@article{ทัศนาธนชัย_ปุณโณทก_ลาวัง_สุขสวัสดิ์_สรรเสริญ_2020, title={ปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวช ของญาติผู้ดูแล จังหวัดชลบุรี}, volume={28}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/242893}, abstractNote={<p><span class="fontstyle0">ญาติผู้ดูแลเป็นทรัพยากรสำคัญในระบบการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชในระยะยาว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบ<br>ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชของญาติ<br>ผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี จำนวน 310 คน ซึ่งได้จากการสุ่ม<br>แบบกลุ่มหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ได้แก่<br>ข้อมูลพื้นฐาน การรับรู้ความรุนแรงของโรค พลังสุขภาพจิต ทัศนคติต่อการดูแล การรับรู้ภาระการดูแล มุมมองเชิงบวก<br>จากการดูแล และความพร้อมในการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง<br>โดยตัวแปรทัศนคติต่อการดูแล ปัญหาสุขภาพ อายุของญาติผู้ดูแล มุมมองเชิงบวกจากการดูแล และการได้รับการอบรม<br>สามารถร่วมกันอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชได้ร้อยละ 40.2 (R</span><span class="fontstyle0">2 </span><span class="fontstyle0">= .402, F = 40.861, p < .001)<br>ดังนั้น พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมของญาติผู้ดูแลในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวช<br>โดยการเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อการดูแล ส่งเสริมมุมมองเชิงบวก และอบรมก่อนการดูแล โดยเฉพาะในญาติผู้ดูแลที่มีอายุมาก<br>และมีปัญหาสุขภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลและผลลัพธ์ที่ดีของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชและญาติผู้ดูแล</span> </p>}, number={2}, journal={วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา}, author={ทัศนาธนชัย อโนชา and ปุณโณทก พิชามญชุ์ and ลาวัง วรรณรัตน์ and สุขสวัสดิ์ สุรภา and สรรเสริญ รัชนี}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={106–121} }