วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ <p>วารสารวิจัยเเละพัฒนาระบบสุขภาพเป็นวารสารที่ใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการและผลศึกษาวิจัย ทางด้านการพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุขเเละคุณภาพชีวิตนำไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน <br />บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และทางการเเพทย์ ทั้งในระดับประเทศเเละระดับนานาชาติ รวมไปถึงประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป</p> <p>ISSN 3027-6845 (Print)</p> <p>ISSN 3027-6853 (Online)</p> <p> </p> <p> </p> th-TH <p><span style="font-weight: 400;">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span><span style="font-weight: 400;">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น</span></p> supattrasamung@gmail.com (ดร.สุภัทรา สามัง) rdjournalhealth@gmail.com (นางสาวเมทินี เมทนีดล) Tue, 11 Jun 2024 11:59:58 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าที่จำหน่ายในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเลย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/266246 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าที่จำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 30 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า และตรวจสอบ<br />การปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบสารไฮโดรควิโนน, สารปรอท, กรดเรติโนอิก, และสเตียรอยด์เบื้องต้น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า เครื่องสำหรับผิวหน้ามีการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย ร้อยละ 56.67 โดยสารที่พบการปนเปื้อนมากที่สุด คือ สเตียรอยด์ (ร้อยละ 36.67) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ สีเครื่องสำอาง (p-value = 0.004) และการกล่าวอ้างสรรพคุณสามารถลดฝ้าและกระ (p-value = 0.034) มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนไฮโดรควิโนน การไม่มีข้อห้ามใช้หรือข้อควรระวัง (p-value = 0.037) มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนปรอท การไม่มีเลขที่จดแจ้ง (p-value = 0.023) การไม่มีวัน/เดือน/ปีที่ผลิต (p-value = 0.023) มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนกรดเรทิโนอิก การไม่มีวัน/เดือน/ปีที่หมดอายุ มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนกรดเรทิโนอิก (p-value = 0.042) และการปนเปื้อนสเตียรอยด์ (p-value = 0.002)</p> <p>ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคได้พิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องสำอางที่มีการปนเปื้อนสารห้ามใช้</p> บุญเลี้ยง สุพิมพ์, ปนัดดา มหาสิงห์, มนต์นภา สุขสบาย, ธิดารัตน์ ศรีกลับ, ปิยะพงษ์ ชุมศรี, อรทัย ปานเพชร Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/266246 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267885 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาบริบทและบทเรียนกลยุทธ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหารระดับจังหวัดและผู้ปฏิบัติในระดับอำเภอ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการ การสัมภาษณ์เชิงลึกและ<br />การสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ใช้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกลไกสั่งการและออกคำสั่ง ถึงนายอำเภอทุกอำเภอ เพื่อดำเนินการป้องกันควบคุมโรค โดยใช้กลยุทธ์ เชิงรุก เชิงรับ กลยุทธ์การมีส่วนร่วม กลยุทธ์ 4 ทหารเสือ ร่วมกับมาตรการทางสาธารณสุข คือ การเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย การล้างมือและวัดอุณหภูมิ (DMHT) มาตรการทางสังคมเน้นการมีส่วนร่วมในการเว้นระยะห่าง การปิดหรือควบคุมสถานที่เสี่ยงและมาตรการทางการแพทย์ รวมถึง<br />การจัดเตรียมเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อภาวะวิกฤติ การปรับการรักษาทางการแพทย์วิถีใหม่ ควบคู่ไปกับแผนการสื่อสาร แผนดูแลสุขภาพจิต แผนจัดการวัคซีน และแผนประคองกิจการ</p> <p>ข้อเสนอแนะควรนำกลยุทธ์การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน การสั่งการ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ไปพัฒนาในเรื่องการเตรียมความพร้อมสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกโรคทุกภัยในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมถึงโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต</p> นงนุช โนนศรีชัย, พิทยา ศรีเมือง, ลำพึง วอนอก Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267885 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในผู้เลี้ยงดูเด็ก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/266463 <p>วิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะโภชนาการ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย <br />กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เลี้ยงดูเด็กเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลหนองกุงศรี จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า แม่เป็นผู้เลี้ยงดู ร้อยละ 51.5 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยรวมระดับพอใช้ ร้อยละ 46.7 มีความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลระดับสูง ร้อยละ 52.7 ความรอบรู้ด้านการตัดสินใจในระดับต่ำ ร้อยละ 46.7 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเด็ก ระดับการศึกษา อาชีพ ความพอเพียงของรายได้ ลักษณะเขตที่อยู่อาศัย และรายได้ของครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขควรมีการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย รวมถึงพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัยมากขึ้น</p> คำสงค์ ชินมาตร Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/266463 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของกิจกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ในคลินิกหมอครอบครัวบ้านหนองเม็ก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268023 <p>การพลัดตกหกล้มเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือกระทั่งรุนแรงถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ดำเนินการศึกษาแบบสองกลุ่ม วัดผลสองครั้ง ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการหกล้มประเมินด้วย Thai FRAT ได้ 4 คะแนนขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คน ใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มควบคุม 23 คน ที่ใช้เฉพาะกิจกรรมการป้องกันการหกล้มแบบปกติ ดำเนินการศึกษาวิจัยทั้งหมด 12 สัปดาห์ จากนั้นเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการหกล้ม และ Time up and go test ระหว่างกลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการทดลองหลังจบการทดลอง 6 เดือน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งในการหกล้ม และ Time up and go test ในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = 0.527; 95% CI = 0.112-0.941; p-value = 0.015 และ mean difference = 2.458; 95% CI = 0.093-4.823; p-value = 0.042) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมและนำไปใช้ต่อไป</p> พิณทิพ ธีรธนบดี Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268023 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงด้วยภาษาท้องถิ่นต่อการรับรู้และการจดจำอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในพื้นที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267111 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงด้วยภาษาท้องถิ่นต่อการรับรู้และการจดจำอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสื่อสารภาษาอีสาน และภาษาภูไท กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือสำหรับผู้พัฒนารูปแบบและสำหรับกลุ่มเสี่ยง มีค่าความเชื่อมั่นของรูปแบบการสื่อสารภาษาอีสาน และภาษาภูไท เท่ากับ 0.92 และ 0.94 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบการรับรู้และการจดจำอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสื่อสารอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองภาษาท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) โปสเตอร์อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองภาษาท้องถิ่นประกอบรูปภาพแสดงอาการ 2) ติดไว้ที่บ้านของกลุ่มเสี่ยง และสื่อสารผ่านทาง อสม. ภายหลังได้รับรูปแบบการสื่อสารอาการเตือนในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 40-60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง ทำให้ทุกคนมีการรับรู้อาการเตือนระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อาการเตือนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสื่อที่พัฒนาขึ้นทำให้กลุ่มเสี่ยงสามารถจดจำอาการเตือนครบทั้งหมด 5 คำ ร้อยละ 66.7 ดังนั้น จึงควรนำวิธีการพัฒนารูปแบบการสื่อสาร<br />ความเสี่ยงไปปรับใช้ในการสื่อสารความเสี่ยงโรคที่เป็นปัญหาทางสุขภาพสำคัญอื่นๆ</p> คณิตภรณ์ อุทุมพร, ประเสริฐ ประสมรักษ์, ญาณวรรณ ชมนา, ยลฤดี ด้วงแป้น, สายไหม อรอินทร์ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267111 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสร้างรูปแบบแอโรบิกรำไทยร่วมกับตารางเก้าช่องสำหรับผู้สูงอายุ : โดยใช้เดลฟาย เทคนิค https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268068 <p>การรำไทยเป็นทางเลือกหนึ่งของกิจกรรมการกระตุ้นกระบวนการเคลื่อนไหวและพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อสร้างรูปแบบแอโรบิกรำไทยร่วมกับตารางเก้าช่องต่อสุขสมรรถนะและพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุ ด้วยวิธีเดลฟาย เทคนิค (Delphi technique) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นสื่อวีดีโอตัวอย่างพร้อมกับแบบสอบถามในรูปแบบ Google form ด้วยข้อคำถามปลายเปิดในรอบที่ 1 ต่อมาในรอบที่ 2 และ 3ใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน (Median; Mdn) ฐานนิยม (Mode; Mo) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range; IQR) เพื่อหาความสอดคล้องกันของข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ข้อคำถามทั้ง 3 องค์ประกอบ อยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะของการออกกำลังกายด้วยแอโรบิกรำไทยร่วมกับตารางเก้าช่อง (Mean = 4.88, S.D. = 0.33, Mdn = 4, Mo = 5, IQR = 1) องค์ประกอบที่ 2 ขั้นตอนการออกกำลังกาย (Mean = 4.76, S.D. = 0.44, Mdn = 5, IQR = 0) และองค์ประกอบที่ 3การใช้เพลงประกอบและจังหวะดนตรีในการออกกำลังกาย (Mean = 4.82, S.D. = 0.39, Mdn = 4,Mo = 5, IQR = 1) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการออกกำลังกายด้วยแอโรบิกร่วมกับตารางเก้าช่องเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายต้นแบบในโรงเรียนผู้สูงอายุได้</p> ยรรยงค์ พานเพ็ง, สังคม พรหมศิริ, จตุรงค์ สว่างวงษ์, ปรียาวัลย์ ป้องกัน Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268068 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267301 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 371 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม 2566 ด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล ปัจจัยด้านร่างกาย ปัจจัยด้านจิตใจและอารมณ์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพการนอนหลับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ<br />ไคสแควส์ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับในระดับดี ร้อยละ 38.30 และมีคุณภาพการนอนหลับในระดับไม่ดี ร้อยละ 61.70 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจและอารมณ์(ความเครียด) ปัจจัยด้านร่างกาย และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 21.20 (R<sup>2</sup>= 0.212, p-value&lt; 0.05)</p> <p>ผลการวิจัยนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาวิธีป้องกันหรือลดปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีและ<br />มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป</p> อริสรา ล้ำจุมจัง, อินทุอร อินทุอร, วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ, ชวลิต กิจพิบูลย์, พรอนันต์ กลิ่นสุหร่าย, ณัฐพร มีสุข Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267301 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรม ช่วยในการวางแผนใส่รากฟันเทียมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรมช่วยในการวางแผนใส่รากฟันเทียม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268151 <p>ในปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมเป็นทางเลือกที่ดีในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป การรักษาทางทันตกรรมรากเทียมต้องมีการวางแผนที่ดีเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในระยะยาว การฝังรากฟันเทียมแบบดั้งเดิมด้วยมือเปล่า หากทันตแพทย์ไม่มีความชำนาญอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อันตรายต่ออวัยวะสำคัญ ตำแหน่งของรากฟันเทียม และตำแหน่งของครอบฟันที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดแรงกระทำต่อรากฟันเทียมมากเกินไปจนทำให้เกิดความเสียหายต่อรากฟันเทียม และสิ่งประดิษฐ์บนรากฟันเทียมได้ ดังนั้น การวางแผนการปลูกฝังรากฟันเทียมโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรม และภาพดิจิทัลจากการถ่ายภาพพื้นผิวในช่องปาก จะช่วยวางแผนจำลองตำแหน่งของการฝังรากฟันเทียม เลือกขนาดรากฟันเทียม รูปร่างและตำแหน่งของครอบฟัน เลือกขนาดรากฟันเทียม และออกแบบตัวนำเจาะศัลยกรรมดิจิทัล บทความนี้ รายงานการรักษาผู้ป่วยที่รับบริการฝังรากฟันเทียม โดยการวางแผนปลูกฝังรากฟันเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และใช้ตัวนำเจาะศัลยกรรมดิจิทัลในขั้นตอนการผ่าตัดกรอเจาะและขยายกระดูก และการใส่ครอบฟันเซรามิกที่ยึดด้วยสกรูจากเทคโนโลยีแคดแคม ภายหลังการรักษา ผู้ป่วยสามารถใช้ครอบฟันบนรากฟันเทียมได้ดี ไม่พบการอักเสบรอบรากเทียมและอาการโยก และให้คำแนะนำผู้ป่วยในการทำความสะอาดบริเวณรากฟันเทียม</p> กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/268151 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267412 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 43 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามในผู้ป่วยที่เข้ารักษาแบบผู้ป่วยในทุกราย ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำขณะนอนโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ภาวะสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Paired sample t test)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.80 อายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60.50 ภายหลังได้รับแนวปฏิบัติฯ พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก2.12±0.20 เป็น 2.61±0.14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01โดยมีระดับ b การรับรู้อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจาก 200.58±94.208 mg/dl เป็น 151.07±65.30 mg/dl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีค่าเฉลี่ยวันนอนลดลง </p> <p>ดังนั้น ควรนำแนวปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ขยายผลในระดับจังหวัด</p> ชูจิตร ชมภูพรรณ, สุมาลัย สีลาดหา, กรวิภา องอาจ, ประเสริฐ ประสมรักษ์, กนกฉัตร สมชัย Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267412 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใหญ่ อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267437 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใหญ่ อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ แลสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 62.1 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60-69 ปี <br />ที่ช่วยเหลือตนเองและสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองทั้งหมด ร้อยละ 90.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ (r = -0.235,p-value = 0.022), รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (r = 0.157, p-value = 0.018), โรคประจำตัว(r = -0.135,p-value = 0.034) ระยะเวลาของการเจ็บป่วย (r = -0.274, p-value = 0.045) การสนับสนุนทางสังคม (r = 0.574, p-value = 0.000)</p> <p>ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ<br />โดยการนำเอาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงติดบ้าน ติดเตียง ลดปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนของโรคอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> ฐิรพร ไพศาล, สุพัชชา ศรีนา, สุพัตรา บุตราช, ศึกษา อุ่นเจริญ, มนฑิญา กงลา Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267437 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุ โดยวิถีธรรมชาติชุมชนท้องถิ่น ตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267474 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุ โดยวิถีธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นเพื่อคุณภาพชีวิต ตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน คัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงแบบตรงตามประเด็นของการวิจัย ให้ข้อมูลแบบตรงตามประเด็นการวิจัย เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวทาง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย 1) ปัญหาสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุมีสาเหตุจากพฤติกรรมและความเชื่อที่ถ่ายทอดภายในครอบครัว การรักษาความสมดุลของร่างกายกับสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการทำให้มีสุขภาพดีได้ 2) ข้อมูลและประโยชน์ของอาหารประจำถิ่นช่วยให้มีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลอาหารที่มีประโยชน์ในพื้นที่ เช่น ผักปลูกเอง สัตว์ที่เลี้ยงเป็นอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพแท้จริง 3) ความรู้สึกเมื่อเกิดผลกระทบด้านโภชนาการต่อร่างกาย การเจ็บป่วยทางกายเป็นผลต่อเนื่องสู่ปัญหาสุขภาพจิต การเข้าใจธรรมชาติของโรคจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคที่เป็นอยู่ลดลงได้ 4) การแก้ไขปัญหาสุขภาพด้านโภชนาการ เป็นกลไกของการสร้างพฤติกรรมสุขภาพร่วมกันโดยเน้นการช่วยเหลือโดยผู้สูงอายุที่มีความรู้ด้านสุขภาพถ่ายทอดหลักและวิธีการดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชุมชนเป็นหลัก</p> กริช เรืองไชย, นัชชา ยันติ, อภิญญา อุตระชัย Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/267474 Tue, 11 Jun 2024 00:00:00 +0700