@article{ท้าวน้อย_เดียวอิศเรศ_ศุภสีมานนท์_2019, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตร}, volume={26}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/210871}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้แบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกจำนวน 111 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติการสูญเสียบุตรจากการตั้งครรภ์ และการคลอด ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาล 3 แห่งในจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรวมรวมข้อมูลเดือนมกราคม-มีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประวัติทางสูติกรรม แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .82-.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และพอยท์ไบซีเรียล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.5 และ 23.5 มีความวิตกกังวลในระดับปานกลาง และระดับสูง ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลขณะเผชิญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>r</em> = -.22, <em>p </em>< .05) ตัวแปรอื่น ได้แก่ อายุครรภ์ของการสูญเสียบุตรในครรภ์ที่ผ่านมา ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งที่แล้ว อายุครรภ์ปัจจุบัน และการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ไม่พบมีความสัมพันธ์ ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้พยาบาลในหน่วยให้บริการฝากครรภ์ มีการประเมินความวิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตร และให้การพยาบาลโดยส่งเสริมให้ครอบครัว เพื่อน และบุคคลรอบข้างของหญิงตั้งครรภ์ ให้การสนับสนุนทางสังคมแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อลดระดับความวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ปัจจุบัน</p>}, number={4}, journal={วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา}, author={ท้าวน้อย เขมจิรา and เดียวอิศเรศ วรรณี and ศุภสีมานนท์ วรรณทนา}, year={2019}, month={ส.ค.}, pages={51–59} }