@article{จันทร์แจ้ง_เดียวอิศเรศ_ศุภสีมานนท์_2019, title={อิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์}, volume={26}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/188852}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ และอิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกจำนวน 85 ราย คือสามีของสตรีตั้งครรภ์แรกที่ภรรยามารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การได้รับข้อมูล และพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 .79 .74 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.47 (<em>SD</em> = 2.2) ซึ่งอยู่ในระดับดี พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การงดหรือลดใช้สารเสพติด (ร้อยละ 95.3) และพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (ร้อยละ 34.1) การได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 19.9 (R<sup>2 </sup> = .199, F<sub>3,81</sub>= 6.72,  <em>p</em>< .01 ) ปัจจัยทำนายปัจจัยเดียวที่มีนัยสำคัญทางสถิติคือการได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ (b= .29, <em>p</em>< .01) พยาบาลที่ให้การดูแลสุขภาพของคู่สมรสก่อนภรรยาตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลแก่สามีเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์</p>}, number={3}, journal={วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา}, author={จันทร์แจ้ง จารุวรรณ and เดียวอิศเรศ วรรณี and ศุภสีมานนท์ วรรณทนา}, year={2019}, month={พ.ค.}, pages={62–70} }