TY - JOUR AU - จีระยา, สาวิตรี AU - เฮงอุดมทรัพย์, ภรภัทร AU - วัฒนสิทธุ์, ดวงใจ AU - ประทุมศรี, เวทิส PY - 2019/05/13 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำ ในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย JF - วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา JA - JFONUBUU VL - 26 IS - 2 SE - DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/188766 SP - 30-39 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยจากการประเมินโดยใช้แบบประเมินพุทธิปัญญาและมีคุณสมบัติตามที่งานวิจัยกำหนด จำนวน 23 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>F</em><sub>1,21</sub> = 7.69, <em>p</em> &lt; .05) และในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในระยะติดตามผล 1 เดือน (&nbsp;= 83.27, <em>SD</em> = 14.32) สูงกว่าระยะหลังการทดลอง (&nbsp;= 79.41, <em>SD</em> = 16.58) และระยะก่อนการทดลอง (&nbsp;= 57.23, <em>SD</em> = 24.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถประยุกต์โปรแกรมนี้เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของผู้สูงอายุในด้านความสามารถแห่งตนด้านความจำ</p> ER -