TY - JOUR AU - พันธุ์พานิช, พรสิทธิ์ AU - ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์, ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์ AU - ลีศรี, ธนกมณ PY - 2022/03/20 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่หน่วยบริการปฐมภูมิ JF - วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม JA - RHPC9J VL - 16 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/255982 SP - 251-264 AB - <p>ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นภาวะที่สามารถพบได้ในประชากรทั่วไป และมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ส่วนมากจะไม่มีอาการ แต่ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบหัวใจ<br />และหลอดเลือด และโรคไตเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาในประชากรทั่วไป ข้อมูลการศึกษายังมีจำกัดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 172 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างกรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูลลักษณะทั่วไปของประชากร และข้อมูลด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ<br />เชิงวิเคราะห์ได้แก่ Independent t-test, Chi-square test, Fisher exact test โดยใช้ Binary logistic regression</p><p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ จากปัจจัยข้อมูลทั่วไป คือ การรับประทานอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็ด ไก่ ชะอม กระถิน ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ และน้ำซุป เป็นประจำ (OR=3.37, 95% CI=1.54-7.38) และจากปัจจัยข้อมูลทางคลินิกคือ โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (OR=4.46, 95% CI=1.46-13.60) และระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg (OR=11.48, 95% CI=3.77-34.94) การเข้าใจและตระหนักในปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้หน่วยบริการระดับ<br />ปฐมภูมิมีการตรวจติดตามระดับกรดยูริกในเลือดแก่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอและสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนให้ความรู้ คำแนะนำ การป้องกันแก่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงให้มีการปฏิบัติตัว และการดูแลตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้นไป</p> ER -