https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/issue/feed วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2024-12-27T13:09:12+07:00 ดร.สุภัทรา สามัง supattrasamung@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยเเละพัฒนาระบบสุขภาพเป็นวารสารที่ใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการและผลศึกษาวิจัย ทางด้านการพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุขเเละคุณภาพชีวิตนำไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน <br />บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และทางการเเพทย์ ทั้งในระดับประเทศเเละระดับนานาชาติ รวมไปถึงประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป</p> <p>ISSN 3027-6845 (Print)</p> <p>ISSN 3027-6853 (Online)</p> <p> </p> <p> </p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268102 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและการติดนิโคติน ในผู้สูบบุหรี่จังหวัดเชียงราย 2024-08-02T19:34:29+07:00 อ้อมขวัญ ทิมินกุล aomkhwan.tim@mfu.ac.th ธนัชชา ยีโกบ 6131803018@lamduan.ac.th อทิตยา ขันคำ 6131803046@lamduan.ac.th ปิยมาภรณ์ อนันต์ศุภมงคล 6131803075@lamduan.ac.th นนทนัตถ์ สถาพร nontanat.sat@mfu.ac.th <p>การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนส่งผลให้ติดนิโคตินมากขึ้นในผู้ที่สูบบุหรี่ จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีการปลูกชาและกาแฟมากที่สุดในประเทศไทย และมีผู้สูบบุหรี่เป็นร้อยละ 12.61 ของจำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และมีผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองเพิ่มขึ้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และคะแนนการติดนิโคตินในผู้สูบบุหรี่ จำนวน 310 คน อายุเฉลี่ย 29.59 ± 11.71 ปี โดยใช้แบบทดสอบการติดสารนิโคติน และแบบสอบถามการบริโภคเครื่องดื่นที่มีคาเฟอีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิสหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า จำนวนประเภทของเครื่องดื่มคาเฟอีนที่อาสาสมัครเลือกบริโภคมีความสัมพันธ์เชิงลบระดับต่ำกับคะแนนการติดนิโคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.184, p-value &lt; 0.01) และจำนวนวันที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนต่อสัปดาห์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับคะแนนการติดนิโคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.129, p-value &lt; 0.05) และคะแนนการติดนิโคตินมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ส่วนสูง สถานภาพสมรส และระดับการศึกษาสูงสุด</p> <p>การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า ผู้สูบบุหรี่ที่บริโภคเครื่องดื่มคาเฟอีนประเภทเดิมเป็นประจำ และมีจำนวนวันที่บริโภคต่อสัปดาห์เพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลให้ติดนิโคตินมากขึ้น</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270543 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพที่มีคุณภาพ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด 2024-09-25T14:25:04+07:00 นิสิต บุญอะรัญ boonarunnisit@gmail.com กองทิพย์ ปินะกาโน kongthip1@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ 370 คน และสหวิชาชีพรวมภาคีเครือข่าย 19 คน 2) พัฒนารูปแบบ นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 39 คน สุ่มจาก<br />กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนแรก 3) ประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา paired sample t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 39 คน มีปัญหาทันตสุขภาพ ปัญหาการมองเห็น เสี่ยงหกล้มและความคิดความจำบกพร่อง ร้อยละ 64.10, 61.54, 61.54 และ 51.28 ตามลำดับ รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า “ตุ้มโฮม โจมค้ำ หล่ำนำ ผู้สูงวัย” ผลการทดสอบทางสถิติของข้อมูลก่อนและหลังพัฒนารูปแบบ พบว่า การทดสอบการเดินการทรงตัว (TUGT) และการประเมินภาวะสมองเสื่อม (TMSE) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt; 0.05 ส่วนปัญหาสายตา ปัญหาทันตสุขภาพ ยังไม่พบความแตกต่าง ผู้สูงอายุเข้าถึงการดูแลรักษาและส่งต่อมากขึ้น ความพึงพอใจต่อบริการคลินิกผู้สูงอายุ ในระดับมากที่สุด (4.90 ± 0.28)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรมีการประเมินผลในระยะยาวเพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแล</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270007 ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวีดีโอบนยูทูป ในวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช เรื่อง การประเมินสภาพจิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2024-10-16T10:37:43+07:00 ทมาภรณ์ สุขสวรรค์ tamaporn@bcnsprnw.ac.th วัชรีพร อ่อนสด tamaporn@bcnsprnw.ac.th พิมพ์พิมล เรืองฤทธิ์ pimpimol@bcnsprnw.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล<br />ชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนหัวข้อการประเมินสุขภาพจิตที่ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวิดีโอ YouTube กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 65 คน การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว การออกแบบก่อนและหลังเรียน ประเมินผลโดยใช้คะแนนการทดสอบการเรียนรู้และระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วิดีโอ YouTube 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนหัวข้อการประเมินสุขภาพจิต 4) แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองและ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (dependent t-test)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 หลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 2) คะแนนการทดสอบการเรียนรู้หลังเรียนสูงขึ้น<br />อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 3) นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.12, S.D. = 0.64)</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268302 สาเหตุของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคต้อกระจก โรงพยาบาลมหาสารคาม 2024-06-25T21:48:04+07:00 พันนิตย์ อรัญญาวาส 60010710022@msu.ac.th วริศรา ศรีสุขกาญจน์ 60010710041@msu.ac.th ธนนรรจ์ ธนนรรจ์ tananan.r@msu.ac.th อรอนงค์ วลีขจรเลิศ ornanong.w@msu.ac.th อัจฉรียา แสนมี achareeya141@yahoo.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการนัดหมายเพื่อรับบริการผ่าตัดต้อกระจก ที่คลินิกตา โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อกระจกชนิดบอด และชนิดสายตาเลือนรางระดับรุนแรงที่ได้รับการนัดหมายผ่าตัด ในช่วงเดือนตุลาคม 2564-มีนาคม 2566 จำนวน 86 ราย โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยทบทวนประวัติการลงนัด และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจัดกลุ่มข้อมูล</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุหลักของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยที่ไม่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจกตามนัด คือ กังวลเรื่องภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ร้อยละ 46.7 รองลงมา คือ มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น และต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 26.7 และญาติพาไปรับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลอื่น ร้อยละ 23.3 สาเหตุหลักของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยที่ไม่มาติดตามการรักษาครบตามนัดภายหลังได้รับการผ่าตัดต้อกระจก คือ ไม่มีญาติหรือผู้ดูแลพามาโรงพยาบาล ร้อยละ 80.8</p> <p>ดังนั้น หน่วยบริการควรจัดให้มีการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดต้อกระจก หน่วยงานภาครัฐในชุมชน ควรให้การสนับสนุนผู้ป่วยที่ต้องการผู้ดูแลระหว่างพักฟื้น รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการผู้ดูแลพามาพบแพทย์ตามนัด เพื่อช่วยลดอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถมาติดตามการรักษาได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270774 การวิเคราะห์บริบทของปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสุขภาพจิต ระดับชุมชน สำหรับผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง: การศึกษาแบบผสานวิธีในหลายระดับ 2024-09-10T14:48:09+07:00 ขัติยา แก้วสมบัติ kuttiya77@gmail.com อิศรา ขุนพิลึก kuttiya77@gmail.com ชินกร สุจิมงคล kuttiya77@gmail.com อัญชลี วิจิตรปัญญา kuttiya77@gmail.com <p>ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Severe Mental Illness with High Risk to Violence: SMI-V) เป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม การจัดบริการสุขภาพจิตระดับชุมชนมีบทบาทสำคัญในการป้องกัน จัดการ และลดความรุนแรง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสุขภาพจิตระดับชุมชน ศึกษาแบบผสานวิธีหลายระดับ วิธีวิจัย 1) การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Fisher's Exact Test การวิเคราะห์ทางสถิติใช้ภาษา R เวอร์ชัน 4.2.1 และแพ็คเกจ tidyverse 2) การวิจัยเชิงคุณภาพสำรวจแบบมีโครงสร้างผ่านแบบสอบถามออนไลน์กับบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดเลย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p>ผลการวิจัย ปี 2566 มีผู้ป่วย SMI-V 6,303 คน (ร้อยละ 1.31) ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองและทำร้ายผู้อื่น พบมากที่สุด การวิเคราะห์เชิงคุณภาพแสดงให้เห็นปัจจัยที่เอื้อ เช่น ความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน การมีเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง และนโยบายที่เอื้อต่อการดูแล ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ ทัศนคติเชิงลบ การขาดแคลนบุคลากร และงบประมาณที่ไม่เพียงพอ</p> <p>การจัดบริการสุขภาพจิตระดับชุมชนสำหรับผู้ป่วย SMI-V การพัฒนาระบบบริการที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม และการสร้างความตระหนักรู้ในชุมชน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270111 ผลของโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-10-21T11:04:10+07:00 ปิยาภรณ์ พงษ์ประยูร pongprayoon55@gmail.com พรรณี บัญชรหัตถกิจ pannee.ban@vru.ac.th ทัศพร ชูศักดิ์ thassaporn@vru.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วย<br />โรคหลอดเลือดสมองต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 31 คน และกลุ่มทดลอง 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยดัชนีบาร์เธล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับสู่ชุมชน โดยการฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัด จำนวน 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนการทดลองทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับดี หลังการทดลอง พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนนี้สามารถนำไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียง</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/269154 แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี 2024-08-12T15:07:48+07:00 แก้วใจ มาลีลัย kaewjai@scphub.ac.th สิริสุดา วงษ์ใหญ่ kaewjai@scphub.ac.th <p>โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง การวิจัยภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.60 อายุเฉลี่ย 56.51 ปี ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิตรวจทุกปี ร้อยละ 66.70 ไม่เคยมีประวัติป่วยเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 88.10 <br />มีประวัติการประทานอาหารดิบ ร้อยละ 59.50 และไม่เคยฝึกอบรมเรื่องการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ ร้อยละ 59.50 แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของ อสม. ส่วนใหญ่พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคระดับปานกลาง ร้อยละ 90.50 การรับรู้ความรุนแรงของโรคระดับสูง ร้อยละ 56.00 การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคระดับสูง ร้อยละ 81.00 และ<br />การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคระดับต่ำ ร้อยละ 47.60 การอบรมส่งเสริมพัฒนา อสม. ให้มีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ดีทำให้ อสม. สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคลากรทางด้านสุขภาพ และช่วยลดปัญหาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพยาธิไม้ตับในชุมชนได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271056 การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2 ส. ของแรงงานกัมพูชาที่ทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี 2024-10-02T14:17:06+07:00 ณัทณพงศ์ พีรภัคพงศ์ prasit.ka@go.buu.ac.th ประสิทธิ์ กมลพรมงคล prasit.ka@go.buu.ac.th <p>การวิจัยนี้เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของแรงงานกัมพูชาในสถานประกอบการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะ2 เป็นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ ระยะที่ 3 ผลการพัฒนาความรอบรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Pearson’s Correlation Coefficient Independent Sample t-test Paired Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ความรอบรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt; 0.001 (r= 0.285) การส่งเสริมความรอบรู้ ประกอบด้วย<br />1) นโยบายและความคาดหวัง 2) กิจกรรมและช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม 3) วิธีการดำเนินงาน <br />4) การสนับสนุน ระยะที่ 2 รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม 1) การเข้าถึง เข้าใจ รู้เท่าทันสื่อ สู่พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง 2) ทักษะสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญ <br />3) การค้นหาสู่การจัดการตนเอง 4) การตัดสินใจดีชีวีมีสุข ระยะที่ 3 ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นกว่า<br />ก่อนการทดลอง และเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt; 0.001</p> <p>ข้อเสนอแนะ รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพนี้ ส่งเสริมให้แรงงานมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270203 ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายใน องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดเลย 2024-10-01T17:30:48+07:00 คฑาวุธ แสนเมือง choomseer@gmail.com ปิยะพงษ์ ชุมศรี choomseer@gmail.com ชลธิชา ศรีโลน choomseer@gmail.com ปิ่นกมล สนโคกสูง choomseer@gmail.com ปนัดดา หงษาวงค์ choomseer@gmail.com สมาน สีดา สมาน สีดา choomseer@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า</p> <p>ผลการวิจัย ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.54 ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรม<br />การคัดขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 43.98 นอกจากนี้ พฤติกรรมการคัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 48.69 สำหรับปัจจัยด้านบุคคล พบว่า แผนกการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (h = 0.331) นอกจากนี้ ความรู้และทัศนคติยังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.271 และ r = 0.482)</p> <p>ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคลากรแต่ละแผนกเกิดความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะในองค์กรเพิ่มมากขึ้น</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/269561 การศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการคลินิกเด็กสุขภาพดี มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กในเขตสุขภาพที่ 7 2024-07-31T20:35:40+07:00 สุพัตรา บุญเจียม supattra4422@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการคลินิกเด็กสุขภาพดีมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กในเขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566-สิงหาคม 2566 โดยมีรูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกจังหวัดในเขตสุขภาพเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) 1 จังหวัด และเลือกโรงพยาบาลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4 แห่ง โดยมีการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ 21 คน และผู้รับบริการ 35 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 56 คน ข้อมูล<br />เชิงคุณภาพนำเสนอโดยวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น ข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า โดยส่วนใหญ่หน่วยบริการดำเนินการได้ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก ผู้รับบริการได้รับบริการตามมาตรฐานคลินิกเด็กสุขภาพดี ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อบริการในภาพรวม คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.52 พึงพอใจเรื่องขั้นตอนการให้บริการและค่าใช้จ่ายมากที่สุด พึงพอใจเรื่องมุมส่งเสริมสุขภาพ (พัฒนาการ/ฟัน/โภชนาการ) น้อยที่สุด และการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271129 รูปแบบการบูรณาการความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอปพลิเคชันของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในจังหวัดนครราชสีมา 2024-11-19T14:58:15+07:00 วิชุดา จันทะศิลป์ vichuda1105@gmail.com พรรณี บัญชรหัตถกิจ Wichuda.chan@vru.ac.th ทัศพร ชูศักดิ์ Wichuda.chan@vru.ac.th รัฐพล ศิลปรัศมี Wichuda.chan@vru.ac.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบูรณาการความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอปพลิเคชันของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) รูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอปพลิเคชัน 2) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง และ 3) การประเมินค่าระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงเปรียบเทียบ Paired t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) ดังนั้น ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มนี้ต่อไป</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270227 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 2024-07-24T20:44:36+07:00 ผาสุข สุตวัฒน์ nong_tai10@hotmail.com บังอร นาคฤทธิ์ phasuksut@gmail.com เพ็ญศรี ละออ phasuksut@gmail.com สารนิติ บุญประสพ phasuksut@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed methodology) ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Simultaneous qualitative/Quantitative design) เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง 5A เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 45 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติค่าทีอิสระ (Independent t-test)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการพยาบาลโดยใช้โปรแกรมฯ เพื่อชะลอไตเสื่อม มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภคอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย การใช้ยา และการจัดการความเครียด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt; 0.05 และพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่ลดลง ตัวชี้วัดทางคลินิก ค่าอัตราการกรองของไต eGFR ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาสามารถนำไปพัฒนาระบบบริการพยาบาลและการบริหารเชิงนโยบาย และขยายผลสู่หน่วยบริการเครือข่าย เพื่อติดตามกำกับให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีของผู้ป่วย</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/269813 ผลของรูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม” ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง บ้านจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 2024-08-12T15:29:18+07:00 เจษฎา กาฬมาตย์ Chetsada.kal@student.mahidol.edu ฟาดีนา ตาเดอิน fadeena.tad@student.mahidol.edu บัสรี ดือราแม Chetsada.kal@student.mahidol.edu กรกวรรษ ดารุนิกร Chetsada.kal@student.mahidol.edu ประเสริฐ ประสมรักษ์ Chetsada.kal@student.mahidol.edu ปิยะณัติ สอดศรี Chetsada.kal@student.mahidol.edu ปุณยนุช สุกุล Chetsada.kal@student.mahidol.edu สมพร สังขฤกษ์ Chetsada.kal@student.mahidol.edu สุนทร แก้วประเสริฐ Chetsada.kal@student.mahidol.edu <p>การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม” ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่บ้านจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยรูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม” แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล เป็นการให้ความรู้การบริโภคอาหาร ระดับครัวเรือน เป็นการสุ่มตรวจค่าโซเดียมในอาหาร และระดับชุมชนเป็นการรณรงค์โดยใช้โปสเตอร์ ใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการเก็บรวบรวมข้อมูล คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกัน ได้เท่ากับ 48 คน จึงทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติทดสอบ Paired Sample T-Test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตส่วนบน (SBP) ลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยความดันโลหิตส่วนล่าง (DBP) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ</p> <p>ดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้รูปแบบการจัดการชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนอย่างยั่งยืน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271463 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 2024-11-03T19:34:00+07:00 แก้วใจ มาลีลัย kaewjai@scphub.ac.th กิตติยาภรณ์ ภูแป้ง dt62_47@scphub.ac.th <p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 157 คน เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 24-31 ตุลาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมานที่ใช้หาความสัมพันธ์ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.32 อายุเฉลี่ย 19.00 ปี เรียนสาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ร้อยละ 29.94 ไม่เคยป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 ร้อยละ 57.96 แรงจูงใจในการป้องกันโรคระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.08,S.D. = 0.81) และพฤติกรรมการป้องกันโรคระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.36, S.D. = 0.78) แรงจูงใจในการป้องกันโรค ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงในการป้องกันโรค (<em>r</em> = 0.370) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค (<em>r</em> = 0.557) และความคาดหวังในการป้องกันโรค (<em>r</em> = 0.715) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.05</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270279 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธุ์ 2024-08-02T19:25:45+07:00 เนมิราช จิตรปรีดา nemirach2519@hotmail.com ธีรศักดิ์ พาจันทร์ teerasak@scphkk.ac.th สุทิน ชนะบุญ teerasak@scphkk.ac.th กฤษณ์ ขุนลึก teerasak@scphkk.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต<br />และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในจังหวัดกาฬสินธุ์ <br />กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 328 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ Multiple Logistic Regression เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต นำเสนอค่า Adjusted OR, 95%CI และ p-value</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่มีคะแนนคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.50 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพชีวิตดีได้แก่ ภาระการดูแลระดับน้อยถึงปานกลาง (Adjusted OR=3.11; 95% Cl: 1.72-5.60; p-value &lt; 0.001) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (Adjusted OR=8.77; 95% Cl: 3.20-24.04; p-value &lt; 0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความเข้าใจระดับเพียงพอและเป็นเลิศ (Adjusted OR=5.44; 95% Cl: 1.12-26.46; p-value &lt; 0.001)</p> <p>แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ระดับสูง (Adjusted OR=2.97; 95% Cl: 1.63-5.40;<br />p-value &lt; 0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสารระดับสูง (Adjusted OR=9.36; 95% Cl: 3.71-23.61; p-value &lt; 0.001)</p> <p>ดังนั้น ควรคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้พิการอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ รวมถึงการสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/269934 ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2024-08-18T15:07:29+07:00 อภิญญา จตุพิทักษ์กุลชัย 64010481008@msu.ac.th นงเยาว์ มีเทียน nongyaow.m@msu.ac.th <p>การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 74 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83, 0.83, 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.70) รายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคฯ มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = -0.33) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.55) รายด้าน พบว่าการรู้เท่าทันสื่อ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ</p> <p>ดังนั้น ผู้ให้บริการควรสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อฯ สำหรับกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อฯ ที่เหมาะสม</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271496 ผลของการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกัน โรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ 2024-11-08T10:08:08+07:00 นฤมล จันทร์สุข Nuntabhorn2609@gmail.com นันตพร ทองเต็ม nuntabhorn2609@gmail.com อัศวเดช สละอวยพร Nuntabhorn2609@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท จำนวน 46 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 23 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ paired t-test และ Independent t-test กำหนดความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) และหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) จากการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์มีประสิทธิผลในการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม และทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น จึงควรมีการส่งเสริมและนำไปใช้ต่อไป</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/270456 การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับผู้ปกครอง 2024-10-01T17:24:04+07:00 นิตยา ศรีมานนท์ nittaya.piak@gmail.com <p>พัฒนาการด้านภาษา พบว่า เป็นด้านหนึ่งที่เด็กปฐมวัยไทยมีปัญหามากที่สุด ผู้วิจัยจึงต้องการจะพัฒนาสื่อแอนิเมชันที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง ด้วยการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Spearman Rank Correlation Coefficient เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ประเมินความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ และประสิทธิผลของสื่อ ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีความรู้จากการใช้สื่อแอนิเมชันในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : EI) เท่ากับ 0.6627 แสดงว่า มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.27 ประสิทธิผลของสื่อต่อความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ปัจจัยเพศ (r<sub>s </sub>= 0.391) , ระดับการศึกษา (r<sub>s </sub>= 0.425) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้ (r<sub>s </sub>= 0.576) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ และการนำไปใช้ประโยชน์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะในการวิจัยควรสนับสนุนการใช้สื่อแอนิเมชันในการให้ความรู้ร่วมกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/269977 ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ 2024-07-30T20:17:21+07:00 จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ jungera2520@gmail.com ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ jungera2520@gmail.com ยุทธกร ทิพชาติ jungera2520@gmail.com กุลวดี ศรีเมือง jungera2520@gmail.com <p>การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ เจตคติและพฤติกรรม<br />การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ และ 3) ศึกษาแนวทางการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 361 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ด้วยวิธี KR-20 เท่ากับ 0.84 ส่วนแบบสอบถามเจตคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าครอนบาช เท่ากับ 0.74 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 13.03, S.D. = 2.2) คะแนนเฉลี่ยเจตคติ ในระดับปานกลาง ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 3.40, S.D. = 0.6) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 3.2, S.D. = 0.8) และ 2) ระดับความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ (r = -0.048) ส่วนเจตคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.49, p-value &lt; 0.01) และ 3) แนวทางการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับเพศศึกษา การให้ครอบครัว โรงเรียนและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์