Effectiveness of a Youth-led Educational Program on Sexual and Reproductive Health for Thai Early Adolescents

Authors

  • Warunee Fongkaew RN, PhD. Associate Professor, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
  • Saowaluck Settheekul RN, MS. Youth Family and Community Development Project, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
  • Kangwan Fongkaew MA. Youth Family and Community Development Project Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
  • Natthakarn Surapagdee Med. Faculty of Nursing, Chiang Mai University Chiang Mai, Thailand.

Keywords:

การให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธ, การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, เด็กวัยรุ่นตอนต้น, การให้ความรู้โดยแกนนำ, Sexual and reproductive health, Youth-led educational program, Thai early adolescents

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการใช้โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์โดยแกนนำเยาวชนในเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่ศึกษาในโรงเรียนประถมขยายโอกาส 2 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 169 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 80 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 89 ราย กลุ่มทดลองได้รับการอบรมจากแกนนำเยาวชนโดยใช้โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังจากสิ้นสุดการได้รับโปรแกรมในกลุ่มทดลองโดยใช้แบบสอบถาม 6 ตอน ประกอบด้วย ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ความเชื่อที่สนับสนุนและความเชื่อที่ไม่สนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์ ความคิดเห็นต่อการใช้ถุงยางอนามัย และสมรรถนะในตนเองต่อการมี เพศสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีแบบสองกลุ่มอิสระ สถิติทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์ และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบวัดซ้ำ

ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ความเชื่อที่สนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์ และความคิดเห็นต่อการใช้ถุงยางอนามัยภายหลังการอบรม 3 เดือน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ความเชื่อที่ไม่สนับสนุนการมี เพศสัมพันธ์ และสมรรถนะในตนเองต่อการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์โดยแกนนำเยาวชนสามารถเสริมสร้างความเข้าใจของวัยรุ่นในบางมิติที่เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : การให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์, การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, เด็กวัยรุ่นตอนต้น, การให้ความรู้โดยแกนนำ

 

Abstract

Using a quasi-experimental, pre-post test, two groups design, this study sought to examine the effectiveness of a youth-led educational program on sexual and reproductive health for Thai early adolescents. The sample consisted of 169 students from two primary schools in a northern province of Thailand. Students from one school (n=80) were assigned to the experimental group, while students from the other school (n=89) were assigned to the control group. Students assigned to the experimental group received a youth-led educational program on sexual and reproductive health, while those in the control group received the school’s usual educational program regarding sexual and reproductive health. Data were gathered on both groups, prior to and after the experimental group’s completion of the youth-led program, by way of six questionnaires that assessed: demographic characteristics; sexual and reproductive health knowledge and attitude; sexual risk behavior attitudes; pros and cons of sexual involvement; attitude toward condom use; and safe sex and refusal sex self-efficacy. Analyses of the data included the use of: descriptive statistics; chi-square; Fisher’s exact test; independent t-test; paired t-test; and, ANOVA with repeated measures.

Results revealed significant differences between the experimental and control groups, three months after the educational program, in terms of: knowledge and attitudes toward sexual and reproductive health; pros of sexual involvement; and, attitude toward condom use. However, no significant differences were noted between the two groups regarding: sexual risk behavior attitudes; cons of sexual involvement; and, safe sex and refusal sex self-efficacy. The findings suggest a youth-led program is beneficial in strengthening some aspects of adolescents’ understanding of sexual and reproductive health.

Keywords : Sexual and reproductive health, Youth-led educational program, Thai early adolescents

Downloads

How to Cite

1.
Fongkaew W, Settheekul S, Fongkaew K, Surapagdee N. Effectiveness of a Youth-led Educational Program on Sexual and Reproductive Health for Thai Early Adolescents. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Mar. 29];15(2):81-96. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/6516

Issue

Section

Original paper