TY - JOUR AU - ผลกุศล, ช่อทิพย์ AU - แสงอินทร์, ศิริวรรณ PY - 2021/06/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และพฤติกรรมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์อายุมาก JF - วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา JA - JFONUBUU VL - 29 IS - 2 SE - DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/251843 SP - 24-35 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์<br>อายุมาก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และพฤติกรรมสุขภาพของสตรี<br>ตั้งครรภ์อายุมาก กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ<br>3 โรงพยาบาล ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 190 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย<br>ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และแบบสอบถามพฤติกรรม<br>สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์อายุมาก ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา<br>และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพเท่ากับ 141.34 (SD = 18.70) ซึ่งอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มี<br>ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = .167, p &lt; .05) รายได้ครอบครัว (r = .200, p &lt; .01)<br>และอายุครรภ์ (r = .151, p &lt; .05) ส่วนการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ (r =<br>.059, p &gt; .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์อายุมาก<br>โดยบุคลากรทางสุขภาพควรคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้วย ถึงแม้ว่าการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์จะไม่มีความสัมพันธ์<br>กับพฤติกรรมสุขภาพ แต่ในทางปฏิบัติควรมีการตรวจคัดกรองการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ระหว่างที่มาฝากครรภ์<br>เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์อายุมาก</p> ER -