@article{Rahmah_Hatthakit_Chunuan_2013, title={Religiosity and Health Status in Middle Aged Male Muslims in Indonesia}, volume={12}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5875}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p>การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการนับถือศาสนา (ทัศนคติและ แรงจูงใจภายในต่อศาสนาและการปฎิบัติศาสนกิจ) ภาวะสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการนับถือศาสนากับภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นชายวัยกลางคนจำนวน 126 ราย จากมัสยิดจำนวน 9 แห่งในกรุงจาการ์ตา เก็บรวมรวบข้อมูลโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติและแรงจูงใจภายในต่อศาสนาและการปฎิบัติศาสนกิจ และ แบบสอบถามภาวะสุขภาพ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติและแรงจูงใจภายในต่อศาสนาในระดับต่ำ (ร้อยละ 57.9) และมีพฤติกรรมในการปฏิบัติศาสนกิจในระดับต่ำ (ร้อยละ 55.6) เมื่อพิจารณาถึงระดับการนับถือศาสนาโดยรวม พบว่าประมาณร้อยละ 27 ของกลุ่มตัวอย่างมีการนับถือศาสนาระดับสูง ในขณะที่ร้อยละ 40 มีการนับถือศาสนาโดยรวมในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมในการปฏิบัติศาสนกิจสูงเพียงอย่างเดียวประมาณร้อยละ 15 และมีทัศนคติและแรงจูงใจภายในต่อศาสนาสูงเพียงอย่างเดียวร้อยละ 17.5 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพในระดับดีร้อยละ 69.1 และเมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพเป็นรายด้าน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสุขภาพระดับปานกลางในทุกด้าน ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนับถือศาสนาและภาวะสุขภาพ พบว่าทัศนคติและแรงจูงใจภายในต่อศาสนามีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับภาวะสุขภาพด้านจิตวิญญาณ (r = .26, p < .01) และพฤติกรรมในการปฏิบัติศาสนกิจมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (r = .24, p < .01) และภาวะสุขภาพด้านจิตวิญญาณ (r = .37, p < .01) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของการนับถือศาสนา และภาวะสุขภาพได้มีการอภิปราย พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ภาวะสุขภาพ อินโดนีเซีย ชายวัยกลางคนอิสลาม การนับถือศาสนา</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The aims of this descriptive study were to describe the levels of religiosity and health status, and examine relationships among components of religiosity and health status. Using non-probability convenience sampling, 126 middle-aged, Indonesian, Muslim men were recruited through nine mosques in Jakarta. Data were collected via a self-report questionnaire consisting of three parts: the Demographic and Health Information Questionnaire, the Islamic Involvement Questionnaire (measuring religiosity) and the Health Status Questionnaire.</p> <p>Findings revealed the majority of subjects had both low religious intrinsic orientation (57.9%) and religious behavior (55.6%). Approximately 27% ranked themselves as “high” in overall religiosity, while 40.5 % ranked themselves as “low.” Those who ranked themselves as “high” in religious behavior only accounted for 15% while those who ranked “high” in religious intrinsic orientation only was 17.5%. The majority (69.1%) indicated their level of health status was “good.” However, within the six specific components of health status, the majority ranked themselves at a “moderate” level. Positive correlations were found between religious intrinsic motive and spiritual health (r = .26, p < .01), and religious behavior and general health perception (r = .24, p < .01) and spiritual health (r = .37, p < .01). The relationships among various components of religiosity and health were discussed, and recommendations for further studies were also provided.</p> <p><strong>Keywords: </strong>health status, Indonesia, middle-aged Muslim men, religiosity</p>}, number={3}, journal={Pacific Rim International Journal of Nursing Research}, author={Rahmah, Hayuni and Hatthakit, Urai and Chunuan, Sopen}, year={2013}, month={Feb.}, pages={220–230} }