https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/issue/feedวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2025-03-31T14:07:36+07:00Assoc. Prof. Dr.Pornchai Jullamatejnurse@nurse.buu.ac.thOpen Journal Systems<p>คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นสถาบันผลิตบุคลากรพยาบาลทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลและเผยแพร่สู่สังคมวิชาชีพการพยาบาล จึงได้จัดทำวารสารคณะพยาบาลศาสตร์เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์แก่วิชาชีพการพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ โดยวารสารฉบับแรกได้จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2535 มีกำหนดออกปีละ ๓ ฉบับ และได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดจนวารสารของคณะพยาบาลศาสตร์มีคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการระดับชาติ ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวมทั้งได้รับคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและในโอกาสที่คณะฯ ครบรอบ 25 ปี งานวารสารจึงได้เพิ่มกำหนดการออกเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2550 เป็นต้น</p>https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/270084Factors Related to Health-Related Quality of Life among Persons with Systemic Lupus Erythematosus in Wenzhou, China2024-07-30T15:38:51+07:00Khemaradee Masingboonkhemaradee@nurse.buu.ac.thYang Zhu527228184@qq.comPornpat Hengudomsubpornpat12@yahoo.com<p> Systemic lupus erythematosus (SLE) is a major global health issue affecting patients' health-related quality of life (HRQOL). This research aimed to examine HRQOL in persons with SLE and to examine the relationships between SLE symptoms, depression, social support, self-care, and HRQOL in this population. Ninety-two persons with SLE were recruited by simple random sampling from one hospital in Wenzhou, Zhejiang Province, China. Instruments included the Demographic Information Questionnaire, the SLE Symptom Checklist (SSC), the Chinese version of the Patient Health Questionnaire (PHQ-9), the Chinese version of the Perceived Social Support Scale (PSSS), the Exercise of Self-Care Agency (ESCA), and the Chinese version of the Lupus Quality of Life (LupusQoL). Data were analyzed by using descriptive statistics and the Pearson correlation coefficient.</p> <p> The results revealed that the mean score of HRQOL among persons with SLE was 62.8 out of 100 (SD = 19.49). Self-care and social support were positively correlated with HRQOL (r = .370, p < .01; r = .407, p < .01, respectively). At the same time, depression and SLE symptoms showed negative correlations with HRQOL (r = -.466, p < .01; r = -.436, p < .01, respectively).</p> <p> The findings underscore the necessity and relevance of targeted interventions focused on improving the HRQOL of individuals with SLE. To improve the quality of life in this population, nurses should develop an intervention that focuses on controlling SLE symptoms, preventing depression, and promoting SLE self-care and social support.</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/273126ปัจจัยทำนายความคิดอัตโนมัติทางลบของเยาวชนที่ติดสารแอมเฟตามีน ในเรือนจำกลางภาคตะวันออก2025-03-10T18:07:20+07:00สราวลี สุนทรวิจิตรsarawalee@buu.ac.thภาคิณี เดชชัยยศpakinee@buu.ac.thดวงใจ วัฒนสินธุ์duangjaivat@gmail.com<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายชนิดหาความสัมพันธ์เชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความคิดอัตโนมัติทางลบของเยาวชนที่ติดสารแอมเฟตามีนในเรือนจำกลางชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนชายที่ติดสารแอมเฟตามีนในเรือนจำกลางชลบุรี จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความคิดอัตโนมัติทางลบ แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเอง แบบสอบถามความยึดติดทางความคิด และแบบสอบถามการมองโลกทางบวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนที่ติดสารแอมเฟตามีนมีความคิดอัตโนมัติทางลบเฉลี่ย 57.60 (SD=19.896) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดอัตโนมัติทางลบของเยาวชนที่ติดสารแอมเฟตามีนในเรือนจำกลางชลบุรีมากที่สุด ได้แก่ การยึดติดทางความคิด (β=.497, p<.001) รองลงมา คือ การมองโลกทางบวก (β=-.211, p<.001) และความภาคภูมิใจในตัวเอง (β=.129, p<.01) โดยสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความคิดอัตโนมัติทางลบของเยาวชนที่ติดสารแอมเฟตามีนในเรือนจำกลางชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 42.40 (R2=.424, p< .001)</p> <p> ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับพยาบาลวิชาชีพประจำเรือนจำในการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมที่เน้นการลดความยึดติดทางความคิด เพิ่มการมองโลกทางบวก และความภาคภูมิใจในตนเองเพื่อให้เยาวชนกลุ่มนี้มีความคิดอัตโนมัติทางลบลดลง</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/271423ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก ของสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา2024-12-02T09:26:22+07:00ณัชชา วรรณนิยมnatcha_wan@nmc.ac.thกรุณา ประมูลสินทรัพย์karuna_pra@nmc.ac.thรพีพัฒน์ รักกุศลRapeepat_rak@nmc.ac.thวารินทร์ วัฒนานนท์เสถียรWarin_wat@nmc.ac.th<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 15-34 ปี ที่มารับบริการ ณ คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลสูงเนิน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์ของสตรีตั้งครรภ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบ Wilcoxon signed rank test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าสตรีตั้งครรภ์ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพมีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05</p> <p> ผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลวิชาชีพที่แผนกฝากครรภ์สามารถใช้โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์ของสตรีตั้งครรภ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ คลินิกฝากครรภ์</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/270974ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้เป็นโรคเบาหวานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 20192024-11-05T15:57:13+07:00พัชรี พิมพ์สุวรรณศรีnoypeck5344@gmail.comปณิชา พลพินิจponpanicha@nurse.buu.ac.thสายฝน ม่วงคุ้มsaifon@buu.ac.th<p> พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ผู้ป่วยโรคเบาหวานจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้เป็นโรคเบาหวานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารักษา ณ คลินิกผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ชลบุรี จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโรคโควิด 19 ต่อโรคเบาหวาน การรับรู้สมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การได้รับข้อมูลข่าวสาร และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการนำตัวแปรเข้าพร้อมกันทั้งหมด</p> <p> ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพภาพรวมเท่ากับ 43.19 (SD = 9.27) โดยมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ บ่อยครั้ง นานๆ ครั้งและไม่ได้ปฏิบัติเลยคือร้อยละ 30, 28, 24.83, 17.17 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการจัดการระดับน้ำตาลและการรับประทานยาในระดับมากถึงมากที่สุด และมีพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ทั้งนี้การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโรคโควิด 19 ต่อโรคเบาหวาน การรับรู้สมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสารสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ได้ร้อยละ 40.5 (R<sup>2</sup> =.405 ,F <sub>5,114</sub> = 15.52, <em>p</em>< .001) โดยการรับรู้สมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพมีอิทธิพลในการทำนายมากที่สุด (β= .415, <em>p</em>< .001) รองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคม (β = .228, <em>p</em> = .01) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (β = .198, <em>p</em>= .02)</p> <p> ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยการรับรู้สมรรถนะของตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ยังคงเป็นส่วนที่สำคัญ นอกจากนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในสภาวการณ์ซึ่งมีข้อมูลที่หลากหลาย เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่บุคคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรพิจารณา</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/273017ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเอง กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช2025-02-25T14:21:07+07:00อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุงyotinwattanabumrung@gmail.comบุญประจักษ์ จันทร์วินboonprajuk2518@gmail.comปรัตน์ดา บุญเจริญParatda.Buncharoen@bcnnakhon.ac.th<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงอย่างน้อย 1 เดือน จำนวน 74 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายชนิดการสุ่มแบบไม่ใส่คืน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.75 แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.92 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.690, p < .05) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตและพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (<em>r </em>= .149, <em>p </em>> .05)</p> <p> จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลการพัฒนากิจกรรม/ โปรแกรมการดูแลตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเน้นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/273801การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี2025-02-24T17:35:05+07:00สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุลsupatsiri.lee@gmail.comนิรัชรา ก่อกุลดิลกatlsniratchara54@gmail.comคำพอง คำนนท์kampongant@gmail.comณัฐชยา ตรีศักดิ์ศรีสกุลnatchaya.tree@gmail.com<p> การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง 90 คน และพยาบาลวิชาชีพ/นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล แบบทดสอบความรู้ และแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2567- มกราคม 2568 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) กู้ชีพนเรนทรโรงพยาบาลราชวิถี 2) ผู้ป่วยมาเอง/ญาติ และ 3) รับย้าย ภายหลังการใช้รูปแบบฯ ด้านผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยได้รับการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาทีสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย PPCI ภายใน 90 นาที และได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที ก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ด้านผู้ให้บริการ พบว่า การคัดแยกผิดพลาดลดลงและความรู้เรื่อง ผู้ป่วย STEMI สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (M = 4.44, SD = .62)</p> <p> จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถนำรูปแบบฯ ไปใช้เป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วย STEMI</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/272646ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในนิสิตหญิงสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม2025-03-18T15:12:40+07:00ฐิตาภา แก้วใสtithapha220146@gmail.comชิระวุฒิ อัจฉริยชีวินchirawut.a@msu.ac.th<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ในนิสิตหญิงสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหญิงสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 23 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบองค์ประกอบของร่างกาย แบบทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ แบบทดสอบความอ่อนตัว แบบทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อ และแบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Paired Samples T – Test และ Wilcoxon signed - rank test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือซ้าย - ขวา และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายในรูปแบบสถานี มีค่าเพิ่มขึ้น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างกัน</p> <p> จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมการออกกำลังกายในรูปแบบสถานีไปใช้กับนิสิตคณะอื่นๆ เพื่อให้นิสิตได้ออก</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/272110RELATIONSHIP BETWEEN DIABETES KNOWLEDGE, SELF-EFFICACY, AND EATING BEHAVIORS AMONG TYPE 2 DIABETIC PATIENTS WITH POOR GLYCEMIC CONTROL2025-01-03T09:08:44+07:00Jiali Jiang407056389@qq.comChintana Wacharasinchintana@buu.ac.thJinjutha Chaisena Dallasjinjuthatawan@gmail.com<p> This study aimed to investigate the relationship between diabetes knowledge, self-efficacy, and eating behaviors among patients with Type 2 diabetes with poor glycemic control. Using simple random sampling, 185 patients with type 2 diabetes mellitus with poor glycemic control were recruited from the Department of Endocrinology, the First Affiliated Hospital of Wenzhou Medical University, Wenzhou, China. Research tools included Demographic Record Form, Chinese Version of Diabetes Knowledge Scale, Chinese Version of Type 2 diabetes Self-efficacy Scale, and Eating Behavior Compliance Scale for type 2 Diabetes Patients. Data analysis was performed using descriptive statistics and Pearson correlation coefficient.</p> <p> The results of this study showed that the average score of eating behaviors among patients with type 2 diabetes with poor glycemic control was 75.25 (SD=14.72),which indicating relatively moderate level. Diabetes self-efficacy was positively and significantly correlated with diabetes knowledge (r = 0.183, p < 0.05) and eating behaviors (r = 0.439, p< 0.01). Diabetes knowledge was positively and significantly correlated with eating behaviors (r = 0.250, p< 0.01).</p> <p> The findings suggest that Clinical nurses can help patients with type 2 diabetes with poor glycemic control enhance their eating behaviors by improving their diabetes self-efficacy and diabetes knowledge.</p>2025-03-31T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025