเรียน ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เพื่อให้เกิดกิจกรรมการควบคุมน้ำหนัก โดยเริ่มตั้งแต่นโยบายการให้ความรู้ การป้องกันปัญหาจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ควบคุมการผลิตและบริโภคสื่อที่สร้างพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง การสร้างเสริมพลังอำนาจให้แก่นักเรียนให้จัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโภชนาการของตนเอง การสร้างแรงจูงใจครู ผู้ปกครอง และนักเรียนให้เป็นแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง </p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: ควรมีการสนับสนุนให้โรงเรียนหรือชุมชนมีการจัดตั้งให้มีการจัดกิจกรรมการให้ข้อมูลข่าวสารในการส่งเสริมสุขภาพ และให้นักเรียนมีส่วนร่วม</p> มนชยา สมจริต มุกข์ดา ผดุงยาม Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 7 1 53 63 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/267351 <p><strong> บทนำ</strong><strong>: </strong> มารดาหลังคลอดที่มีการหลั่งของน้ำนมได้ดี จะลดปัญหาการคัดตึงเต้านม และอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด</p> <p><strong> วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด</p> <p><strong> ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ทีมสหวิชาชีพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลมารดาหลังคลอด 2) มารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนม 2) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong> ผลการวิจัย</strong> พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด แบ่งเป็นแนวปฏิบัติในระยะคลอดและระยะหลังคลอด ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองหลังคลอดที่ต้องได้รับการส่องไฟรักษา ร้อยละ 8.3 ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม คือ 9.93 ชั่วโมง (SD=12.17) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าคือ 48.79 ชั่วโมง (SD=15.34) ปริมาณน้ำนมก่อนใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับน้ำนมไม่ไหลร้อยละ 40.08 ภายหลังคลอดครบ 48 ชั่วโมง ปริมาณน้ำนมที่มีระดับน้ำนมไม่ไหลลดลงเหลือร้อยละ 0.40 และปริมาณน้ำนมส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้ำนมเริ่มไหลร้อยละ 56.35 รองลงมาอยู่ในระดับน้ำนมไหลแล้วร้อยละ 24.21 แนวปฏิบัติที่พัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพช่วยส่งเสริมการไหลของน้ำนมเร็วขึ้น ปฏิบัติตามได้ง่าย</p> <p><strong> สรุปผล: </strong>ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่สามารถทำได้ง่าย เกิดผลลัพธ์การหลั่งน้ำนมที่มีประสิทธิภาพและอาการตัวเหลืองของทารกลดลง </p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ</strong>: พยาบาลผดุงครรภ์และสหสาขาวิชาชีพควรร่วมกันวางแผนในการเตรียมความพร้อมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น</p> วนิดา ทองแท้ เกศกัญญา ไชยวงศา พุทธิดา จันทร์สว่าง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 7 1 64 75 ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วมตัดสินใจต่อการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/267411 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม ต่อการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy: RRT) ตามแนวคิดของเอลวินและคณะ Elwyn et al. (2017) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โปรแกรมฯ ประกอบด้วย 1) การสนทนาเป็นทีม (Team talk) เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและญาติ และทีมสุขภาพเพื่อพิจารณาทางเลือกในการรักษา และเป้าหมายของผู้ป่วย 2) การสนทนาทางเลือก (Option talk) เป็นการให้ความรู้ ข้อเสนอแนะทางเลือกฯ ความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย โดยการพิจารณาความเสี่ยง และ 3) การสนทนาเพื่อการตัดสินใจ (Decision talk) เป็นการสะท้อนผลลัพธ์และผลกระทบของแต่ละทางเลือกฯ ที่ผู้ป่วยสนใจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้และการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (paired t-test) ผลการวิจัยพบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และค่าเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดรักษาทดแทนไตที่เหมาะสมกับผู้ป่วยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ทั้งนี้เนื่องจาก โปรแกรมมีการเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และมีการกำหนดเป้าหมายสุขภาพของผู้ป่วยร่วมกับผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ นอกจากนนี้ ผู้ป่วยและญาติมีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และสามารถลดความขัดแย้งในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการให้คำปรึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดรักษาทดแทนไตแก่ผู้ป่วยและญาติ</p> นภาลัย แสงโพธิ์ มงคล วารีย์ อัญญาณี ฮองต้น ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 7 1 76 87