TY - JOUR AU - กุลตังวัฒนา, พิมพาภรณ์ PY - 2022/03/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู JF - วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม JA - RHPC9J VL - 16 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/256079 SP - 380-390 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์การศึกษา </strong>เพื่อประเมินสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก<br />ของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู</p><p><strong>วิธีการศึกษา </strong>การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ ที่คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–31 ธันวาคม 2564 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก โดยใช้แบบประเมินผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน (Oral Impacts on Daily Performance : ODIP) แล้วทำการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก  <strong>  </strong></p><p><strong>ผลการศึกษา </strong>ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ 245 ราย เป็นเพศชาย 132 ราย (ร้อยละ 53.9) ส่วนใหญ่มีอายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 48.9) พบอาการสมองเสื่อมมากที่สุด 132 ราย (ร้อยละ 53.9) มีร่องปริทันต์ลึกมากกว่า 4 มิลลิเมตร 138 ราย (ร้อยละ 56.3) จำนวนฟันที่เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ 132 ราย (ร้อยละ 53.9) และจำนวนคู่สบฟันหลังน้อยกว่า 4 คู่ 133 ราย (ร้อยละ 54.3) คะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน (ODIP) ความถี่เฉลี่ยมากสุด คือ ด้านการกิน 3.9 คะแนน ความรุนแรงเฉลี่ยมากสุด คือด้านการกิน 3.4 คะแนน คะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 75 คะแนน (เฉลี่ย 20.54 คะแนน) การกระจายความถี่ของคะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน ส่วนมากอยู่ที่ 25-50 เปอร์เช็นต์ไทล์ (12.5–17.5 คะแนน) 66 ราย (ร้อยละ 27.1)พบกลุ่มอาการสูงอายุและจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์กับคะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน</p><p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ มีสุขภาพช่องปากที่ส่งผลกระทบสุขภาพ<br />ต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก</p> ER -