@article{โพธิหัง_2021, title={ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ}, volume={29}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/253998}, abstractNote={<p>          การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย โดยการสืบค้นงานวิจัยปฐมภูมิที่ตีพิมพ์เผยแพร่ วรรณกรรมที่สืบค้นได้นำมาประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานงานวิจัย สกัดข้อมูลตามกรอบแนวคิดการปฏิรูปความรอบรู้ด้านสุขภาพ<br>          ผลการทบทวนวรรณกรรม พบงานวิจัยทั้งหมด 15 เรื่อง ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปัจจุบัน ทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือของหลักฐานงานวิจัยในระดับ 4 คือ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มวัยที่แตกต่างกัน เครื่องมือ<br>ที่ใช้ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นแบบสอบถาม การศึกษาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัจเจกบุคคล บริบทด้านสุขภาพ และบริบทด้านสังคม และ 2) ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพส่งผลลัพธ์พฤติกรรมสุขภาพ จากการทบวรรณกรรมดังกล่าวเสนอแนะดังนี้ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลปัจจัยไปเป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์กลวิธีในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ นำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสุขภาพภาคประชาชน เป็นองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคต่อไป</p>}, number={3}, journal={วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา}, author={โพธิหัง ปาจรา โพธิหัง}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={115–130} }