วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ
<p>วารสารวิจัยเเละพัฒนาระบบสุขภาพเป็นวารสารที่ใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการและผลศึกษาวิจัย ทางด้านการพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุขเเละคุณภาพชีวิตนำไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน <br />บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และทางการเเพทย์ ทั้งในระดับประเทศเเละระดับนานาชาติ รวมไปถึงประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป</p> <p>ISSN 3027-6845 (Print)</p> <p>ISSN 3027-6853 (Online)</p> <p> </p> <p> </p>
Research and Development Health System Journal
th-TH
วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
3027-6845
<p><span style="font-weight: 400;">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span><span style="font-weight: 400;">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น</span></p>
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทของเขตพื้นที่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272217
<p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ของเขตพื้นที่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 163 คน โดยใช้แบบสอบถามดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75ใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้นหลายตัวแปร และการประมาณช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ของ Adjusted Odds ratio</p> <p>ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเภทมีรายได้ต่ำกว่า 1,500 บาท มีโอกาสเกิดอาการกำเริบซ้ำมากกว่าผู้ป่วยจิตเภทที่มีรายได้ 1,500 บาท ขึ้นไป เป็น 6.28 เท่า (AOR = 6.28, 95%CI = 1.55-25.48) ผู้ป่วยจิตเภท ที่ประกอบอาชีพมีโอกาสเกิดอาการกำเริบซ้ำน้อยกว่าผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เป็น 0.14 เท่า (AOR = 0.14, 95%C I= 0.03-0.63) ผู้ป่วยจิตเภทที่เคยใช้สารเสพติด จะป้องกันการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ร้อยละ 99 [(1-0.01)*100] (AOR = 0.01, 95%CI = 0.01-0.13) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรู้ที่ดี จะป้องกันการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ร้อยละ 97 [(1-0.03)*100] (AOR = 0.03, 95%CI = 0.01-0.23) และผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่ดี จะป้องกันการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ร้อยละ 79 [(1-0.21)*100] (AOR = 0.21, 95%CI=0.06-0.68) ตัวแปรอื่นข้อมูลไม่เพียงพอที่ระบุความสัมพันธ์</p>
วัลลาลักษณ์ พลซื่อ
ชวัลลักษณ์ ศิริแว่น
อนุสิทธิ์ ศรีพันธ์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
110
121
-
ผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน เพื่อส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์ อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271254
<p>การวิจัยแบบกึ่งทดลอง จำนวน 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน เพื่อส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง, แบบสอบถาม จำนวน 4 ส่วน และผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอนุมานด้วย Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.67 อายุเฉลี่ย 58.63 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน เฉลี่ย 7.80 ปี ภายหลังการทดลอง พบว่า (1) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.13 คะแนน (95%CI = 0.88-3.39, p-value = 0.001), (2) การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวาน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.24 คะแนน (95%CI = 0.12-0.37, <br />p-value < 0.001), (3) พฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวาน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.31 คะแนน (95%CI = 0.20-0.43, p-value < 0.001) และ (4) ระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย ลดลง 7.30 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (95%CI = 1.86-12.74, p-value = 0.009)</p> <p>โดยสรุป ผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน สามารถส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ได้ ควรประยุกต์ใช้ในกลุ่มเสี่ยงพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทคล้ายเคลึงกัน</p>
รัชนีกร คำนวนอินทร์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
135
148
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/273643
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 224 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และ Fisher’s exact test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.60 มีอายุเฉลี่ย 61.40 ปี และมีระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 6.18 ปี พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ปัจจัยเอื้อด้านปัจจัยสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสริมด้านการได้รับการสนับสนุนจากสังคม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานรวมถึงการจัดการดูแลสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม</p>
ณภัทร บูรณะพลานามัย
รัชนี สร้างนานอก
อมินตรา ภาระไพร
ธนสิทธิ์ ศรีคำเวียง
วิชุดา จันทะศิลป์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-03
2025-05-03
18 1
205
217
-
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยถอดท่อช่วยหายใจหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272225
<p>การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ พัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย<br />ถอดท่อช่วยหายใจ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก 65 คน และพยาบาลวิชาชีพ 19 คน เครื่องมือ ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยถอดท่อช่วยหายใจ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาอุปสรรคในการการพยาบาล แบบสังเกตการพยาบาล แบบประเมินความยาก-ง่าย ของการนำไปใช้ประโยชน์ และความเป็นไปได้ แบบประเมินความพึงพอใจและแบบบันทึกผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยถอดท่อช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพยาบาลแบบเดิม ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน หลังพัฒนาได้รูปแบบ<br />การพยาบาลเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนถอดท่อ ระหว่างถอดท่อช่วยหายใจและหลังถอดท่อช่วยหายใจ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ความสำเร็จการถอดท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 96.92 ด้านพยาบาล ปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาล ร้อยละ 100 ความยาก-ง่าย โดยรวมอยู่ในระดับง่ายมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.75, S.D.= 0.24) การนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 3.68, S.D.= 0.31) และความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.82, S.D.= 0.35)</p> <p>ข้อเสนอแนะ: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยถอดท่อช่วยหายใจ สามารถไปใช้ในหน่วยงานที่มีผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจได้ โดยอาจปรับเปลี่ยนตามบริบท</p>
ผกากรอง พันธุ์ไพโรจน์
ศักรินทร์ สุวรรณเวหา
นงนุช เคี่ยมการ
วชิราภรณ์ หงส์เจริญกุล
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-14
2025-05-14
18 1
232
245
-
ผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคเชื้อดื้อยาโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271525
<p>การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคดื้อยาโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย<br />วัณโรคดื้อยาในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลยางตลาด ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงระหว่างปีงบประมาณ 2557-2566 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลยางตลาดร่วมกับโปรแกรมของกองวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบฟิชเชอร์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87.50 ช่วงอายุที่พบเชื้อมากที่สุดคือ 46-60 ปี ร้อยละ 40.00 มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.50 กก./ม.<sup>2</sup> ร้อยละ 50.00 มีอัตรารักษาสำเร็จร้อยละ 65.00 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคดื้อยาคือ ช่วงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาที่มีอายุน้อยมีผลต่อการรักษาวัณโรคสำเร็จ</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรมีการดำเนินงานมาตรการป้องกันและควบคุมวัณโรคดื้อยาอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพและชุมชน รวมถึงแนวทางการติดตามการรักษาด้วยการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล</p>
กรรณิการ์ สุระเสียง
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
16
28
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/273742
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ประชากร คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าดินแดง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ปัจจัยด้านการรับรู้ ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคเบาหวาน ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคเบาหวาน ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)</p>
จันทกานต์ จันทร์อินทร์
ณัฐวรรณ วงษ์ศิริ
ขนิษฐา นาคเกลี้ยง
ทัศพร ชูศักดิ์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
177
190
-
ผลการคัดกรองการได้ยินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางการได้ยินของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272280
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการคัดกรองการได้ยินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางการได้ยินของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ <br />โดยทำการศึกษาแบบย้อนหลังในทารกแรกเกิดมีชีพช่วง 1 สิงหาคม 2565-30 กันยายน 2567 จำนวน 1,744 คน บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองการได้ยิน Otoacoustic Emission (OAE) และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Chi-square หรือ Fisher’s Exact test และ Student t-test โดยค่า p-value < 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผิดปกติทางการได้ยินครั้งที่ 1 (OAE1) 124 คน (7.1%) และจากการติดตามกลุ่มเสี่ยงให้มาตรวจ OAE ครั้งที่ 2 (OAE2) พบว่า ผิดปกติ จำนวน 28 คน (1.6%) การศึกษาครั้งนี้ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความผิดปกติทางการได้ยิน</p> <p>ผลการคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ OAE ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ยังพบความผิดปกติทางการได้ยินในอัตราที่สูง ดังนั้น จึงควรตระหนักและ<br />ให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดทุกราย และควรมีการติดตามพัฒนาการโดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษาของกลุ่มที่พบความผิดปกติจากการคัดกรองทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวไปในระยะยาวต่อไป</p>
ปรียาภัทร์ รัตน์วิเศษ
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
29
41
-
การพัฒนารูปแบบการให้บริการสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ใน ARV คลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271546
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการให้บริการสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล เพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการ และบุคลากรทางการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อความรู้แบบประเมินความรู้ ประเมินความพร้อมสำหรับบุคลากร สังเกตการณ์การปฏิบัติ <br />ประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินการตีตรา สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย ระยะที่ 1 การมีรูปแบบช่วยให้บุคลากรเกิดความรู้ ความเข้าใจ เคารพสิทธิให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระยะที่ 2 (1) คะแนนความรู้เรื่องเอชไอวีของบุคลากรทางการพยาบาลหลังสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) คะแนนการปฏิบัติสำหรับบุคลากรพยาบาลการให้บริการหลังเข้าร่วมพัฒนารูปแบบสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) บุคลากรทางการพยาบาลลดการตีตราต่อผู้รับบริการอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 85.97</p> <p>จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การพัฒนารูปแบบนี้ทำให้บุคลากรมีทัศนคติเชิงบวก มีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสม ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สามารถนำไปใช้กับทุกสหวิชาชีพ และมีข้อเสนอแนะให้สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี</p>
วัชรินทร์ วิญญกูล
ทมาภรณ์ สุขสวรรค์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
95
109
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/274280
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายวิธีสำรวจแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีกิจกรรมทางกาย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้และแรงจูงใจกับการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จำนวน 401 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.12 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษาและอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกาย อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการมีกิจกรรมทางกาย (r = -0.15) ความรอบรู้เรื่องการมีกิจกรรมทางกายและแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (r = 0.57 และ 0.38 ตามลำดับ) และ 3) ความรอบรู้เรื่องการมีกิจกรรมทางกายและแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถอธิบายความผันแปร ได้ร้อยละ 26 (Adjusted R<sup>2</sup> = 0.26)</p> <p>ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมความรอบรู้และสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีต่อเนื่อง</p>
ณฐา เมธาบุษยาธร
ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์
ขวัญเรือน ชัยนันท์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-09
2025-05-09
18 1
218
231
-
ผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วนของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272394
<p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ศึกษาช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5 กิจกรรม ใช้เวลา 12 สัปดาห์ ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ และขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม และ<br />กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนได้</p>
อาริตา สมุห์นวล
ทัศพร ชูศักดิ์
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
149
162
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข: กรณีศึกษากลุ่มเขตกรุงเทพใต้
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271893
<p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของแดเนียล (2010) จำนวน 371 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำ ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยเอื้อได้แก่ การอบรมด้านสาธารณสุข การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ และปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ มีความสัมพันธ์ทางบวก ( r = 0.318, 0.452, 0.207, 0.123, และ 0.408 ตามลำดับ) การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ และการเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ได้ร้อยละ 28.2 (R<sup>2</sup> = 0.282, p-value < 0.001)</p>
วิชุดา เตชะลือ
สมโภช รติโอฬาร
วรางคณา จันทร์คง
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
1
15
-
พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู เขตสุขภาพที่ 10
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272475
<p>การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดู เด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู เขตสุขภาพที่ 10 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทางสังคมประชากรของผู้เลี้ยงดูกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูเด็ก 460 คน <br />โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 91.7 อายุเฉลี่ย 44.9 ปี อายุน้อยที่สุด 15 ปี อายุมากที่สุด 80 ปี พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 10 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดู มี 2 ปัจจัย คือ 1) ระดับการศึกษาของผู้เลี้ยงดู (AOR = 2.1; 95%CI: 1.16 to 3.64; p-value = 0.013) และ 2) การอาศัยอยู่กับบิดามารดาของเด็ก (AOR = 1.6; 95%CI: 1.19 to 2.99; p-value = 0.025) ดังนั้น การสร้างเสริมผู้เลี้ยงดูมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสมต้องส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน เด็กได้อยู่กับบิดามารดา และส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เลี้ยงดูมีระดับการศึกษาสูงที่สุด นำความรู้มาเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสร้างพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมแก่ผู้เลี้ยงดูได้</p>
สุพัตรา บุญเจียม
นิตยา พรรณาภพ
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
81
94
-
การพัฒนาการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางด้วยกระบวนการทางกายภาพบำบัด
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271904
<p>งานวิจัยเชิงปฏิบัติการชิ้นนี้ ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลเชียงยืน จำนวน 31 ราย คำนวณโดยใช้ G-power แทนค่าตัวแปรโดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่สอดคล้องกัน <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง และศึกษาผลของการฟื้นฟูผู้ป่วย<br />ด้วยกระบวนการทางกายภาพบำบัดแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้รับการฟื้นฟูด้วยโปรแกรม<br />ทางกายภาพบำบัดแบบเฉพาะเจาะจง และได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านเป็นเวลา 6 เดือน ทำการประเมินโดยใช้แบบประเมินคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test</p> <p>ผลพบว่า คะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัด มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p-value = 0.00 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด มีส่วนช่วยให้คะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของกลุ่มตัวอย่างดีขึ้น</p> <p>ข้อเสนอแนะ สามารถนำโปรแกรมกายภาพบำบัด และระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้</p>
ณัชชวกร เกตุสิริ
ภัสราภรณ์ จวบบุญ
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
68
80
-
ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271057
<p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐบาลจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 181 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2567 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ(multiple linear regression)</p> <p>ผลการวิจัย ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (BI) หลังการเจ็บป่วย 1 ปี อยู่ในช่วง ≥ 12 คะแนน โดยร้อยละ 67.4 มีค่าเฉลี่ย 12.14 คะแนน ได้รับการสนับสนุนทางสังคมและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้านอยู่ในระดับดี มีความรู้ในการดูแลตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ระดับปานกลาง ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = 0.215, p-value < 0.01) ระดับต่ำ ได้แก่ ความรู้ในการดูแลตนเอง (r = 0.174,p-value < 0.05) และระยะเวลาที่ป่วย (r = 0.159, p-value < 0.05)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม ผ่านเครือข่ายชุมชนและครอบครัว พัฒนา โปรแกรมให้ความรู้ ด้านการดูแลตนเอง ออกแบบ แนวทางฟื้นฟูระยะยาว ตามช่วงเวลาการป่วย และศึกษาปัจจัยเพิ่มเติมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p>
นฤมล พรหมบุญ
ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม
นิภา มหารัชพงศ์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-03
2025-05-03
18 1
191
204
-
ความรู้ ทัศนคติ เกี่ยวกับพืชกระท่อมในประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272482
<p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อม และเพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อมในประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 18-59 ปี ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบไปด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาสูงสุด และอาชีพ ดำเนินการวิจัยเป็นระยะเวลา 2 เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม 2567) กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มจำนวน 231 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test และ Kruskal Wallis Test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อมอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 13.29 , S.D. = 2.21) และ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 2.73, S.D. = 0.28) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อมกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อมกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาสูงสุด และอาชีพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (H = 11.851, p-value = 0.008 , H = 13.323, p-value = 0.010 และ H = 13.166, p-value = 0.022) ตามลำดับ</p>
นิลุบล ปานะบุตร
เพ็ญนภา วงศ์ใส
อรพรรณ ลาลุน
วรัญญู อ่อนสี
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
163
176
-
การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตชนบท อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271955
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตชนบท ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ มี 4 ขั้นตอน 1) ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน 2) กำหนดเครื่องมือวิจัย 3) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามผู้สูงอายุ จำนวน 319 คน 4) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ<br />การประชุมระดมสมองสนทนากลุ่ม จำนวน 26 คน ได้แก่ ผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (CM) 1 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) 4 คน นักบริบาลผู้สูงอายุ 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 20 คน คัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการแจกแจงความถี่ ร้อยละ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดสภาพแวดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ปรับพื้นทางเดิน ให้เรียบ ไม่ขัดมัน ไร้สิ่งกีดขวาง 2) ปรับสวิตซ์เปิด ปิดไฟ ให้ใช้งานได้สะดวก ปลอดภัย ให้แสงสว่างเพียงพอ 3) ห้องครัว จัดอุปกรณ์ เป็นหมวดหมู่ มีโต๊ะ เก้าอี้ นั่งรับประทานอาหาร 4) ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นคอนกรีตไม่ขัดมัน 5) สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีช่องระบายอากาศ ถ่ายเทได้ดี 6) สภาพแวดล้อมภายนอกบ้านพื้นทางเดินเป็นระดับเดียวกัน</p> <p>ดังนั้น ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ให้การดูแล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุทั้งภายในบ้าน และนอกบ้านให้ปลอดภัย ป้องกันการพลัดตกหกล้ม</p>
ชาตรี เชิดนาม
สุรีรัตน์ สืบสันต์
วิภาดา พนากอบกิจ
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
55
67
-
การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนอาหารปลอดภัย อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษาการลดสารเคมีตกค้าง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271209
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนอาหารปลอดภัย อำเภอฆ้องชัย เมืองอาหารปลอดภัย กรณีศึกษาการสารเคมีตกค้าง คัดเลือกจากกลุ่มตัวแทนคณะกรรมการ ภาคีเครือข่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบคำถามสนทนากลุ่ม ระยะเวลาการศึกษา 6 เดือน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และ สถิติการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า คณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากภาคีเครือข่าย อายุเฉลี่ย 53.3 ปี ประสบการณ์ทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต เฉลี่ย 3.13 ปี ผลการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พบว่า (1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา และกำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบอาหารปลอดภัย (2) สรุปสถานการณ์และพฤติกรรมเสี่ยง และการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (3) การติดตามประเมินผลในหมู่บ้านต้นแบบ สรุปผลและจัดมหกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อมอบรางวัลให้หมู่บ้าน พชอ. ต้นแบบ และ (4) ประเมินผลการดำเนินการด้วย TOWS analysis และการนำเสนอการเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงาน ก่อน-หลัง พัฒนาฯ ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในการเข้าร่วมการประเมินอาหารปลอดภัย ภายใต้การดำเนินงานของ พชอ.ภายใต้คำจัดความของคำว่า K-FRAMES คือ ภาพที่อยากให้ปรากฏเพื่อชาวฆ้องชัย ในการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป</p>
มยุรี สุวรรณโคตร
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
122
134
-
การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายส่วนล่างในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการล้มในโรงพยาบาลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/273202
<p>การวิจัยและพัฒนา 1)เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการล้ม 2) เพื่อดูประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยใช้แบบทดสอบความสี่ยงการล้ม Time up and go test-TUGT และความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา five times sit to stand -FTSST กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงล้ม 44 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมเป็นผู้สูงอายุเขาแก้วและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเป็นผู้สูงอายุโรงพยาบาลสรรพยา การดำเนินงานวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรม ระยะที่ 3 การสรุปผลและประเมินผลโดยใช้ TUGT และ FTSST ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ Paired-T-test และ Independent T-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า ผู้สูงอายุอำเภอสรรพยามีอุบัติการณ์ล้มเพิ่มขึ้น และยังไม่มีโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมการออกกำลังกาย ระยะที่ 3 พบว่า กลุ่มควบคุมมีค่า TUGT และ FTSST ก่อนและหลังไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value = 0.05 แต่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ระยะเวลา TUGT และ FTSST ลดลงแตกต่างจากก่อนการได้รับโปรแกรมและแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.01.</p> <p>งานวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อยอดพัฒนาเรื่องการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุได้</p>
อโณทัย สุมากรณ์
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-01
2025-05-01
18 1
42
54