วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal <p><strong>วารสารศูนย์อนามัยที่ 9</strong> เป็นวารสารวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่อยู่ใน<strong>ฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index - TCI) กลุ่มที่ 2 (TCI Tier 2) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2567</strong></p> <p>รับบทความวิจัย (Research Articles) บทความวิชาการหรือบทความทบทวน (Review or Academic Articles) และบทความพิเศษ (Special Articles) โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการทุกบทความ ต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและประเด็นทางวิชาการของบทความ สำหรับบทความพิเศษ เป็นรูปแบบการเชิญของวารสารและไม่ต้องรับการประเมิน</p> <p><strong>วารสารใช้ระบบการประเมินบทความแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-Blinded Reviews)</strong> โดย<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer-Reviewers) จากหลากหลายสถาบัน <span style="text-decoration: underline;">อย่างน้อย 2-3 ท่านต่อบทความ</span></strong> โดยผู้ส่งบทความระบุจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องการให้ประเมิน (2 หรือ 3 ท่าน) ในหนังสือนำส่งบทความเพื่อรับการพิจารณา</p> <p>วารสารใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) โดยสามารถศึกษารูปแบบการอ้างอิงได้จากเอกสารคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ <a title="คำแนะนำสำหรับผู้เขียน" href="https://drive.google.com/file/d/1sgBVTt06wiwq2laYSa5XeYCbBuUC5tWM/view?usp=share_link">ศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a></p> <p>การตีพิมพ์มีค่าใช้จ่าย<strong>บทความละ 3,500 บาท </strong>โดยชำระค่าใช้จ่ายเมื่อบทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว</p> <p>วารสารตีพิมพ์บทความประมาณ 27-29 บทความในแต่ละฉบับ มีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน; ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม; ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม) ในรูปแบบออนไลน์ และแบบรูปเล่ม</p> th-TH <p>บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน&nbsp;บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย&nbsp;ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง&nbsp;</p> <p>ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9</p> DoctorSinsakchon@gmail.com (ดร.สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี) DoctorSinsakchon@gmail.com (ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา) Sun, 05 Jan 2025 21:16:55 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ส่วนนำของวารสาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2568) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272519 สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, MPH, Ph.D. Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272519 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/269536 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และผลการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) คือการประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 38 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 12 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปผู้ดูแล, 2) แบบบันทึกการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วย, 3) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 4) บันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิเคราะห์ศึกษาสถานการณ์ และปัญหาการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง พบว่า กลุ่มผู้ป่วยระยะท้าย ส่วนใหญ่ป่วยเป็น Advanced cancers ร้อยละ 73.68 อาศัยอยู่กับคู่สมรสและบุตรหลาน ร้อยละ 71.05 เสียชีวิตที่บ้าน ร้อยละ 86.84 เสียชีวิตที่โรงพยาบาล ร้อยละ 13.16 ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายคือ ญาติขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ควรพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ดังนี้ 1) การฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่ญาติผู้ป่วย, 2) การสนับสนุนอุปกรณ์ในการดูแลต่อเนื่อง, 3) พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยในโปรแกรม Smart COC เชื่อมการส่งข้อมูลทุกระดับ, 4) จัดตั้งทีม Rapid consulting services และ 5) พัฒนาระบบการส่งยา Palliative care การประเมินผล พบว่า อัตราการประชุมครอบครัวและการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ร้อยละ 86.84 ผู้ป่วยมีอาการปวดได้ Strong opioid ร้อยละ 73.68 ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 92.11 ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ร้อยละ 92.11 และผู้ดูแลมีความพึงพอใจการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในระดับมากที่สุด</p> ชลธิรา ศรีสวัสดิ์, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/269536 Wed, 03 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในตึกอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/269633 <p>การวิจัยแบบ Intervention research รูปแบบวิจัย Historical controlled design วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติเดิมในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ศึกษากับผู้ป่วยทุกโรค เก็บข้อมูลย้อนหลังเดือน กรกฎาคม 2566 ในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติเดิม เก็บข้อมูลไปข้างหน้า เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2566 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติแบบใหม่ รวบรวมข้อมูลทั่วไปทางคลินิก เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ผลลัพธ์หลักคือการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลเปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่ม ด้วย Multivariable risk difference regression และ Multivariable mean difference regression</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 195 ราย อายุเฉลี่ย 58.0 (±16.6) ปี อายุอยู่ระหว่าง 18 ถึง 93 ปี หลังปรับอิทธิพลตัวแปร ได้แก่ อายุ BMI การวินิจฉัยโรค โรคประจำตัวประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ยาฆ่าเชื้อที่ใช้จากการวินิจฉัยโรค การติดเชื้อดื้อยาจากชุมชน พบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลได้ร้อยละ 17 (95%CI: 0.26, -0.08) (p&lt;0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถลดการติดเชื้อเชื้อดื้อยาระบบทางเดินหายใจลงได้รอยละ 10 (95%CI: -0.17, -0.03) (p=0.005) การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะลดลงร้อยละ 4 (95%CI:-0.09, -0.00) (p=0.038) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การติดเชื้อระบบไหลเวียนเลือดมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 4 (95%CI:- -0.11, 0.01) (p=0.087) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้ระยะเวลาการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงเฉลี่ย 2 วัน (95%CI:-5.09, 0.57) (p=0.097) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัยได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลได้ สามารถนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ได้</p> วิภาวดี บุญแสนแผน, จิตรลดา พิมพ์ศรี, เรืองศิริ ภานุเวศ, รุจิระชัย เมืองแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/269633 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/269635 <p>การวิจัยแบบ Intervention research แบบ Non-concurrent self-control with interrupted time design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยก่อนเข้าโปรแกรมเดือนตุลาคม 2566 และหลังเข้าโปรแกรมเดือน ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดผลลัพธ์หลัก ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนหลังเข้าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าโปรแกรมด้วย Multivariable Gaussian regression with cluster robust variance correction นำเสนอ Risk difference</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ศึกษาเป็นเพศชาย 23 ราย (62.16%) เพศหญิง 14 ราย (37.84%) อายุเฉลี่ย 63.27 (±12.18) ปี อายุอยู่ระหว่าง 32 ถึง 79 ปี หลังปรับอิทธิพลตัวแปร ได้แก่ อายุ BMI เพศ น้ำหนักก่อนเข้าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน ส่วนสูง ระยะเวลาของการได้รับการฟอกเลือด โรคประจำตัว การใช้ยาความดันโลหิตสูง ประวัติการรับประทานยาความดันโลหิตสูง ประวัติภาวะแทรกซ้อน ปริมาณน้ำที่ควรดึงได้ตามเป้าหมายพบว่า หลังการใช้โปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ 28 % (95%CI: -0.45, -0.12) (p&lt;0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะความดันโลหิตต่ำ และการมีภาวะน้ำหนักเพิ่มก่อนการเข้าฟอกเลือดลดลงจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการวิจัยได้ว่าโปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และควรนำโปรแกรมนี้ไปปรับใช้ใน CKD Clinic เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเข้าฟอกเลือด</p> อรพรรณ เหล่าประเสริฐ, จิตรลดา พิมพ์ศรี, วันเพ็ญ พละศูนย์, เรืองศิริ ภานุเวศ, รุจิระชัย เมืองแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/269635 Wed, 09 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ที่มีต่ออาการปวด ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหว และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอในผู้ที่มีภาวะออฟฟิศซินโดรม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270147 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายที่มีต่ออาการปวด ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหว และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ ก่อนและหลังการศึกษา และ 2) เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลที่มีภาวะออฟฟิศซินโดรมจำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 27 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้รับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดค่าอาการปวด ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหว และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Analysis of Covariance (ANCOVA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่าอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการฝึก (p&lt;0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ค่าอาการปวดลดลงแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.083) ระดับความรู้สึกกดเจ็บและองศาการเคลื่อนไหวในทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการฝึกพบว่า ค่าอาการปวด องศาการเคลื่อนไหวคอหลายทิศทาง และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพร และการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย มีประสิทธิผลในการลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของคอในผู้ที่มีภาวะออฟฟิศซินโดรม</p> ธนวัฒน์ เกียรติเจริญศิริ, ญดา ธาดาณัฐภักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270147 Wed, 09 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270319 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตและศึกษากระบวนการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองและผู้มารับบริการคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิตและส่งเสริมสุขภาวะ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ได้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต รูปแบบการจัดหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินการ การวัดและประเมินผล เนื้อหาสำหรับการฝึกอบรมเป็นไปตามแนวทางการดูสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต ซึ่งผลการจัดอบรมหลักสูตรฯ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีคะแนนความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ระยะที่ 2 พบว่า การจัดบริการเป็นไปตามแนวทางการดูสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต ประกอบด้วย 6 เสาหลัก ได้แก่ ด้านโภชนาการ กิจกรรมทางกาย การนอนหลับ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม การเลิกบุหรี่ และการจัดการความเครียด ระยะที่ 3 พบว่าผู้เข้ารับบริการในคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิตและส่งเสริมสุขภาวะ หลังเข้ารับบริการมีคะแนนการประเมินพฤติกรรมสุขภาพเวชศาสตร์วิถีชีวิตสูงกว่าก่อนเข้ารับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p> เกศรา โชคนำชัยสิริ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270319 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270391 <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุดรธานี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กับความฉลาดทางอารมณ์รายด้าน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุดรธานีปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66-1.00 และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 63.64 รองลงมาอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 19.87 และอยู่ในระดับสูงร้อยละ 16.50 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติทั้งด้านเก่ง ด้านดี และด้านสุข (ร้อยละ 27.28, 14.76 และ 21.55 ตามลำดับ) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่าง 2.1) ด้านเก่ง ได้แก่ ระดับชั้นปี ผลการเรียนสะสม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่พักอาศัย และผู้ร่วมอาศัย (p-value&lt;0.05) 2.2) ด้านดี ได้แก่ ระดับชั้นปี ผลการเรียนสะสม ความเพียงพอของรายรับต่อเดือน การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ (p-value&lt;0.05) และ 2.3) ด้านสุข ได้แก่ ระดับชั้นปี การติดสื่อสังคมออนไลน์ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักษณะการเลี้ยงดู การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสมาชิกในครอบครัว และที่พักอาศัย (p-value&lt;0.05)</p> สุกัญญา ฆารสินธุ์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270391 Wed, 27 Nov 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270492 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาล 2) ระดับความตั้งใจลาออกของพยาบาล และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง</p> <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาคือพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง 1,560 คน คำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 369 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 359 ฉบับ (ร้อยละ 97.3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปร<br />เป็นขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 90.3 มีอายุเฉลี่ย 38.35 ปี (SD<strong>=</strong>10.48) สถานภาพสมรสร้อยละ 55.4 อายุงานเฉลี่ย 16.15 ปี (SD=8.32) มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.50 คน (SD=3.21) ปัจจัยด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>=</em>2<em>.</em>94, SD=0.18) ความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>=</em>2<em>.</em>41, SD<em>=</em>0<em>.</em>22<em>) </em>และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>=</em>2<em>.</em>61, SD<em>=</em>0<em>.</em>26<em>) </em>2) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจลาออกจากงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>=</em>3<em>.</em>68, SD<em>=</em>0<em>.</em>37<em>) </em>และ 3) ตัวแปรพยากรณ์ร่วมทำนายความตั้งใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส แรงจูงใจด้านลักษณะงานและด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและเพื่อนร่วมวิชาชีพ คุณภาพชีวิตด้านสภาพการปฏิบัติงานมีความปลอดภัยส่งเสริมสุขภาพและด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 29.3 (R<sup>2</sup>=0.293)</p> ดำรัสศิริ โลหะกาลก, อนัญญา ประดิษฐปรีชา, อารยา ประเสริฐชัย Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270492 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด ของงานกายภาพบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270580 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความพึงพอใจและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประชากรในการศึกษา คือผู้ป่วยนอกที่มารับบริการกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกที่มารับบริการกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ในระหว่าง 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 227 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความพึงพอใจต่อมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน t-test และ ANOVA</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการงานกายภาพบำบัดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อมาตรฐานการบริการของงานกายภาพบำบัดพบว่า อายุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคะแนนความพึงพอใจต่อมาตรฐานกายภาพบำบัดของทุกด้าน ยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคะแนนความพึงพอใจต่อมาตรฐานกายภาพบำบัดของทั้ง 6 ด้าน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ประเภทของผู้ป่วยและสิทธิการรักษาที่แตกต่างกัน มีค่าคะแนนความพึงพอใจต่อมาตรฐานกายภาพบำบัดทั้ง 6 ด้านไม่แตกต่างกัน</p> ธีรภัทร์ รักษาพล, วาสนา แจ้งไธสง, ศิริกร ทองเบื้อง Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270580 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270737 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-4 ปี ที่ศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เขตอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 184 คู่ และครูประจำชั้น จำนวน 8 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก</p> <p>ผลการศึกพบว่า ภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร้อยละ 31.52 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือการจัดเก็บอาหารในบ้าน (HE) (OR<sub>adj</sub>=0.75, 95%CI=0.26-2.10) รองลงมาเป็นพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ปกครอง (MB) (OR<sub>adj</sub>=5.00, 95%CI=2.01-12.40) การจัดอาหารให้แก่เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (SE) (OR<sub>adj</sub>=0.75, 95%CI=0.26-2.10) กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเล่นที่บ้านของเด็ก (CA) (OR<sub>adj</sub>=2.64, 95%CI=1.00-6.91) และการจัดกิจกรรมทางกายให้แก่เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ST) (OR<sub>adj</sub>=0.28, 95%CI=0.08-0.96) ตามลำดับ มีอำนาจการทำนายร้อยละ 78.8 </p> <p>ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และป้องกันภาวะโภชนาการเกินให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนต่อไป</p> อภิชญา อาจอารัญ, ธิติรัตน์ ราศิริ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270737 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็กวัยรุ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271136 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็กวัยรุ่น และศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็กวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 385 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Fisher's exact test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับสูงร้อยละ 75.3 โดยมีความรอบรู้รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความรู้ความเข้าใจ เท่ากับ 5.14 (SD=0.55) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะการตัดสินใจ เท่ากับ 4.05 (SD=0.59) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของวัยรุ่น คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ จำนวนเวลาในการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05</p> ธนพร สมออ่อน, ณัธธิตา ประทุมทอง, ณัฐกิตติ์ มั่นยืน, ณัฐนันท์ เทียนแจ่ม, อัครเดช ศรีงาม, อริษา พันทอง, สุพิศตรา พรหมกูล Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271136 Fri, 06 Dec 2024 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้กับผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271112 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กับผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ไคสแควร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีจำนวน 177 คน และผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำนวน 123 คน เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองกลุ่ม พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) คือ การรับประทานผักใบเขียว (87.6% vs 76.4%) การดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน (92.7% vs 85.4%) การรับประทานข้าวกล้อง (30.0% vs 42.3%) การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (46.3% vs 35.0%) การรับประทานของหวาน (82.5% vs 69.1%) การรับประทานผลไม้รสหวาน (81.4% vs 67.5%) การรับประทานอาหารที่ใช้กะทิ (65.0% vs 50.4%) การปรุงอาหารด้วยน้ำปลาหรือซีอิ้ว (74.0% vs 62.6%) การรับประทานไส้กรอก (75.7% vs 58.5%) การลืมรับประทานยา (44.6% vs 32.5%) และการติดตามข่าวสาร ความรู้ในการดูแลตนเอง (96.1% vs 89.4%) สรุปได้ว่า ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ส่วนใหญ่มีการบริโภคอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม รวมถึงการลืมรับประทานยา ดังนั้นจึงควรมีการจัดโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเหล่านี้</p> โรจนกาล พานดวงแก้ว, พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271112 Fri, 06 Dec 2024 00:00:00 +0700 การถอดบทเรียนการสื่อสารความเสี่ยงในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19: กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271117 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการสื่อสารความเสี่ยง วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และข้อจำกัดในการสื่อสารความเสี่ยง และเสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงในชุมชนชนบทพื้นที่ชายแดนในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ในพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง ผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยการใช้แนวคิด "ตื่นรู้ แต่ไม่ตื่นตระหนก" การสร้างทีมสื่อสารเฉพาะกิจ การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย และการใช้ผู้นำเป็นต้นแบบ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ความรวดเร็วในการตอบสนอง การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และการปรับข้อมูลให้เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น ส่วนข้อจำกัด ได้แก่ ข้อจำกัดด้านข้อมูล ความกังวลของประชาชนและบุคลากร และการตีตราผู้ป่วย</p> <p>แนวทางการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงควรมุ่งเน้นการพัฒนาระบบและโครงสร้าง การเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม การพัฒนาทักษะบุคลากร การปรับปรุงกระบวนการสื่อสาร และการพัฒนาระบบการสื่อสารในพื้นที่ชายแดน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงในพื้นที่ชายแดนและเสริมสร้างความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพในอนาคต</p> ธีรศักดิ์ พาจันทร์, พิทยา ศรีเมือง, สุพัฒน์ อาสนะ, ลำพึง วอนอก, เจตนิพิฐ สมมาตย์, สุทิน ชนะบุญ, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271117 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271385 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้ และระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์และสรุปรูปแบบ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยโรค COVID-19 จำนวน 41 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 206 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test กำหนดระดับสำคัญทางสถิติที่ 0.001</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 และเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนความรู้เพิ่มมากขึ้น หลังได้รับระบบเสริมสร้างความรู้ฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 ก่อนได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.59 คะแนน และหลังได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 18.44 คะแนน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.53 คะแนน และหลังได้ระบบเสริมสร้างความรู้ฯ มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 18.50 คะแนน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) และกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะให้<br />มีการทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ให้กับประชาชน และควรมีการพัฒนาระบบเสริมสร้างความรู้ในการดูแลสุขภาพชุมชนโรคอื่นๆ ด้วย ร่วมกับมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น</p> พิชามญชุ์ คงเกษม, ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์, สมฤทัย ผดุงพล, พุทธา สมัดไชย Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271385 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผู้ป่วยในที่บ้าน ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271513 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบผลการควบคุมระดับน้ำตาล และความพึงพอใจของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผู้ป่วยนอกกับแบบผู้ป่วยในที่บ้าน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) <br />กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า คัดออก จำนวน 156 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 78 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับบริการการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน มีค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1C) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) และมีความพึงพอใจในบริการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.048)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ: </strong>ผลของการดูแลผู้ป่วยในที่บ้านสำหรับผู้เบาหวานได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีความพึงพอใจในบริการ ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก</p> อธิบ ลีธีระประเสริฐ, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271513 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าสู่ระยะสงบของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271514 <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าสู่ระยะสงบของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 80 คน ที่เคยรักษาด้วยยาเบาหวานชนิดเม็ดเท่านั้นมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยทุกรายจะได้เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการติดตามให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางโทรศัพท์ เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Paired sample t-test และสถิติ Multiple logistic regression หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าสู่ระยะสงบของผู้ป่วยเบาหวาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>หลังการศึกษาผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ดัชนีมวลกายลดลง และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) หลังจากการศึกษา 6 เดือน ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าสู่ระยะสงบ ร้อยละ 15 (12 คน) ลดยารักษาโรคเบาหวานได้ร้อยละ 41.25 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการที่ผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบ ได้แก่ อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 (aOR 4.53, 95%CI=1.00-20.41, p=0.049) และพฤติกรรมสุขภาพระดับสูง (aOR 5.58, 95%CI=1.23- 25.17, p=0.025)</p> <p><strong>สรุป: </strong>การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดดังกล่าว สามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หยุดใช้ยาเบาหวานได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุน้อย และควรขยายไปใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ ต่อไป</p> อธิบ ลีธีระประเสริฐ, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271514 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมหมวกปิดตาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271728 <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อพัฒนาและประเมินผลนวัตกรรมหมวกปิดตาสำหรับทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟรักษา</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย: </strong>การวิจัยและพัฒนานี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์และพัฒนานวัตกรรม และ 2) การทดลองใช้และประเมินผลนวัตกรรม ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินอุบัติการณ์การปิดตาทารก และแบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาและพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ t-test, Chi-square, Fisher's exact และ Mann-Whitney U</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>กลุ่มทดลองมีอัตราการเลื่อนหลุดของผ้าปิดตาและการเกิดผิวหนังแดงถลอกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) มารดาในกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.001) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมาก แต่พึงพอใจต่อวิธีเดิมในระดับน้อย ข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม</p> <p><strong>สรุป: </strong>นวัตกรรมหมวกปิดตามีประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์การเลื่อนหลุดและการเกิดผิวหนังแดงถลอก รวมทั้งเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้งาน</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรจัดอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการใช้งานนวัตกรรมอย่างถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง</p> นันทภัค สมฤทธิ์, พย.บ., กฤตยา วงศ์ใหญ่, พย.บ., สายหยุด ภาชะนนท์, พย.บ., วารุณี มีหลาย, ปร.ด. Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271728 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในจังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271459 <p>การวิจัยภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนาการของเด็กวัย 3-6 ปี กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี ระดับพัฒนาการและระดับการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการและการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3-6 ปีของพ่อแม่ผู้ปกครองในจังหวัดนครราชสีมา ประชากรเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กวัย 3-6 ปี ที่เรียนในศูนย์พัฒนาการเด็ก ปี 2567 ในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 73,154 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan สุ่มตัวอย่างตามระดับชั้นภูมิของอำเภอและตำบล สุ่มตัวอย่างแบบง่ายในศูนย์พัฒนาการเด็กตามเป้าหมายจำนวน 382 คน ตรวจสอบแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาคุณภาพของเครื่องมือโดยทดลองใช้แบบสอบถามที่มิใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาด้วยวิธีของCronbach มีค่าเท่ากับ 0.74 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือการทดสอบไคสแคว์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 46.50 มีระดับของพัฒนาการสมวัยระดับปานกลางร้อยละ 67.54 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอยู่ระดับปานกลางร้อยละ 96.83 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กคือ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ความสัมพันธ์กับเด็ก จำนวนบุตรและลำดับที่ของบุตรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กคือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความสัมพันธ์กับเด็ก จำนวนบุตร และลำดับที่ของบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ลาวรรณ ศรีสูงเนิน, พิสิษฐ์ ศิริรักษ์, คิรินทร์ ตั้งอำพรทิพย์, จิตเกษม ทองนาค, เหมวรรณ แตงอ่อน, ประสิทธิรักษ์ เจริญผล, นุฎชฎา ภัทรพฤฒานนท์, สายพิณ อัครปัทมานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271459 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการห้องฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นในยามวิกาลในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272055 <p>งานวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์การมารับบริการห้องฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นในยามวิกาลรวมถึงศึกษาความรู้สึกของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการดูแลกลุ่มผู้มารับบริการดังกล่าว ประกอบด้วยการศึกษาแบบ Case-control study โดยทบทวนเวชระเบียนผู้มารับบริการโดยจำเป็นและไม่จำเป็นในยามวิกาลจำนวนกลุ่มละ 100 ราย และการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยาโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรทางการแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินทั้งหมด 8 ราย การศึกษาเชิงปริมาณแสดงผลเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ตัวแปรที่ให้ค่า p-value จากการวิเคราะห์แบบตัวแปรเดียว น้อยกว่า 0.05 จะวิเคราะห์ต่อ ด้วยวิธี Multivariable logistic regression แสดงผลเป็น Adjusted odds ratio (AdjOR) และ 95%CI สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพจะวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลารอคอยในกลุ่มผู้มารับบริการห้องฉุกเฉินในยามวิกาลโดยจำเป็นและไม่จำเป็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.032) และเมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี Multivariable logistic regression พบว่าผู้มารับบริการที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ (p-value=0.0012) มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการห้องฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นยามวิกาล ในขณะเดียวกัน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ผู้มารับบริการส่วนหนึ่งไม่สะดวกมาพบแพทย์ในเวลาราชการหรือไม่มีความมั่นใจในการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย ทำให้บุคลากรทางการแพทย์รู้สึกเครียด เหนื่อยล้า กดดัน จนเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้มารับบริการกับผู้ให้บริการ ผู้มารับบริการที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารับบริการที่ไม่จำเป็นในยามวิกาล อันส่งผลกระทบต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้นของบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า จึงต้องมีนโยบายขยายเวลาการให้บริการผู้ป่วยนอกเวลารวมถึงการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย</p> วรยศ ดาราสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272055 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ร่วมกับ 3 ต. For You “เตือน ติดตาม ไต่ถาม” เพื่อการป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272045 <p>ภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป หากปัญหารุนแรงมากขึ้นจะเรียกว่าโรคอ้วนที่เป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ร่วมกับ 3 ต. for you “เตือน ติดตาม ไต่ถาม” เพื่อการป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2567 เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 33 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ร่วมกับ 3 ต. for you “เตือน ติดตาม ไต่ถาม” เพื่อป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 6 กิจกรรม และการติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมใดๆ แต่จะได้รับกิจกรรมของการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติของโรงเรียน เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test, สถิติ Paired t-test และสถิติ McNemar’s Chi-square test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ประกอบด้วยทักษะ 6 ด้าน และการปฏิบัติในการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) และมีค่าสัดส่วนภาวะโภชนาการของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง หลังการทดลองอยู่ในเกณฑ์สมส่วนสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05)</p> นภาพร เวสสุกรรม, นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์, จินทภา เบญจมาศ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272045 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเกณฑ์การประเมินอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประเภทโฮมสเตย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271928 <p>การวิจัยผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประเภทโฮมสเตย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการสังเคราะห์แนวคิดผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย และระเบียบวิธีเชิงปริมาณยืนยันเกณฑ์และตัวชี้วัด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 22 คน ในการพัฒนาเกณฑ์ด้วยเทคนิคเดลฟาย และกลุ่มนักท่องเที่ยว 400 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มเกณฑ์และตัวชี้วัด การวิเคราะห์ข้อมูลเดลฟายรอบที่ 2 ด้วยค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 เพื่อยืนยันตัวชี้วัดย่อยอยู่ในแต่ละเกณฑ์</p> <p>ผลการศึกษาจากการทำเดลฟายเทคนิค 2 รอบ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1พบว่าเกณฑ์ของแบบประเมินอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีชีวิตใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประเภทโฮมสเตย์ ประกอบด้วย 14 เกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ ที่พัก 20 ตัวชี้วัด, สุขภาพอนามัยส่วนบุคคลของพนักงานผู้ให้บริการ 8 ตัวชี้วัด, การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ 8 ตัวชี้วัด, การจัดการมูลฝอยปนเปื้อนสารคัดหลั่ง 9 ตัวชี้วัด, การจัดการท่องเที่ยววิถีใหม่ 7 ตัวชี้วัด, การบริการอาหาร 22 ตัวชี้วัด, การบริการน้ำดื่มน้ำใช้ 13 ตัวชี้วัด, การจัดการขยะมูลฝอย 11 ตัวชี้วัด, การจัดการส้วมสาธารณะ 25 ตัวชี้วัด, สุขลักษณะที่ดีของอาคารสถานที่ 9 ตัวชี้วัด, การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 8 ตัวชี้วัด, ระบบป้องกันอัคคีภัย 7 ตัวชี้วัด, การท่องเที่ยวด้วยรถยนต์/รถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง 6 ตัวชี้วัด, และ การท่องเที่ยวทางเรือ 14 ตัวชี้วัด</p> กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, อัญชลี พงศ์เกษตร, ตรีชาติ เลาแก้วหนู, วิทยา หลูโป, เสาวลักษณ์ คงสนิท, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, อดิศักดิ์ ศรีละออง, ธนปนันท์ อัครวีรวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/271928 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ปริมาณฝนกับจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดในจังหวัดสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272149 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปริมาณฝนกับจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายเดือนจากระบบรายงานการเฝ้าระวัง 506 ของกระทรวงสาธารณสุข และปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สันและตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป ผลสรุปได้ดังนี้ ระหว่างมกราคม พ.ศ. 2561 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2567 จังหวัดสุรินทร์มีจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 8.62 ± 12.7 รายต่อเดือน และมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันกับปริมาณฝนรายเดือนคือ ปริมาณฝนรายวันต่ำสุด, สูงสุด, และเฉลี่ย 0.608, 0.590, และ 0.582 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value&lt;0.001 และตัวแบบการถดถอยทวินามลบ ที่มีปริมาณฝนรายวันเฉลี่ยเป็นตัวแปรต้นเป็นตัวแบบที่มีค่าสัมประสิทธิ์การกำหนดสูงที่สุด สัมประสิทธิ์ตัวแปรต้น exp(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta" alt="equation" />) เท่ากับ 1.01 (p-value&lt;0.001) กล่าวได้ว่า เมื่อปริมาณฝนรายวันเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1 อัตราเสี่ยงที่จะมีผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดเพิ่มเป็น 1.01 เท่า</p> ทวิพงษ์ บุบผารัตน์, วัฒนา ชยธวัช Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272149 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272277 <p>การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มารับบริการโรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามแบบพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า มีค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.86, 0.90, 0.93 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบเพียร์สันไคสแควร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อยมาก (ร้อยละ 45.0) รองลงมาได้แก่ ระดับน้อย (ร้อยละ 23.1) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 23.1) และระดับรุนแรง ร้อยละ 8.9 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ สถานภาพสมรส ความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเอง ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p&lt;0.01) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีการเฝ้าระวัง และคัดกรองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยของผู้ป่วยเอดส์ โดยการตรวจสอบปัจจัยด้านสถานภาพสมรส ความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเอง ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> วสันต์ กิตติวีรวงศ์, พ.บ., รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์, พย.ม. Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272277 Sat, 04 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272625 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก จำนวน 26 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานได้แก่สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ร้อยละ 57.9 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 42.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแล มี 2 ปัจจัย คือรายได้ (β=0.410, p&lt;0.001) และจำนวนสมาชิกในครอบครัว (β=0.307, p&lt;0.001) และสามารถร่วมกันทำนายระดับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลได้ร้อยละ 24.3 (R<sup>2</sup>=0.243, p&lt;0.001) ผลการศึกษานี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชนต่อไป</p> ธนิดา ผาติเสนะ, อรุณี รัตน์สกุล Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272625 Sun, 05 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักของประชาชน ในจังหวัดพัทลุง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272717 <p>การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความคิดเห็นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ทำการคัดเลือกพื้นที่ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายใน 3 พื้นที่ คือ อำเภอศรีบรรพต อำเภอควนขนุน และอำเภอเมือง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 324 คน ระยะเวลาในการทำวิจัย 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567-28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ผลการศึกษาพบว่า เพศชาย (ร้อยละ 50.6) และเพศหญิง (ร้อยละ 49.4) ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 45-59 ปี (ร้อยละ 53.4) ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 86.7) ผลการสำรวจการตัดสินใจเลือกซื้อผักสดของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดพัทลุง พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจเลือกซื้อผักสดเนื่องจากความต้องการซื้อผลผลิตตามความต้องการ (ร้อยละ 55.2) เลือกจากการโฆษณาคุณสมบัติของผักสด (ร้อยละ 38.3) เลือกซื้อผักสดหลายชนิดเพื่อให้มีการลดราคา (ร้อยละ 43.2) เลือกซื้อผักสดและชำระเงินด้วยเงินสด (ร้อยละ 86.4) ตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักสดของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดพัทลุง ได้แก่ ด้านการเลือกซื้อผลผลิต (r=836, p&lt;0.05) มีระดับความสัมพันธ์ระดับสูง ด้านการบริการลูกค้า (r=858, p&lt;0.05) มีระดับความสัมพันธ์ระดับสูง ด้านส่วนลดในการซื้อผัก (r=649, p&lt;0.05) มีระดับความสัมพันธ์ระดับปานกลาง และช่องทางการชำระเงิน (r=650, p&lt;0.05) มีระดับความสัมพันธ์ระดับปานกลาง </p> จิระประภา ด้วงฉีด, กานต์ธิดา บุญเกื้อ, โสมศิริ เดชารัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272717 Sun, 05 Jan 2025 00:00:00 +0700 การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยการบริหารนิ้วมือ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272123 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอายุมากขึ้น เกิดความเสื่อมของสมองทำให้ความจำลดลง อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ในภาวะพึ่งพา เป็นภาระของครอบครัว จึงจำเป็นต้องมีวิธีป้องกันในการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยการไม่ใช้ยา ซึ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนด้านจิตใจ ได้แก่ การบริหารสมองด้วยการบริหารนิ้วมือ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสมองและช่วยเพิ่มเซลล์ประสาท นอกจากนี้เมื่อสมองได้รับการกระต้นให้ทำงานอยู่เสมอ จะทำให้สมองมีความจำที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาครอบครัว ญาติ ตลอดจนผู้ดูแล อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา</p> <p>บทความนี้มีเนื้อหาที่ประกอบด้วย ภาวะสมองเสื่อม การบริหารสมอง มิติของการทำหน้าที่ของสมองและวิธีการฝึกบริหารสมอง การบริหารนิ้วมือ ความสัมพันธ์ของการบริหารนิ้วมือกับภาวะสมองเสื่อม ท่าบริหารนิ้วมือ และประโยชน์ของการบริหารสมองด้วยนิ้วมือ ซึ่งผู้สงอายต้องปฏิบัติกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื้อเนื่องเป็นประจำ ทุกวัน จะทำให้ป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้</p> กันตาภัทร บุญวรรณ, พรพรรณ พุ่มประยูร, บุรัสกร จันทร์ศรี, ตฤณ ทิพย์สุทธิ์; กัลยา มั่นล้วน Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272123 Thu, 02 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปกวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270137 สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, MPH, Ph.D. Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/270137 Mon, 08 Jul 2024 00:00:00 +0700