@article{นามพันธ์_เอื้อมณีกูล_กลัมพากร_2020, title={ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร}, volume={28}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/246064}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>             การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในปี 2559 จำนวน 182 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามด้านทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  และแบบสอบถามด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) แบบสอบถามปัจจัยสถานการณ์ ประกอบด้วย แบบสอบถามด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานและแบบสอบถามปัจจัยด้านองค์การและสังคม 3) แบบสอบถามการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73, .77, .88, .86 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>          ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.9, SD = 0.5) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ ทัศนคติ แรงจูงใจ วิธีการทำงาน เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ในการทำงาน นโยบายของหน่วยงาน การฝึกอบรม ผลตอบแทน สัมพันธภาพในหน่วยงาน และสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยพบว่า เครื่องมือเครื่องใช้ แรงจูงใจ ประสบการณ์ และผลตอบแทน เป็นตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 37ผลการศึกษาเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรสนับสนุนด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ สร้างแรงจูงใจ และผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงการพิจารณาระบบพี่เลี้ยงให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมาก่อนปฏิบัติงานร่วมกับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์</p>}, number={3}, journal={วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา}, author={นามพันธ์ จีราวรรณ and เอื้อมณีกูล นฤมล and กลัมพากร สุรินธร}, year={2020}, month={ก.ย.}, pages={41–52} }