วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu <p>คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นสถาบันผลิตบุคลากรพยาบาลทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลและเผยแพร่สู่สังคมวิชาชีพการพยาบาล จึงได้จัดทำวารสารคณะพยาบาลศาสตร์เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์แก่วิชาชีพการพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ โดยวารสารฉบับแรกได้จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2535 มีกำหนดออกปีละ ๓ ฉบับ และได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดจนวารสารของคณะพยาบาลศาสตร์มีคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการระดับชาติ ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวมทั้งได้รับคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและในโอกาสที่คณะฯ ครบรอบ 25 ปี งานวารสารจึงได้เพิ่มกำหนดการออกเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2550 เป็นต้น</p> th-TH วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 0858-4338 การวิเคราะห์การประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นด้วยแบบจำลองธุรกิจ 1Canvas https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/267302 <p> คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นเป็นสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ให้บริการ โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการประชาชนคนไทยที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นให้บริการตามกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขอบเขตและกิจกรรมที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ โดยครอบคลุมการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การให้บริการพยาบาลพื้นฐาน การบริการดูแลสุภาพที่บ้าน การรักษาโรคเบื้องต้น และเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการพยาบาล นอกจากพยาบาลผู้ประกอบการต้องใช้ความรู้และทักษะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ยังต้องมีความรู้และความเข้าใจในการประกอบการและการบริหารธุรกิจร่วมด้วย </p> <p> แบบจำลองธุรกิจ Canvas (The Business Model Canvas) เป็นแนวคิดการออกแบบ วางแผน และดำเนินธุรกิจที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงขององค์ประกอบทางธุรกิจและมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันและสามารถใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับกลยุทธ์ต่อยอดให้กับกิจการได้ และเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพที่สนใจในการเป็นผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นรายใหม่มองเห็นภาพการประกอบการมากยิ่งขึ้น จึงขอเสนอแบบจำลองธุรกิจ Canvas มาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบ และวางแผนภาพการประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น และสามารถอธิบายองค์ประกอบที่สำคัญทางกลยุทธ์ในการประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นให้สามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้</p> นครินทร์ เชื่อนิจ ชวภณ สารข้าวคำ อารีย์วรรณ อ่วมตานี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 104 114 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจการสื่อสารเรื่องเพศต่อการสื่อสารเรื่องเพศในผู้ปกครองของวัยรุ่นหญิง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/264714 <p> การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อทัศนคติการสื่อสารเรื่องเพศ ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศ และการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองของหญิงวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองเพศหญิงที่มิใช่บิดามารดา อายุ 35- 50 ปีที่รับผิดชอบดูแลบุตรหลานที่เป็นวัยรุ่นหญิงและกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา (ม.1 - ม.3) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มๆละ 13 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของ Gibson (1995) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ทัศนคติต่อการสื่อสารเรื่องเพศ ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ Fisher’s exact test, Dependent t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยทัศนคติเชิงบวกต่อการสื่อสาร ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศและทักษะการสื่อสารเรื่องเพศสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (<em>t</em>= 11.594, p&lt;.001; <em>t</em> =2.356, <em>p</em>&lt;.001; <em>t</em>= 8.422, <em>p</em>&lt;.001 ตามลำดับ)</p> <p>ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรสาธารณสุข ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างเสริมศักยภาพในการสื่อสารเรื่องเพศในผู้ปกครองอันจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นหญิงต่อไป</p> ศิรประภา มุงบัง พรนภา หอมสินธุ์ รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 1 15 ผลของการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติแบบออนไลน์ต่อความรู้และความพร้อมในการฝึกภาคปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/267390 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมการฝึกปฏิบัติแบบออนไลน์ต่อความรู้และความพร้อมในการฝึกภาคปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์โดยใช้แนวคิด DLCPA มีกลยุทธ์การเรียนรู้แบบผสมผสาน 5 องค์ประกอบ โดยการประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบออนไลน์ ช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แก่ 1) การค้นพบ (discover) โดยเรียนรู้ด้วยตนเองบนโลกออนไลน์ 2) การเรียนรู้ (learn) การเรียนรู้ (learn) จากบรรยายแบบมีส่วนร่วมโดยครูบนแพลตฟอร์ม Google Meet 3) การฝึกปฏิบัติ (practice) โดยการวิเคราะห์กรณีศึกษาและฝึกใช้กระบวนการพยาบาล 4) การร่วมมือ (collaborate) โดยการอภิปราย แลกเปลี่ยนระหว่างเรียน ร่วมวิเคราะห์กรณีศึกษา และ 5) การประเมิน (assess) โดยการประเมินความพร้อมตนเอง สอบก่อนหลังเรียน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า หลังการเข้าร่วมการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลผู้สูงอายุ และการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p &lt; .001</p> <p><strong> </strong>จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติแบบออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ DLPCA ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทางการพยาบาลในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้</p> อรนุช ประดับทอง ธิดารัตน์ คณึงเพียร สุขุมาล แสนพวง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 16 27 ผลของโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและ การควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/267673 <p> การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าศาลา จำนวน 30 คน เกณฑ์การคัดเข้า คือ อายุ 20-59 ปี ระดับความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 140/90-180/99 มม.ปรอท ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา และได้รับยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ชนิด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการฝึกสติแบบสั้น แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง .67 - 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .83 โปรแกรมมีแผนกิจกรรม 5 ครั้ง ระยะเวลาในจัดกิจกรรม 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบทีแบบจับคู่</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบสั้น มีคะแนนเฉลี่ยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.18±0.68<em>, p &lt; </em>.001) ค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิก (149.80±7.62 และ 128.20±4.10 ตามลำดับ<em> p &lt; </em>.001) และค่าเฉลี่ยความดันไดแอสโตลิก (90.47±4.04 และ 78.43±2.96<em>, p &lt; </em>.001) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยเสนอแนะว่าควรนำโปรแกรมการฝึกสติแบบสั้นไปใช้ในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองและควรฝึกอย่างต่อเนื่องและเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล</p> ดลปภัฎ ทรงเลิศ จิราพร ชาญณรงค์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 28 40 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/267749 <p> การศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของนิสิตพยาบาลชั้นปี 1-4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 240 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม มีค่า</p> <p> ดัชนีความสอดคล้องความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม มีค่า 0.82-1.00 และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม มีค่า 0.75-1.00 และค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ .93 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ<em>เพียร์สัน</em></p> <p> ผลการวิจัย พบว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 157.60, <em>SD </em>= 21.08) พฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของนิสิตพยาบาล อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 34.14, <em>SD</em> = 4.20) คิดเป็นร้อยละ 76.25 และความรอบรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (r= .484, <em>p</em>=.026)</p> <p> จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมในด้านการจัดการตนเอง ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการสื่อสารเพื่อป้องกันในการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมในนิสิตพยาบาล </p> <p> </p> แสงเดือน อภิรัตนวงศ์ จณิสตา แก้วมิตร แสนสุรีพร ทรงมีโชติ สุมณฑา ชากลาง สุธีมา มีชื่อ วิไลลักษณ์ ชัยชนะ มนธิชา จรัสดาราแสง ปิยากร เศษสมบูรณ์ เบญจรัตน์ แซ่หลอ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 41 51 ผลการใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาเพื่อลดความเครียด และส่งเสริมการเผชิญปัญหาของนักศึกษาพยาบาล ในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265473 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาเพื่อลดความเครียดและส่งเสริมการเผชิญปัญหาของนักศึกษาพยาบาล ในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 34 คน คัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติจำนวน 17 คน และกลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาจำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และแบบประเมินการเผชิญปัญหาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมิน มีค่า 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคว์สแคว์ (Chi-square) และสถิติทีอิสระจากกัน (Independent t test)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยความเครียด (Mean = 42.35 ±10.16) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (Mean = 48.94 ± 6.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=.03) และมีคะแนนค่าเฉลี่ยการเผชิญปัญหาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล (Mean = 67.82 ±5.16) มากกว่ากลุ่มควบคุม (Mean = 48.64± 6.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p &lt; .001) แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมจิตตปัญญาสามารถลดความเครียดและส่งเสริมการเผชิญปัญหาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลได้ ดังนั้นอาจารย์ควรนำกิจกรรมจิตตปัญญาไปใช้เพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมทักษะการเผชิญปัญหาในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ</p> สุวรรณี สร้อยสงค์ สุภาณี คลังฤทธิ์ ปิยพงศ์ สอนลบ จินดาวรรณ เงารัศมี นันทวรรณ ธีรพงศ์ ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 52 65 การพัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีแบบครบวงจรของโรงพยาบาลแม่ลาว สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/267866 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีแบบครบวงจร ของโรงพยาบาลแม่ลาวฯ กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลผู้ปฏิบัติงานด้านเอชไอวี 36 คน และผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ขึ้นทะเบียนรักษาตัวในโรงพยาบาลแม่ลาว 335 คน เครื่องมือที่ใช้ รูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีฯ พื้นที่วิจัยอำเภอแม่ลาว ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบ 3 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ สรุปและบรรยาย</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลผู้ปฏิบัติงานฯ มีความคิดเห็นต่อกระบวนการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีฯ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> 4.53) โดยมีด้าน Reach มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ยสูงสุด (<em>M</em> = 4.78) และผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ติดเชื้อทุกคนได้รับการวินิจฉัยและได้รับยาต้าน ผู้รับบริการมีความ พึงพอใจมีต่อรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 3.98) ด้าน Test มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด (<em>M</em> = 4.25) ผลการพัฒนารูปแบบได้รูปแบบใหม่ในลักษณะการบูรณาการงานแต่ละด้านร่วมกัน คือ Reach และ ด้าน Recruit ด้าน Test และด้าน Treat และด้าน Retain นำเอากระบวนการ PDCA เข้ามาบูรณาการในขั้นทดลองใช้รูปแบบฯ สรุปการทดลองใช้รูปแบบฯ ครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยเอชไอวี ของโรงพยาบาลแม่ลาวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> กฤติกา ชนประชา วราลักษ์ รัตนธรรม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 66 79 ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/268304 <p> การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเป็นวิธีการสอนเชิงรุกวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 14 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิจัยและสารสนเทศทางการพยาบาลที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน มีระดับความสามารถทางการเรียนอยู่ในกลุ่มต่ำ กลุ่มกลางและกลุ่มสูง เครื่องมือวิจัย คือ ผู้วิจัย และแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและผ่านการทดลองใช้และปรับคำถามให้เหมาะสม ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และยืนยันคุณภาพของข้อมูลด้วยวิธีการตรวบสอบข้อมูลสามเส้า</p> <p> ผลการวิจัยพบประเด็นที่สำคัญ 3 ประเด็นคือ 1) ประเด็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะก่อนทำโครงงาน ประกอบด้วย ความกังวล และ ความกลัว ระยะทำโครงงาน ประกอบด้วย ความสุข ความสนใจและ บรรยากาศของความช่วยเหลือ และระยะสิ้นสุดโครงงาน ประกอบด้วย ความภาคภูมิใจ ดีใจ และ รู้สึกสนุก 2) ประเด็นความคิดเห็นต่อการสอน ประกอบด้วย ความคิดเห็นต่อการเรียนทฤษฎีก่อนฝึกปฏิบัติ ความคิดเห็นต่อจำนวนสมาชิก ความคิดเห็นต่อการจัดกลุ่ม และ ความคิดเห็นต่อการจัดตารางเรียน และ 3) ประเด็นแนวทางในการพัฒนาการสอน ประกอบด้วย เพิ่มจำนวนสมาชิก การจัดกลุ่มและจัดตารางเรียนที่เหมาะสม </p> <p> ข้อค้นพบนี้เสนอให้อาจารย์พยาบาลใช้ผลวิจัยนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน</p> สหัทยา รัตนจรณะ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 80 91 การพัฒนารูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วย ของบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/267770 <p> การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วยของบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย 2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วยฯ 3) ประเมินผลเบื้องต้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 4 ระยะ คือระยะที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหารูปแบบการดูแลสุขภาพบุคลากรทางการแพทย์ ของสถาบันราชประชาสมาสัย ระยะที่ 2 ปฏิบัติการร่างรูปแบบฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ร่างรูปแบบฯ ระยะที่ 4 ประเมินผลการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ประชากรเป้าหมายการพัฒนา คือ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พยาบาลอาชีวอนามัย สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรทางการแพทย์ที่เจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป รวม 16 คน พื้นที่วิจัยคือสถาบันราชประชาสมาสัย ใช้แบบสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม แบบคัดลอกข้อมูลเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนตุลาคม 2566– กุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานฯ ประกอบด้วย R –MOPH (2) สหสาขาวิชาชีพและบุคลากรทางการแพทย์ที่เจ็บป่วยฯ ให้การยอมรับรและพึงพอใจรวมระดับมากที่สุด (3) บุคลากรที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลก่อนกลับเข้าทำงานภายหลังการเจ็บป่วย และสามารถกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย ร้อยละ 100 ผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นยังมีข้อจำกัดที่เป็นการดูแลแบบภาพรวม จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำรูปแบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของกลุ่มโรค</p> เดือนเพ็ญ บุญเปรม ณัฐกาญจน์ แก้วประดับ เอื้อมพร พูนกล้า สุกัญญา เที่ยงคำดี วรชาติ ถัดหลาย Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 32 2 92 103