วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu <p>คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นสถาบันผลิตบุคลากรพยาบาลทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลและเผยแพร่สู่สังคมวิชาชีพการพยาบาล จึงได้จัดทำวารสารคณะพยาบาลศาสตร์เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์แก่วิชาชีพการพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ โดยวารสารฉบับแรกได้จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2535 มีกำหนดออกปีละ ๓ ฉบับ และได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดจนวารสารของคณะพยาบาลศาสตร์มีคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการระดับชาติ ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวมทั้งได้รับคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและในโอกาสที่คณะฯ ครบรอบ 25 ปี งานวารสารจึงได้เพิ่มกำหนดการออกเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2550 เป็นต้น</p> th-TH jnurse@nurse.buu.ac.th (Assoc. Prof. Dr.Pornchai Jullamate) jnurse@nurse.buu.ac.th (Ekkarin Sama) Fri, 29 Mar 2024 20:31:21 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแล ผู้ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ในจังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/263724 <p> พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเป็น พฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดีของญาติผู้ดูแล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลจำนวน 123 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ความวิตกกังวลในการปฏิบัติบทบาทการดูแล การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม ที่ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .75, .91, .89, .89, .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง (<em>M<sub>adj</sub></em> =1.93,<em> SD </em>=0.36) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมที่อยู่ในระดับเหมาะสมมาก คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ซึ่งความเหมาะสมมากที่สุด (<em>M<sub>adj</sub></em> =2.22,<em> SD</em> =0.53) และด้านการตระหนักในคุณค่าแห่งตน (<em>M<sub>adj</sub></em> =2.21,<em> SD</em> =0.48) ส่วนด้านอื่นอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง คือ ด้านการรับประทานอาหาร(<em>M<sub>adj</sub></em> =1.92,<em> SD</em> =0.48) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (<em>M<sub>adj</sub></em> =1.75,<em> SD </em>=0.52) ด้านการจัดการกับความเครียด (<em>M<sub>adj</sub></em> =1.71,<em> SD </em>=0.54) และด้านการออกกำลังกาย (<em>M<sub>adj</sub></em> =1.48,<em> SD</em> =0.78) ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยการรับรู้ความสามารแห่งตน (<em>r</em> = .387, <em>p</em> &lt; .001) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (<em>r</em> = .316, <em>p</em> &lt; .001) และการสนับสนุนทางสังคม (<em>r </em>= .230, <em> p</em> &lt; .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลวิชาชีพ หรือบุคลากรทางสุขภาพ สามารถนำผลวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง โดยเน้นการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม ร่วมกับส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม ของญาติผู้ดูแลในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้ญาติผู้ดูแลคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีได้</p> ญาษิดา โชติจุลภัทร, วรรณรัตน์ ลาวัง, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/263724 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265741 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 สุ่มตัวอย่างตามแบบสะดวก จำนวน 108 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและบันทึกประวัติสุขภาพ แบบสอบถามความทุกข์ยากจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะตนเองด้านการรับประทานอาหาร แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และแบบสอบถามการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบเลือกเข้า</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ( M =12.08, S.D.=2.83) โดยปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานได้ร้อยละ9.2 (R<sup>2</sup> adjust =.902 ) (β = 114, p &lt;.05 )</p> <p> ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้เป็นเบาหวานทุกรายเพื่อให้สามารถปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม</p> วันทนีย์ พูนศรี, สายฝน ม่วงคุ้ม, เขมารดี มาสิงบุญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265741 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหาร เด็กวัยก่อนเรียน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266844 <p> งานวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 101 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลเดือนสิงหาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 6 ชุด ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเครียดของมารดา แบบสอบถามสภาพแวดล้อมที่บ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้หน้าจอของมารดา แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .81, .81, .83, .91, และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน ร้อยละ 40.7 ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่บ้าน (β = 0.776, <em>p</em> &lt; .05) และการสนับสนุนของครอบครัว (β = 0.503, <em>p </em>&lt; .001) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาล บุคลากรทางสุขภาพ และผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และการสนับสนุนของครอบครัวเพื่อให้มารดามีพฤติกรรมในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ</p> อาภาสุวรรณ คล้ายสุบรรณ์, ณัชนันท์ ชีวานนท์, นฤมล ธีระรังสิกุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266844 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการเผชิญปัญหาและความเข้มแข็งทางใจต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266055 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเผชิญปัญหาและความเข้มแข็งทางใจต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเครียดสวนปรุง 2) แบบประเมินการเผชิญปัญหา และ 3) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินเท่ากับ 0.926, 0.753, 0.884 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติความถดถอยพหุคูณแบบขั้น </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 55.29 การเผชิญปัญหาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 91.76 ความเข้มแข็งทางใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 92.94 ตัวแปรความเข้มแข็งทางใจสามารถพยากรณ์ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ฯ ได้ร้อยละ 26.60 (R<sup>2</sup> = 0.266) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt;.001) ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางใจโดยการส่งเสริมความสามารถการปรับตัวเชิงบวกและเป็นผู้ที่มีความอดทนและความยืดหยุ่นทางอารมณ์เมื่อเผชิญกับตัวก่อความเครียดขณะฝึกฏิบัติการพยาบาลหรือในสถานการณ์ชีวิตที่เผชิญความยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ปิยพงศ์ สอนลบ, สุวรรณี สร้อยสงค์, สุภาณี คลังฤทธิ์, สมาภรณ์ เทียนขาว, นันทวรรณ ธีรพงศ์, ฉันทนา โสวัตร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266055 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 FACTORS INFLUENCING DIETARY BEHAVIORS OF ADULTS WITH RECURRENT KIDNEY STONES IN WENZHOU, CHINA https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265739 <p> Recurrent kidney stones pose a significant global health concern, emphasizing the crucial role of appropriate dietary practices in their prevention. This research, grounded in the Health Belief Model, delves into the dietary behaviors and underlying factors influencing individuals with recurrent kidney stones. The study cohort comprised 110 adults with recurrent kidney stones, selected via simple random sampling from the First Affiliated Hospital of Wenzhou Medical University in Wenzhou, Zhejiang Province, China. Utilizing instruments such as demographic questionnaires, the Health Belief Scale, and the Dietary Behaviors Scale, data analysis was conducted employing descriptive statistics and multivariate regression analysis.</p> <p> The findings underscored a mean dietary behavior score of 55 out of 95 (<em>SD</em> = 8.6), indicating a moderate level of adherence to recommended dietary guidelines. Notably, perceived threat, perceived benefits, perceived barriers, and perceived self-efficacy collectively elucidated 20.4% of the variance in dietary behaviors among adults with recurrent kidney stones. Particularly, perceived threat and perceived barriers emerged as significant predictors of dietary behaviors (β = .287, <em>p</em> &lt; .001; β = -.409, <em>p</em> &lt; .001, respectively). These results underscore the importance of targeted interventions aimed at enhancing dietary behaviors among this demographic. Nurses and healthcare providers are urged to furnish tailored information that addresses specific barriers and heightens perceived threat, thereby fostering preventive measures against recurrent kidney stones.</p> Heting Liang, Khemaradee Masingboon, Niphawan Samartkit , Saifone Moungkum Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265739 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็มร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลและความดันโลหิตในผู้ป่วยฝังเข็ม โรงพยาบาลกลาง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266655 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็มร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลและความดันโลหิตในผู้ป่วยฝังเข็ม โรงพยาบาลกลางเป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยเก็บข้อมูลแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบประเมินความวิตกกังวลเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองคือคู่มือการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็ม คู่มือการให้สุคนธบำบัด เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลและความดันโลหิต ด้วยสถิติPaired t – testโดยถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ <em>p</em> - value &lt; 0.05 </p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลก่อนและหลังการได้รับการเตรียมผู้ป่วยร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการฝังเข็มสูงกว่าก่อนการฝังเข็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(<em>p</em> = 0.001) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซีสโตลิกหลังการฝังเข็มลดลงกว่าก่อนการฝังเข็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.001)และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโตลิกหลังการฝังเข็มลดลงกว่าก่อนการฝังเข็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.001)</p> <p> จากการศึกษาสรุปได้ว่าการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็มร่วมกับการใช้สุคนธบำบัด ในผู้ป่วยฝังเข็ม โรงพยาบาลกลาง ช่วยลดความดันโลหิต แต่ไม่สามารถลดความวิตกกังวล ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการศึกษาครั้งนี้ การควบคุมตัวแปรกวนในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยมีการเปรียบเทียบ จะช่วยสนับสนุนผลการศึกษา<strong>คำสำคัญ</strong>: การเตรียมผู้ป่วย การฝังเข็ม การใช้สุคนธบำบัด ความวิตกกังวล</p> นวพร มีเสียงศรี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266655 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังใน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265591 <p> การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดการพยาบาลทางไกลร่วมกับการใช้กระบวนการพยาบาล (Nursing process) ประกอบด้วย 2 ระยะคือ ระยะที่ 1) ศึกษาหลักการแนวคิด ความเป็นไปได้ในการใช้การพยาบาลทางไกลและสำรวจสภาพปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้บริหารและพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 2) นำรูปแบบที่พบในระยะที่1มาศึกษาถึงประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลทางไกลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (การรายงานผลการศึกษาในบทความวิจัยนี้จะรายงานผลเฉพาะในระยะที่1) กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จำนวน 397 คนโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามการพยาบาลทางไกล และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารและพยาบาลวิชาชีพ ศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566</p> <p> ผลการศึกษาพบปัญหาในการใช้บริการและความต้องการการใช้รูปแบบพยาบาลทางไกล ดังนี้ 1) การเดินทางมารับบริการ มีปัญหาระดับมาก (Mean = 3.50, <em>SD</em>=1.29) 2) การติดตามดูแลจากพยาบาลมีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.56, <em>SD</em>=1.03) 3) การได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคเรื้อรัง มีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.56, <em>SD</em>=1.02) 4) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการบริการ มีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.87, <em>SD</em>=1.26) 5) ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับพยาบาล มีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.69, <em>SD</em>=1.12) และผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ด้านการให้บริการผ่านรูปแบบการพยาบาลทางไกลควรมีรูปแบบที่ชัดเจน เน้นกระบวนการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติของสภาการพยาบาลเบื้องต้น ด้านการรักษาความลับต้องมีการรักษาความลับของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดทำนโยบายที่ชัดเจนตั้งแต่ระบบโรงพยาบาลแม่ข่ายถึงลูกข่าย ดังนั้นรูปแบบการพยาบาลทางไกล ประกอบด้วย 1) ระบบการพยาบาลทางไกลในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 2) แอฟพลิเคชันไลน์ ในการกำกับติดตามให้การพยาบาลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังตามกระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน 3) คู่มือการปฏิบัติการพยาบาล 4) โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง</p> เบญจมาศ ถาดแสง, ปิยะพันธุ์ นันตา, นภาพร วงศ์วิวัฒนนุกิจ, เพลินจิต คำเสน, สุทธิลักษณ์ จันทะวัง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265591 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่เข้ารับการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265895 <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาล ในการลดความวิตกกังวลจากการทำหัตถการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการทำหัตถการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลางครั้งแรก ณ หน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียม แห่งหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาล และ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 22 ราย เก็บข้อมูลระหว่าง มกราคม 2565 ถึง มกราคม 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลที่ได้รับการตรวจสอบที่ถูกต้องและเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญของสปิลเบอร์เกอร์ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง ภายในกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนความวิตกกังวลหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>=5.93, <em>p</em>&lt;.001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนความวิตกกังวลก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>=.09, <em>p</em>=.926; <em>t</em>=-2.97, <em>p</em>&lt;.01 ตามลำดับ) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลในการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยซึ่งพยาบาลสามารถใช้วิธีการปฏิบัตินี้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลางอย่างมีคุณภาพ </p> นิคม คำเหลือง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265895 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ออกทั้งหมด เนื่องจากมีเนื้องอกในมดลูก: กรณีศึกษา 2 ราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266456 <p> การตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกทั้งหมดเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในมดลูก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุมาก การผ่าตัดดังกล่าวอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโลหิตจาง เป็นต้น การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและกิจกรรมการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกทั้งหมด เนื่องจากมีเนื้องอกในมดลูก จำนวน 2 ราย โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แบบบันทึกการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และแบบบันทึกผ่าตัด</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ระยะก่อนผ่าตัด กรณีศึกษาทั้งสองรายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื่องจากไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าห้องผ่าตัด ส่วนระยะหลังผ่าตัดกรณีศึกษาทั้งสองรายมีปัญหาและความต้องการคล้ายกันคือ ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ปัญหาที่แตกต่างกันคือ กรณีศึกษารายที่ 2 มีอายุมากและมีโรคประจำตัวเมื่อเกิดการเสียเลือดจากการผ่าตัด จึงมีความเสี่ยงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า เช่น ภาวะปอดแฟบ และภาวะท้องอืด ส่งผลให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่า ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้ในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพและกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล</p> อรวรรณ พานดอกไม้ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/266456 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ออนไลน์แบบเชิงรุกร่วมกับแบบเชื่อมโยงของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต: การทบทวนวรรณกรรม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265852 <p> การเรียนออนไลน์จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม ทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา พร้อมจะเรียนรู้ ได้โดยไม่มีอุปสรรค รวมถึงอุปกรณ์และสถาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์ ซึ่งองค์ประกอบการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ออนไลน์แบบเชิงรุกร่วมกับแบบเชื่อมโยงมีความสำคัญต่อนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตก่อนการเรียนออนไลน์ สรุปได้ดังนี้ 1) องค์ประกอบการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง ความรักในการเรียน แรงจูงใจในการเรียนรู้ และการตรวจสอบหรือติดตามตนเอง 2) องค์ประกอบการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้เรียน กิจกรรม และแหล่งทรัพยากร และ 3) องค์ประกอบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นอิสระ ความหลากหลาย การโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ การเปิดกว้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะช่วยผลักดันให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบความสำเร็จ และบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้</p> ธีระชล สาตสิน, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล, ศรินย์พร ชัยวิศิษฎ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/265852 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700