Comparison of Outcomes of Discharge Planning and Post-Discharge Follow-up Care, provided by Advanced Practice, Expert-byexperience, and Novice Nurses, to Hospitalized Elders with Chronic Healthcare Conditions

Authors

  • Nuchanad Jeangsawang PhD (Candidate) Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok
  • Porntip Malathum Assistant Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok
  • Orasa Panpakdee Associate Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok
  • Dorothy Brooten Professor, College of Nursing and Health Sciences, Florida International University, Miami, Florida
  • Dechavudh Nityasuddhi Associate Professor, Department of Biostatistics, Faculty of Public Health, Mahidol University, Bangkok

Keywords:

Advanced practice nurse, Discharge planning and follow-up care, Elderly, Chronic healthcare conditions, Outcomes

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการจัดการโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ระหว่างผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง พยาบาลผู้มีประสบการณ์ และพยาบาลจบใหม่ และศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง (ได้แก่ บุคลากรผู้ร่วมงาน และญาติผู้ป่วยสูงอายุ) ต่อประโยชน์ของการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบการ ปฏิบัติงานของพยาบาลทั้ง 3 กลุ่มหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 2 เดือน ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของ ผู้ป่วย (ได้แก่ ความสามารถในการทำหน้าที่ การเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะปอดอักเสบ จากการติดเชื้อ ภาวะสับสนเฉียบพลัน และการพลัดตกหกล้ม) ผลลัพธ์การกลับเข้าใช้บริการในโรงพยาบาล (ได้แก่ การใช้บริการห้องฉุกเฉิน ระยะเวลาที่กลับเข้าพักรักษาซํ้าในโรงพยาบาลนับจากวันที่จำหน่าย การกลับเข้าพัก รักษาซํ้าในโรงพยาบาล และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลที่กลับเข้าพักรักษาซํ้า) และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อการบริการพยาบาลที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุจำนวน 100 รายและญาติผู้ดูแลหลัก ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ประเทศไทย รวบรวมข้อมูล เป็นเวลา 12 เดือนโดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากบันทึกทางการพยาบาล บันทึกทางการแพทย์ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ ด้วยสถิติบรรยาย ไคสแควร์ ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (one-way ANOVA) และ post-hoc Tamhane test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าผลลัพธ์ของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องในกลุ่ม ผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่ได้รับการดูแลจากผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง พยาบาลผู้มีประสบการณ์ และพยาบาลจบใหม่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ และการกลับเข้าใช้บริการในโรงพยาบาล ยกเว้นด้านความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ โดยพบว่าญาติผู้ดูแลในกลุ่มที่มีผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับมากกว่ากลุ่มพยาบาลผู้มีประสบการณ์ และพยาบาลจบใหม่ อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทั้งแพทย์ ผู้บริหารการพยาบาล พยาบาลผู้ร่วมงาน ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล ได้ให้การยอมรับและเห็นประโยชน์ของการมีผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

คำสำคัญ: ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง / การวางแผนจำหน่ายและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง / ผู้สูงอายุ / ภาวะเจ็บป่วย เรื้อรัง / ผลลัพธ์


Abstract

The objectives of this mixed methods study were to: compare the outcomes ofdischarge planning and follow-up care, for elders with chronic healthcare conditions, among anadvanced practice nurse (APN), expert-by-experience nurses, and novice nurses who deliveredcare through a “Continuity of Care Program;” and, describe the benefits of APN care servicesfrom key stakeholders’ (i.e., healthcare colleagues and family caregivers) perspectives. Theoutcomes of care, compared among the three type of nurse groups, at two-months post-discharge,included: patient outcomes (functional ability, pressure sores, urinary tract infections, pneumonia,acute confusion, and falls); hospital outcomes (emergency room visits, hospital readmission,time between hospital discharge and the first readmission, and length of re-hospitalizationstay); and, family caregivers’ satisfaction with nursing care. One hundred elderly patients andtheir respective family caregivers were recruited from the medical wards of a major universityhospital in Bangkok, Thailand. Quantitative and qualitative data were collected, over 12months, by way of nursing and medical records, questionnaires, and interviews. Quantitativedata were analyzed using descriptive statistics, chi-square, one-way ANOVA, and the posthocTamhane test, whereas qualitative data were analyzed via content analysis. Even throughthe results revealed only family caregivers’ satisfaction with nursing care was higher for theAPN-directed care, compared to the care delivered by the novice and expert-by-experiencenurses, benefits of APN practice were noted from the data obtained from key stakeholders.

Keywords: Advanced practice nurse; Discharge planning and follow-up care;Elderly; Chronic healthcare conditions; Outcomes

Downloads

How to Cite

1.
Jeangsawang N, Malathum P, Panpakdee O, Brooten D, Nityasuddhi D. Comparison of Outcomes of Discharge Planning and Post-Discharge Follow-up Care, provided by Advanced Practice, Expert-byexperience, and Novice Nurses, to Hospitalized Elders with Chronic Healthcare Conditions. PRIJNR [Internet]. 2013 Jan. 31 [cited 2024 Apr. 18];16(4):343-60. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5574