TY - JOUR AU - วิสารพันธ์, ณัฐธยาน์ AU - แก่นการ, วราทิพย์ AU - อนุตระกูลชัย, ศิริรัตน์ PY - 2020/09/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง JF - วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา JA - JFONUBUU VL - 28 IS - 3 SE - DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/246061 SP - 1-15 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong>&nbsp; </strong></p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภาวะน้ำหนักเกินในผู้หญิงวัยกลางคนเกิดขึ้นได้ง่ายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังในอนาคต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินจำนวน 108 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 54 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การให้ความรู้เพื่อป้องกันโรคไต การปรับพฤติกรรมด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ ร่วมกับการติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง แบบวัดคุณภาพชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 และ .92 ตามลำดับ และแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคสแคว์ และทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง อัตราการกรองของไต และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแสดงว่ารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคไตเรื้อรัง บุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรังได้</p> ER -