https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/issue/feed วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2024-06-06T09:49:33+07:00 ดร.สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี DoctorSinsakchon@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารศูนย์อนามัยที่ 9</strong> เป็นวารสารวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่อยู่ใน<strong>ฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index - TCI) กลุ่มที่ 2 (TCI Tier 2) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2567</strong></p> <p>รับบทความวิจัย (Research Articles) บทความวิชาการหรือบทความทบทวน (Review or Academic Articles) และบทความพิเศษ (Special Articles) โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการทุกบทความ ต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและประเด็นทางวิชาการของบทความ สำหรับบทความพิเศษ เป็นรูปแบบการเชิญของวารสารและไม่ต้องรับการประเมิน</p> <p><strong>วารสารใช้ระบบการประเมินบทความแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-Blinded Reviews)</strong> โดย<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer-Reviewers) จากหลากหลายสถาบัน <span style="text-decoration: underline;">อย่างน้อย 2-3 ท่านต่อบทความ</span></strong> โดยผู้ส่งบทความระบุจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องการให้ประเมิน (2 หรือ 3 ท่าน) ในหนังสือนำส่งบทความเพื่อรับการพิจารณา</p> <p>วารสารใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) โดยสามารถศึกษารูปแบบการอ้างอิงได้จากเอกสารคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ <a title="คำแนะนำสำหรับผู้เขียน" href="https://drive.google.com/file/d/1sgBVTt06wiwq2laYSa5XeYCbBuUC5tWM/view?usp=share_link">ศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a></p> <p>การตีพิมพ์มีค่าใช้จ่าย<strong>บทความละ 3,500 บาท </strong>โดยชำระค่าใช้จ่ายเมื่อบทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว</p> <p>วารสารตีพิมพ์บทความประมาณ 27-29 บทความในแต่ละฉบับ มีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน; ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม; ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม) ในรูปแบบออนไลน์ และแบบรูปเล่ม</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267581 การศึกษาความชุกของการได้รับยาไม่เหมาะสมและการใช้ยาร่วมกันหลายขนานของผู้ป่วยที่เข้ารับการคัดกรองผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 2024-01-31T21:47:01+07:00 ลักษิกา เมธาคุปต์ luxsika.official@gmail.com รุ่งฤดี แสงคำ rungrudeesangkum@gmail.com ชญาณี สุขสมบัติเจริญ chayanees1974@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่อาจมีผลต่อการได้รับยาไม่เหมาะสม และความชุกของการได้รับยาร่วมกันหลายขนานของผู้สูงอายุที่เข้ารับการคัดกรองผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี</p> <p><strong>วิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> ศึกษาโดยเป็นการวิจัยภาคตัดขวางโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง เก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการคัดกรองผู้สูงอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565-31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีการได้รับยาอย่างน้อย 1 รายการขึ้นไป และมีข้อมูลค่า Creatinine ในครั้งที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ทั้งหมด 343 คน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> จากกลุ่มตัวอย่าง 343 คน พบผู้สูงอายุที่มีการใช้ยาไม่เหมาะสม 147 คน (ร้อยละ 42.86), พบผู้สูงอายุที่ใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป 223 คน (ร้อยละ 65.01), ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยาไม่เหมาะสมได้แก่ การได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป, เพศหญิง, การมีโรคเรื้อรังในกลุ่ม Bone and joint disease, Muscle and tendon disease และ Neuropsychiatric disease กลุ่มยาที่มีการใช้ยาไม่เหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ Skeletal muscle relaxants, Central nervous system drugs และ Antihistamine drugs รายการยาที่มีการใช้ยาไม่เหมาะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Dimenhydrinate, Chlorpheniramine, Tolperisone, Lorazepam และ NSAIDs</p> <p><strong>สรุปผลและข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> โรงพยาบาลบางแห่งยังไม่มียาที่ใช้ทดแทน Dimenhydrinate, Chlorpheniramine, Lorazepam และ Amitriptyline ซึ่งเป็นยาที่มีการสั่งใช้บ่อยในผู้สูงอายุ อาจพิจารณาเรื่องการนำเข้ารายการยาเพิ่มเติม และระมัดระวังในการใช้ยาในกลุ่มนี้มากขึ้น</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267828 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-02-17T09:04:35+07:00 สโรชา เชิดชูธรรม sarocha.chird@gmail.com ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์ tatreeb@gmail.com กนกพร ก่อวัฒนมงคล K.Kanokporn.a@gmail.com ธนกมณ ลีศรี thanakamon@sut.ac.th <p>ภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เป็นความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ระหว่างการถดถอยลงตามปกติของผู้สูงอายุ กับภาวะสมองเสื่อม วินิจฉัยจำเป็นต้องใช้แบบประเมินที่มีความซับซ้อน เพื่อให้การดูแลและป้องกันการกลายเป็นโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ แต่พบข้อจำกัดในการตรวจคัดกรองที่หน่วยบริการปฐมภูมิ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เพื่อเป็นแนวทางวางแผนตรวจคัดกรองภาวะนี้ในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา</p> <p>การศึกษาด้วยภาคตัดขวางในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่มีภาวะพึ่งพิง และอาศัยอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 262 คน ตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมิน Geriatric Depression Scale ฉบับภาษาไทย, Mental Status Examination Thai 10, Activities of Daily Living-Thai Assessment Scale และแบบประเมินพุฒิปัญญา Montreal Cognitive Assessment เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก</p> <p>ผลการศึกษา พบผู้เข้าร่วมวิจัย 262 คน เพศชาย 112 คน เพศหญิง 150 คน อายุเฉลี่ย 66.39<u>+</u>4.86 ปี พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา โรคเบาหวาน ประวัติการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 การสูบบุหรี่ และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ การตรวจคัดกรองภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานบริการปฐมภูมิอาจพิจารณาทำในผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ได้รับการศึกษาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี เป็นโรคเบาหวาน มีประวัติการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 การสูบบุหรี่ หรือไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากลักษณะดังกล่าว เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267829 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้พัดลมชนิดมือถือกับการฝึกหายใจ โดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมเพื่อลดอาการเหนื่อยในผู้ป่วยระยะท้ายที่ เข้ารับการรักษาแบบประคับประคอง 2024-02-17T10:25:46+07:00 วิสสุตา ศรศุกลรัตน์ leejerdlj@gmail.com ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์ tatreeb@gmail.com ธัญพิชชา ธีรเวช kimflongzz@gmail.com ธนกมณ ลีศรี thanakamon@sut.ac.th <p>อาการเหนื่อยเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบประคับประคอง และนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานและความไม่สุขสบาย การลดความไม่สุขสบาย สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการใช้ยา เช่น ยากลุ่ม Opioid และการไม่ใช้ยา เช่น การใช้พัดลมมือถือ (Handheld fan) หรือการฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังคม (Diaphragmatic breathing) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลด้านประสิทธิภาพของการใช้พัดลมมือในประเทศไทยยังมีจำกัด</p> <p>การวิจัยแบบ Quasi experimental research มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้พัดลมชนิดมือถือเป่าบริเวณใบหน้า เปรียบเทียบกับวิธีการฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม ในการลดอาการเหนื่อยของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 50 คน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย โดยประเมินจากค่าเฉลี่ยคะแนน Modified Borg Scale (MBS) ที่ลดลง</p> <p>ผลการศึกษา พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน MBS ในกลุ่มที่ใช้พัดลมชนิดมือถือ (-1.24±0.78) มีค่าลดลงมากกว่ากลุ่มที่ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม (-0.86±1.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.02) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอัตราการหายใจของกลุ่มที่ใช้พัดลมชนิดมือถือ มีค่าลดลงมากกว่ากลุ่มที่ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.7)</p> <p>ในทางปฏิบัติ การเลือกใช้พัดลมชนิดมือถือเป่าบริเวณใบหน้าเพื่อลดความเหนื่อยในผู้ป่วยระยะท้าย ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม ทั้งนี้ ขึ้นกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วย</p> 2024-05-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267832 ผลของสมุดเบาหวานในการควบคุมโรคเบาหวาน และการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดี 2024-02-17T13:57:26+07:00 พุทธิพันธ์ ทองรอด folkffolk@gmail.com ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์ tatreeb@gmail.com ธนกมณ ลีศรี thanakamon@sut.ac.th <p>ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ดี มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นน้อย ขาดความเข้าใจต่ออันตรายจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี ไม่ทราบเป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน โดยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมร่วมกัน ทั้งการรับประทานยา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดทำสมุดสุขภาพเบาหวานโดยมีการให้ความรู้และข้อมูลที่เหมาะสม และเป็นเครื่องมือที่แพทย์ใช้แนะนำผู้ป่วยและผู้ป่วยทบทวนได้</p> <p>การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของ HbA1c และ ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวาน ก่อนและหลังจากการได้รับสมุดสุขภาพเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 37 คน โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับสมุดเบาหวานประจำตัวในการติดตามรักษาโรค ในสมุดมีเนื้อหาโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเอง ควบคุมอาหาร และเป้าหมายในการรักษา กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องโรคเบาหวาน และเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar-FBS) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ย (HbA1c) ก่อนและหลังดำเนินการวิจัย 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired-sample t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) เฉลี่ย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 8.64% (SD=1.58) เป็น 8.07% (SD=1.88) (p-value=0.0061) และคะแนนเฉลี่ยระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 177.26 คะแนน (SD=14.87) เป็น 188.07 คะแนน (SD=11.18) (p-value=0.0003)</p> <p>สมุดเบาหวานสามารถเพิ่มความรู้และช่วยทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การจัดทำสมุดเบาหวานร่วมใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ จะช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น</p> 2024-05-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267833 ภาวะหมดไฟจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรด้านบริการปฐมภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 2024-02-17T14:55:39+07:00 กช พิทักษ์วงศ์โรจน์ kod.phi@gmail.com ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์ tatreeb@gmail.com ศรัณย์ ศรีคำ saransrikam@outlook.com ธนกมณ ลีศรี thanakamon@sut.ac.th <p>ภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นภาวะที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงานที่ไม่สามารถจัดการได้อย่างสัมฤทธิ์ผล การศึกษาพรรณนาเชิงภาคตัดขวาง โดยแบบสอบถามออนไลน์ในบุคลากรด้านการบริการปฐมภูมิอำเภอพระนครศรีอยุธยาทุกตำแหน่งงาน เพื่อสำรวจความชุกของภาวะหมดไฟภาพรวมและแยกรายด้านในบุคลากรด้านบริการปฐมภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหมดไฟ</p> <p>บุคลากรตอบแบบสอบถามจำนวน 145 คน จาก 240 คน คิดเป็นร้อยละ 60.42 ความชุกภาวะหมดไฟภาพรวมร้อยละ 0.69 แยกรายด้าน ความชุกผู้ที่มีความอ่อนล้าทางอารมณ์ระดับสูง ร้อยละ 11.73 ความชุกผู้ที่มีการลดความเป็นบุคคลระดับสูงร้อยละ 9.65 ความชุกผู้ที่มีความสำเร็จ ส่วนบุคคลระดับต่ำร้อยละ 14.48 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความอ่อนล้าทางอารมณ์ระดับสูง ได้แก่ จำนวนบุคลากรเพียงพอกับงาน Adjusted OR 0.43 (0.19-0.97) และ มีอาการซึมเศร้าตั้งแต่ระดับน้อยขึ้นไป Adjusted OR 7.31 (1.45-36.73) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการลดความเป็นบุคคลระดับสูง ได้แก่ การใช้ยานอนหลับในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา Adjusted OR 8.18 (1.96-34.25) และอาการซึมเศร้าตั้งแต่ระดับน้อยขึ้นไป Adjusted OR 4.11 (1.01-16.71) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จส่วนบุคคลระดับต่ำ ได้แก่ การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป Adjusted OR 0.28 (0.79-0.97) ได้ไปเที่ยว Adjusted OR 0.21 (0.06-0.72)</p> <p>ความชุกภาวะหมดไฟภาพรวมของบุคลากรปฐมภูมิอำเภอพระนครศรีอยุธยาระดับต่ำ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหมดไฟแยกรายด้าน ปัจจัยป้องกัน ได้แก่ ความรู้สึกบุคลากรเพียงพอกับงาน การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป การได้ไปเที่ยว ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีอาการซึมเศร้าตั้งแต่ระดับน้อยขึ้นไป การใช้ยานอนหลับ</p> 2024-05-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267775 การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมาย ABC 6-D จังหวัดชัยภูมิ 2024-02-13T19:46:35+07:00 จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ jungera2520@gmail.com ปาริชาต ญาตินิยม pyatniyom@yahoo.com ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ thitirat1115@gmail.com <p>วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ การพัฒนารูปแบบและการสร้างนวัตกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 และ 2 เป็นการเตรียมพื้นที่และศึกษาสถานการณ์ โดยใช้ผู้สูงอายุ 533 คน ระยะ 3 และ 4 ดำเนินการวิจัยและประเมินผล โดยใช้ผู้สูงอายุ 60 คน ผู้ดูแล 60 คน และภาคีเครือข่าย 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและพร่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม 2) รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นในทุกกระบวนการ ได้แก่ การประเมินภาวะเสี่ยง การให้ความรู้ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน การคืนข้อมูลแก่ชุมชน และการประเมินผล ผลการประเมินพบว่า ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัว ในระหว่างก่อนและหลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยทรงตัวอยู่ในช่วงเวลาน้อยกว่า 13.45 วินาที 27 คน (ร้อยละ 46.67) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรม และช่วงเวลามากกว่า 20 วินาที ลดลงเหลือ 14 คน (ร้อยละ 23.33) และผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.52, SD=0.71) 3) นวัตกรรมด้านการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่พัฒนาร่วมกัน คือ การใช้ยางยืดหรรษา ประกอบการออกกำลังกายและมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.48, SD=0.74)</p> 2024-06-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267860 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดบุรีรัมย์ 2024-02-19T12:34:03+07:00 ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์ siriluk.suw29@gmail.com พงค์สุวรรณ สมาแฮ Psuy001@gmail.com ปิยะนุช บังเอิญ nuchyizz255@gmail.com จิตรประภา รุ่งเรือง pairat834@gmail.com <p>การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ปัจจัยนำได้แก่ อายุ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ปัจจัยเอื้อได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการขึ้นฝึกปฏิบัติ และปัจจัยเสริม ได้แก่ ความเครียดจากอาจารย์นิเทศและผู้ปฏิบัติงานผู้อื่นจากอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำ มีผลต่อนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 248 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี (Binary logistic)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำ ร้อยละ 19.1 โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน (AOR=0.50, 95% CI=0.26-0.96), สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการขึ้นฝึกปฏิบัติ (AOR=0.51, 95% CI=0.27-0.98) ข้อเสนอแนะเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการความเครียดของนักศึกษา ในการสร้างแนวทางการจัดเตรียมสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ให้นักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติ</p> <p><br /><br /></p> 2024-06-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267854 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 2024-03-04T10:25:18+07:00 เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์ fuangfah@vru.ac.th นาตยา ดวงประทุม นาตยา ดวงประทุม Narttaya.duang@vru.ac.th ฉัตรประภา ศิริรัตน์ chatprapa_89@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 360 ครัวเรือน ใช้การสุ่มแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแทนครัวเรือนเกินกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.8 อายุเฉลี่ย 45.4 ปี มีการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในระดับดี ร้อยละ 73.6 (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=3.82, SD=0.251) มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในระดับสูง ร้อยละ 52.2 (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=7.85, SD=1.310) และมีทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.9 (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=3.67, SD=0.426) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนตำบลคลองควาย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยข้อมูลทั่วไป คือ เพศ และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยของครัวเรือน และปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิธีกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน ผลจากการวิจัยนี้ แม้ว่าพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในภาพรวมจะอยู่ในระดับดี แต่ยังพบปัญหาปริมาณขยะจำนวนมาก และมีการคัดแยกเฉพาะขยะที่สามารถนำไปจำหน่ายได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดปัญหาขยะตกค้าง</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/268005 ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้ ทัศนคติ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของนักศึกษาหญิงในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง 2024-02-28T22:13:41+07:00 อัญชลี อ้วนแก้ว anchalee@rtu.ac.th สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล soianu@kku.ac.th สุภาพักตร์ หาญกล้า suphaphak@rtu.ac.th นงนุช นงนุช nungnuch@rtu.ac.th กัตติกา วังทะพันธ์ kattikawangtapan1989@gmail.com วรนุช ไชยวาน woranuch@rtu.ac.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ต่อความรู้ ทัศนคติและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ของนักศึกษาหญิงในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 3 จำนวน 73 คน ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยวีดิทัศน์ เกมส์ การฝึกปฏิบัติ และการแข่งขันตอบคำถาม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรู้เรื่องการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=6.73, SD=1.45) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=14.56, SD=3.03) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=56.62, SD=6.86) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=56.38, SD=6.45) และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=28.89, SD=5.89) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=8.47, SD=1.20) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=17.07, SD=1.94) และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=33.89, SD=4.31) อยู่ในระดับดี ส่วนคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=58.67, SD=7.53) และทัศนคติต่อการคุมกำเนิด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=56.73, SD=6.17) มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าหลังการทดลองความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง คะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทัศนคติต่อการคุมกำเนิดมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สรุปได้ว่าโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนี้สามารถสร้างเสริมความรู้ ทัศนคติและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้</p> 2024-06-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/268058 การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานเก็บขยะในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 2024-03-11T11:00:37+07:00 สิทธิชัย สิงห์สุ sitti1515@gmail.com วริยา เคนทวาย Wariya.K@ptu.ac.th ชุลี โนจิตร Chulee.n@ptu.ac.th ศรายุทธ พิริยะเบญจวัฒน์ yut.nbc@gmail.com วิชุดา จันทะศิลป์ Vichuda1105@gmail.com กนกพร สมพร Kanokporn.so@ssru.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ของพนักงานเก็บขนขยะ และความชุกอาการเจ็บปวดทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานเก็บขนขยะในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินท่าทางร่างกายทุกส่วน (Rapid Entire Body Assessment-REBA) และแบบสอบถามอาการผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ระดับความเสี่ยง</p> <p>ผลศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 76.70 มีอายุช่วง 30-40 ปี ร้อยละ 66.70 มีประสบการณ์การทำงาน 1–3 ปี ร้อยละ 80.00 ระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ลักษณะท่าทาง การทำงานของกลุ่มตัวอย่างโดยการดึงจำนวน 8 คน มีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 50.00 การยกจำนวน 15 คน มีระดับความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 86.67 และการลากจำนวน 7 คน มีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 57.17 และกลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกายในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 3 อันดับแรก พบมากที่สุดบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 100.00 รองลงมาได้แก่ เข่า ร้อยละ 63.30 และส่วนไหล่ ร้อยละ 56.70 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา พนักงานเก็บขยะในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีท่าทางในการทำงานอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมาก และพบความชุกอาการเจ็บปวดระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อมากที่สุดในบริเวณหลังส่วนล่าง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงท่าทางการทำงานต่อไป</p> 2024-06-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267884 การสังเคราะห์วรรณกรรมด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2565 2024-02-20T15:54:28+07:00 มธุรส สว่างบำรุง marosesom@yahoo.com หนึ่งหทัย ชัยอาภร ttunti@hotmail.com เมธี วงศ์วีระพันธุ์ matree@gmaejo.mju.ac.th <p>งานวิจัยวิเคราะห์เอกสารมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วรรณกรรมด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุและเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีในการดูแลป้องกันด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2565 ประชากร คือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพลัดหกล้มของผู้สูงอายุ จำนวน 30 รายการ ที่สืบค้นจาก 3 ฐานข้อมูล ได้แก่ ThaiJO, Research Gateway Common Service และ Google.co.th เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา </p> <p>ผลวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้านการพัฒนาโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ จำนวน 15 รายการ คิดเป็นร้อยละ 50.00 การสังเคราะห์วรรณกรรมด้านการวิจัยอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดมิติ 4 ด้าน ได้แก่ มิติที่ 1) ด้านสถานการณ์การแพทย์ฉุกเฉิน การประเมินความเสี่ยง และข้อเสนอแนะของนโยบายในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ มิติที่ 2) ด้านทัศนคติ การรู้คิด อารมณ์และพฤติกรรมในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ มิติที่ 3) ด้านปัจจัยที่ส่งผล หรือมีความสัมพันธ์กับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ และมิติที่ 4) ด้านการพัฒนาโปรแกรม รูปแบบ การฟื้นฟูและมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ความเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีในการดูแลป้องกันการพลัดตกหกล้มทั้งหมดมี 7 แนวคิด ประกอบด้วย 1) แนวคิดนโยบายการแพทย์ฉุกเฉิน 2) ทฤษฎีทัศนคติความสมดุล 3) ทฤษฎีปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม 4) ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพ 5) ทฤษฎีในการดูแลตนเอง 6) แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 7) แนวคิดสาธารณสุข</p> 2024-06-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม