TY - JOUR AU - Sukwatjanee, Arissara AU - Pongthavornkamol, Kanaungnit AU - Low, Gail AU - Suwonnaroop, Nantawon AU - Pinyopasakul, Wanpen AU - Chokkhanchitchai, Surachai PY - 2013/02/06 Y2 - 2024/03/29 TI - Benefits of a Self-Help Group for Rural Thai Elders with Type-2 Diabetes JF - Pacific Rim International Journal of Nursing Research JA - PRIJNR VL - 15 IS - 3 SE - Original paper DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/6506 SP - 220-233 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในผู้สูงอายุไทยในชนบทที่เป็นโรค เบาหวานชนิดที่ 2 นี้เพื่อ: (1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือ ตนเองว่าส่งผลต่อความสามารถดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตอย่างไรและ (2) เปรียบเทียบคะแนนความ สามารถดูแลตนเอง คุณภาพชีวิตและระดับนำตาลในเลือดก่อนและหลังการมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือ ตนเอง การวิจัยนี้ได้แนวคิดจากแผนพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 ที่ส่งเสริมให้มี การสำรวจความต้องการและพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้สูงอายุในชนบท ประกอบกับการที่ ผู้สูงอายุไทยในชนบทที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ประสบกับภาวะแทรกซ้อนของโรคและอุปสรรค หลายประการในการดูแลตนเองอันก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ได้มีการนำทฤษฎี วิพากษ์สังคม (Critical Social Theory) มาเป็นกรอบแนวคิดสำหรับการทำวิจัย เก็บข้อมูลจากการมี ส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเองและแบบสอบถาม ผู้ร่วมวิจัย 20 คนถูกคัดเลือกจากรายชื่อผู้ป่วยที่ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไว้ที่สถานีอนามัยของหมู่บ้านหนึ่งในจังหวัดหนึ่งของภาคกลาง ผู้ร่วมวิจัยได้เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเองทุกสองสัปดาห์เป็นเวลา 6 เดือน ข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การประชุมกลุ่มและการสังเกตถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณอันประกอบด้วยระดับ น้ำตาลในเลือด แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตทั้งก่อนและหลังเข้า ร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเองได้นำมาวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างด้วยสถิติ paired-samples t test</p> <p>จากการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองพบประโยชน์ที่ผู้ร่วมวิจัยได้รับ 4 ด้านคือ ความรู้ที่สอดคล้อง กับวัฒนธรรมท้องถิ่น (culturally-sensitive knowledge) การช่วยเหลือทางสังคม ความมีพลังอำนาจ และการรับรู้ความสามารถตนเอง (self-efficacy) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ความสามารถตนเอง ได้ส่งเสริมให้ผู้ร่วมวิจัยมีกิจกรรมการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น นอกจากนี้พบ ว่าการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีคะแนนความสามารถดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตเพิ่ม ขึ้นและมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้าลดลง กลุ่มช่วยเหลือตนเองนับว่าเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งสำหรับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไทยในชนบทที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> โรคเบาหวานชนิดที่ 2, คุณภาพชีวิต, ความสามารถดูแลตนเอง, กลุ่มช่วยเหลือตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือด</p> <p> </p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of this participatory action research, with rural Thai elders with type-2 diabetes, were to: (a) explore perspectives of the elders with respect to how taking part in a self-help group on diabetes affected their self-care ability and quality of life; and, (b) compare self-efficacy and quality of life scores, and blood glucose levels, of the elders, before and after participation in a self-help group on diabetes. The research was undertaken in light of the fact that: Thailand’s 2007-2011 national health plan promotes identification of needs for, and development of, community self-help groups for rural elders; and, rural Thai elders, with type-2 diabetes, face multiple self-care barriers and complications, which put them at risk for poor health and decreased quality of life.</p> <p>Critical Social Theory was used as the guiding framework for the study. Data were gathered through use of a self-help group and questionnaires. Twenty participants were selected, from a database of elders with type-2 diabetes, who were registered at the community health care center of a rural village, in central Thailand. Participants took part in the self-help group, every other week, for 6 months. Qualitative data, from the self-help group meetings and observations, were analyzed via content analysis. Quantitative data, including fasting blood sugar levels and data from questionnaires assessing the elders’ self-efficacy and quality of life, obtained prior to and after completion of the self-help group, were analyzed through use of paired-samples t-test.</p> <p>Upon completion of the self-help group, four themes emerged from the qualitative data. The themes included: obtained culturally-sensitive knowledge; perceived social support; perceived sense of empowerment; and, perceived self-efficacy. The results revealed positive self-efficacy enabled participants to improve their self-care activities. In addition, the quantitative data suggested participants, after completion of the self-help group, had higher self-efficacy and quality of life scores, as well as lower fasting blood sugar levels. Thus, the use of a community-based self-help group appeared to be an effective health promotion strategy for rural Thai elders with type-2 diabetes.</p> <p><strong>Keywords :</strong> Type-2 Diabetes, Quality of life, Self-efficacy, Self-help group, Blood glucose levels</p> ER -