วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ <p>วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา<br />ISSN 2630-0214 E-ISSN 2821-9899<br />กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม–สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม<br />นโยบายของการตีพิมพ์ วารสารมีนโยบายตีพิมพ์รายงานวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Articles) ในด้านการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา</p> <p>นโยบายการประเมินบทความ<br />บทความที่จะตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนหรือไม่อยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น วารสารใช้ระบบการประเมินแบบ Double-blinded peer review บทความวิจัย (Research article) <br />และบทความวิชาการ (Review article) ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer reviewers) จากหลากหลายสถาบัน <br />และมีความเชี่ยวชาญตรงสาขากับบทความ อย่างน้อย 3 ท่าน ผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ จะถูกรวบรวมโดยบรรณาธิการเพื่อสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไข ผู้เขียนบทความต้องแก้ไขบทความจนเป็นที่พึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการ<br />บทความภาษาไทยที่ได้รับการตอบรับ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เป็นเงิน 3,500 บาท</p> th-TH journal@bcnu.ac.th (ผศ.ดร.กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง) journal@bcnu.ac.th (ดร.ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์) Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาในงานวิจัยทางการพยาบาล: บทเรียนจากประสบการณ์การฝากครรภ์ล่าช้าของสตรีมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/271833 <p><strong>บทนำ:</strong> การวิจัยปรากฏการณ์วิทยาเป็นทั้งปรัชญาและระเบียบวิธีวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษาประสบการณ์ของมนุษย์ในบริบทที่เป็นจริง โดยให้ความสําคัญกับบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อประสบการณ์ของบุคคล วิธีการนี้ได้รับความนิยมในวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพ เสามารถให้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่าง พัฒนาการดูแลที่เหมาะสมตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้การวิจัยปรากฏการณ์วิทยาในการศึกษาประสบการณ์การฝากครรภ์ล่าช้าของผู้หญิงมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้</p> <p><strong>ประเด็นสำคัญ:</strong> บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาในงานวิจัยทางการพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การฝากครรภ์ล่าช้าของสตรีมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความตามแนวคิดของไฮเดกเกอร์</p> <p><strong>สรุป:</strong> การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแสดงให้เห็นคุณค่าของการใช้วิธีวิจัยปรากฏการณ์วิทยาในการทำความเข้าใจประสบการณ์ด้านสุขภาพในแต่ละบริบทที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> การประยุกต์ใช้ปรากฏการณ์วิทยานี้ในการศึกษาประเด็นทางสุขภาพที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การฝากครรภ์ล่าช้าในกลุ่มชาติพันธุ์หรือศาสนาที่มีลักษณะเฉพาะ จะนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ</p> โศรยา นิฮะ, บูรณ์คณัส จันทรศิริพุทธ , อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ , สิรินภร ศุกรวรรณ Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/271833 Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700 ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/271977 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>การใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม ถือเป็นสิ่งสำคัญทั้งในการจัดการโรคเรื้อรังและการป้องกันสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยาในผู้สูงอายุ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสิงห์บุรี </p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อย 1 โรค จำนวน 321 โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 -1.0, และค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาพรวมอยู่ในระดับดี ( =4.06, SD =1.01) พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาพรวมอยู่ในระดับดี ( =3.65, SD =1.22) แล ะความรู้เกี่ยวกับการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในระดับปานกลาง (r =.435, p-value = .000)</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>: </strong>ความรู้ และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดี แต่ความสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาอยู่ในระดับปานกลาง</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ควรปรับปรุงในเรื่องการแกะเม็ดยาออกจากแผงยาหรือแบ่งยาออกใส่ขวดหรือตลับใส่ยา การสังเกตอาการข้างเคียงหรืออาการผิดปกติ หลังรับประทานยาทุกครั้ง และนำผลการศึกษาไปขยายผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงาน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยา ในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ในคลินิกอื่น ๆ</p> สุมณีย์ เดชเสงี่ยมศักดิ์ , เพ็ญรุ่ง บุญรักษ์ , ผาสุก มั่นคง Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/271977 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยนอกอายุรกรรมเฉพาะโรค โรงพยาบาลยโสธร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273574 <p> </p> <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ระบบบริการแพทย์ทางไกลช่วยลดการแออัด เพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ของผู้รับบริการ โดยเฉพาะผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีจำนวนมากและต้องรักษาต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น</p> <p> <strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 (R1) ศึกษาสถานการณ์</p> <p>ระยะที่2 (D) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการการแพทย์ทางไกล ระยะที่3 (R2)นำรูปแบบการจัดบริการการแพทย์ทางไกลและนำไปใช้ ระยะที่4 (D2)การประเมินผลของการใช้รูปแบบการจัดบริการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมเฉพาะโรคโรงพยาบาลยโสธร ระหว่าง เดือนมกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ.2566 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน คัดตามเกณฑ์คือ ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูง BP ‹ 140/90 mmHg อายุระหว่าง 40-65 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วย multivariable mean difference regression</p> <p> <strong>ผลการวิจัย:</strong> พบความแตกต่างในเดือนที่ 6 ของ SBP โดย Telemedicine =124.23 (S.D.=12.29) mmHg ส่วนกลุ่ม OPD Follow up =135.56 (S.D.=13.42) mmHg (p=0.002) และพบว่าระยะเวลาการรอคอยลดลง 196.06 นาที (95% CI=-214.55, -177.56) (p&lt;0.001)</p> <p> <strong>สรุปผล: </strong>ระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong> ควรนำระบบการแพทย์ทางไกลมาใช้ในการติดตามและการดูผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น เพื่อลดระยะเวลาในการมารับการรักษาต่อเนื่อง</p> กลิ่นผกา พาหุพันธ์, จิราพร สลางสิงห์, จินัฐตา พงประเสริฐ, ศิริรัตน์ อินทรเกษม Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273574 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสถานะสุขภาพ พฤติกรรมการจัดการตนเองและพฤติกรรมป้องกันเยื่อบุช่องท้องอักเสบกลับซ้ำของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273487 <p><strong>บทนำ:</strong> ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง การจัดการตนเองในการป้องกันเยื่อบุช่องท้องอักเสบกลับซ้ำเป็นสิ่งสำคัญในการลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อเปรียบเทียบสถานะสุขภาพ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และพฤติกรรมป้องกัน</p> <p>เยื่อบุช่องท้องอักเสบกลับซ้ำของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังการทดลอง ในผู้ป่วยที่ได้รับการ ล้างไตทางช่องท้องที่มีประวัติติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง จำนวน 30 คน ที่โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โปรแกรมการจัดการตนเองตามแนวคิดของแคนเฟอร์และเกลิค-บายส์ ประกอบด้วย การติดตามตนเอง การประเมินตนเอง และการให้แรงเสริมตนเอง ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2566-มีนาคม 2567 รายละ 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยสถานะสุขภาพ (t=2.67, p&lt;.05) พฤติกรรมการจัดการตนเอง (t=11.92, p&lt;.001) และพฤติกรรมป้องกันเยื่อบุช่องท้องอักเสบกลับซ้ำสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ (t=11.83, p&lt;.001)</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> โปรแกรมการจัดการตนเองมีประสิทธิผลในการปรับปรุงสถานะสุขภาพ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเองและพฤติกรรมป้องกันเยื่อบุช่องท้องอักเสบกลับซ้ำของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ที่เคยมีประวัติเยื่อบุช่องท้องอักเสบ โดยเน้นการฝึกทักษะและให้ความรู้ซ้ำเฉพาะรายบุคคล ร่วมกับการสนับสนุน จากครอบครัวและทีมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบกลับซ้ำ ลดภาวะแทรกซ้อนและ ลดการเสียชีวิต</p> มงคล วารีย์ , นภาลัย แสงโพธิ์, อัญญาณี ฮองต้น , ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์ Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273487 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการติดตามดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงโดยใช้ Telehealth ในเครือข่ายประสานงานสาธารณสุขอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/274557 <p><strong>บทนำ :</strong> การติดตามดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง จะช่วยให้สตรีตั้งครรภ์เข้าถึงบริการสุขภาพ ได้รับการคัดกรองประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ได้รับการพยาบาลและการรักษาทันที หากมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจากความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในเครือข่ายประสานงานสาธารณสุข อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย : </strong>การวิจัยและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาแนวปฏิบัติตามแบบจำลองของไอโอวา 5 ขั้นตอน ผ่านกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3 ระยะ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ 25 ราย สตรีตั้งครรภ์เสี่ยง 29 ราย วิธีดำเนินการระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาระบุปัญหาให้ชัดเจน ระยะที่ 2 พัฒนาต้นแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดลองใช้ ระยะที่ 3 ปรับปรุงต้นแบบและนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็น และความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการทวนสอบข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลรายบุคคลและการทวนสอบผ่านกระบวนการกลุ่ม </p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> รูปแบบการติดตามดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงโดยใช้ Telehealth ประกอบด้วย 1) การประสานการทำงานแบบไร้รอยต่อ 2) การให้ข้อมูล ความรู้ คำแนะนำ กำลังใจ 3) การขอคำปรึกษาจากผู้ชำนาญกว่าและการให้คำปรึกษา 4) การให้คำปรึกษาและการติดตามเยี่ยมทางไกล กลุ่มเจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( =4.27, S.D. =0.70) กลุ่มสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงมีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( =4.06, S.D. =0.86)</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> รูปแบบการติดตามดูแลถูกพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เหมาะสมแก่การนำไปใช้เพื่อติดตามดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูง</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ :</strong> ควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการที่จะช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลได้ครอบคลุมในทุกมิติ เสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อภาวะสุขภาพแห่งตนและส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ</p> สุวดี พลน้ำเที่ยง , ทัศนีวรรณ กรุงแสนเมือง , จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/274557 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273885 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของทารกแรกเกิด ส่งผลต่อความเครียดและเศรษฐกิจของมารดาและครอบครัว รวมถึงค่าใช้จ่ายของประเทศในการรักษาพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 20-36<sup>+6</sup> สัปดาห์ ในจังหวัดยะลา คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้จำนวน 122 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์ เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ค่า IOC อยู่ระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70, .93, .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคร์แสควร์ และค่าสัมประสิทธิ์การณ์จรของคราเมอร์</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูงสุด 5 อันดับแรก คือ มีฟันผุ/เหงือกอักเสบ (49.18%) นวดเต้านม/กระตุ้นหัวนม (43.44%) ทำงานหนักยืนหรือเดินนานๆ (40.16%) มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป (36.06%) และพักผ่อนไม่เพียงพอ (33.61%) ความเพียงพอของรายได้ มีปัจจัยเสี่ยง และความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในระดับต่ำ (.29, .27, .28 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .005) นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่าปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมของตนเองอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: การให้ความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงและการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์เป็นอีกวิธีที่สามารถส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้</p> มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข , นูรียะห์ โว๊ะ , อัรวา มะเซ็ง , นิอัฟนาน นิเยะ, อารีสา สาและ , หงษ์ ไชยนาพงษ์ Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273885 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 3B ร่วมกับเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273577 <p><strong>บทนำ:</strong> ไตเรื้อรังระยะที่ 3B ถือเป็นระยะสำคัญในการชะลอไตเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคร่วมเป็นเบาหวานระยะที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 3B ร่วมกับเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นที่ทำให้เกิดการค้นหาแนวทางปฏิบัติหรือการค้นหาปัญหาทางคลินิก และ 2) การสนับสนุนและการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 10 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือเป็นแนวทางระดมสมอง และเครื่องมือประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ 3) การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความรู้ พฤติกรรม และข้อมูลทาวงคลินิก และแบบประเมินความพึงพอใจ 4) การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปใช้ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 10 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมร้อยละ 92.86 และรายหมวดร้อยละ 90.00-98.33 หลังใช้แนวปฏิบัติผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ข้อมูลทางคลินิกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกอยู่ในระดับ มากที่สุด</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีประสิทธิผลต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3B ร่วมกับเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: สามารถนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน และเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลและการวิจัยในอนาคตควรมีการประเมินผลลัพธ์ในระยะยาว และขยายขนาดกลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้</p> จรรยา จันทะบับภาศรี, นริศรา เสามั่น, คำหล้า กันยายาว, นิตยา มลอยู่พะเนา Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/273577 Tue, 29 Apr 2025 00:00:00 +0700