วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ
<p>วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านการพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ผลงานวิจัยบทความทุกเรื่องจากได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คน โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการ Double-blind และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันที่หลากหลายไม่อยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้แต่ง กำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p>
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
th-TH
วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต
2985-2331
<p>บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา</p>
-
บทบรรณาธิการ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/270755
ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-24
2024-08-24
4 2
-
การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วยสามัญ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268083
<p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาล 202 คนและผู้ป่วย 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้สมรรถนะ และการปฏิบัติด้านการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า</p> <p>หลังการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ด้วยการจัดทำเป็นโปรแกรมการลงข้อมูลและคำนวณ MEWS score เพื่อความครบถ้วน รวดเร็ว นำสู่การบริหารจัดการทางการพยาบาลที่เหมาะสม พร้อมทั้งประกาศเป็นนโยบายของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี และเน้นย้ำเรื่องการนิเทศหน้างาน พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านสมรรถนะและด้านการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (p <0.05) ส่วนด้านความรู้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าอุบัติการณ์อาการทรุดลงลดลงได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจ การช่วยฟื้นคืนชีพ การย้ายไอซียูโดยไม่ได้วางแผน และการเสียชีวิต</p> <p>ดังนั้นควรมีการนำระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติไปขยายผลในทุกหอผู้ป่วยและขยายผลไปโรงพยาบาลของเขตสุขภาพที่ 5</p>
สกาวเดือน ขำเจริญ
เบญจวรรณ มนูญญา
ลัดดา สะลีมา
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-21
2024-04-21
4 2
1
12
-
อัตราป่วยตาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/267266
<p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราตาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยในที่วินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและมีผลเพาะเชื้อในเลือดพบเชื้อก่อโรคในปี 2563 ถึง 2565 จำนวน 319 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลรายบุคคล ผลทางห้องปฏิบัติการ ความรุนแรง และการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก นำเสนอค่า Adjusted odds ratio (aOR) ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และ p-value<0.05</p> <p>อัตราป่วยตายของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดเท่ากับ ร้อยละ 29.15 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสียชีวิต ได้แก่ เพศชาย (aOR: 2.46, 95%CI: 1.334.56) โรคประจำตัวมะเร็ง (aOR: 5.62, 95%CI: 2.45-12.90) การใส่ท่อช่วยหายใจ (aOR: 4.75, 95%CI: 2.22-10.17) ระดับ Serum creatinine (aOR: 1.31, 95%CI: 1.09-1.57) ระดับ Serum lactate (aOR: 1.26, 95%CI: 1.13-1.41) ส่วนปัจจัยที่ลดโอกาสเสียชีวิต ได้แก่ ยาปฏิชีวนะตัวแรกครอบคลุมเชื้อก่อโรค (aOR: 0.42, 95%CI: 0.22-0.77) และระดับ Hemoglobin (aOR: 0.84, 95%CI: 0.76-0.94)</p> <p>การติดเชื้อในกระแสเลือดยังมีอัตราตายสูง โดยเฉพาะหากพบปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสียชีวิต ควรให้ การรักษาอย่างรวดเร็ว ติดตามผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อลดการเสียชีวิต</p>
พงศธร มิตรภูมิวิบูลย์
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-06
2024-08-06
4 2
13
24
-
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268824
<p>การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง 321 ราย ได้จากวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วน คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัคความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยรวม อยู่ในระดับพอใช้ (<em>M</em> =121.70, <em>SD</em>=18.34) ปัจจัย ได้แก่ อายุ การมีกิจกรรมทางกาย ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 28.0 (<em>R<sup>2</sup></em> = .280)</p> <p>ดังนั้นบุคลากรทางด้านสุขภาพจึงควรนำปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่ม ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p>
ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์
สุภาวดี นพรุจจินดา
ประทีป หมีทอง
สุนิสา จันทร์แสง
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-15
2024-06-15
4 2
25
36
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268667
<p>งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กร ทัศนคติต่อองค์กร การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และการสนับสนุนทางสังคมของบุคลากร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน จำนวน 95 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร แบ่งเป็น 5 ตอน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ทัศนคติต่อองค์กร การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การสนับสนุนทางสังคม ความผูกพันต่อองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความผูกพันต่อองค์กร ทัศนคติต่อองค์กร และการสนับสนุนทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 34, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.54; M= 3.18, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.49; </span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=2.81, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.62) ตามลำดับ และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.47, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.50) </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ทัศนคติต่อองค์กรทำนายความผูกพันต่อองค์กรได้สูงสุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">β</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .720, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;">< .01) โดยทั้ง 3 ตัวแปร </span>สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 67.40 (R<sup>2</sup>adj = .674 ,<em> p</em><.01)</p> <p>ดังนั้นการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรควรเน้นสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ร่วมกับการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารและแสดงให้เห็นการสนับสนุนด้านต่างๆ แก่บุคลากรในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดกำลังใจและความผูกพันที่จะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงาน</p> <p> </p>
สุพรรณภรณ์ วิชิตะกุล
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-18
2024-07-18
4 2
37
48
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุด้วยวิธี Time Up and Go Test (TUGT)
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/266666
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุด้วยวิธี Time Up and Go Test ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลและแบบทดสอบ Time Up and Go Test กับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 83 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าไคสแควร์ และ Fisher’s exact test กำหนดระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผู้สูงอายุ 60 – 74 ปี ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการหกล้ม (ร้อยละ 53.01) มากกว่าผู้สูงอายุ </span>75 ปีขี้นไป (ร้อยละ 8.43) และเพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าเพศชาย</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และปัจจัยร่วม ได้แก่ ปัญหาการเคลื่อนไหวลุกจากเตียง การแต่งกาย และความสูงของส้นรองเท้ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการหกล้มด้วยวิธี Time Up and Go Test อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .05)</span></p> <p>ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุข ควรประเมินความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุด้วยวิธี Time Up and Go Test และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อยืดเหยียดให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายแข็งแรงมากขึ้นและแนะนำให้ใส่รองเท้าที่มีส้นสูงไม่มาก</p>
ปิยะฉัตร ศรีทนาม
ธนเชษฐ์ มั่นธรรม
พรทิพย์ ทาบทอง
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-08
2024-08-08
4 2
49
60
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากร เขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268748
<p>การวิจัยเชิงพรรณนา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากร ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 50 - 70 ปี จำนวน 210 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยง ความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและร้อยละ และหาความสัมพันธ์ปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการ คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยสถิติ Chi-square test </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value < 0.05</em>) ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย ของครอบครัว การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหาร การรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ดังนั้น ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างให้มากขึ้น ควรมีการรณรงค์คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง</p>
กัลยา ยิบประดิษฐ์
น้ำฝน วชิรัตนพงษ์เมธี
จินตนา ทองเพชร
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-25
2024-06-25
4 2
61
72
-
ผลของการพัฒนาระบบการดูแลทารกแรกเกิดที่คลอดจากมารดาที่เป็นโควิด - 19 หน่วยงานวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลปทุมธานี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/267344
<p>การวิจัยเชิงประเมินผลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของระบบการดูแลทารกแรกเกิดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้รูปแบบ CIPP (Context, Input, Process, Product) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อโควิด - 19 34 ราย และพยาบาลวิชาชีพ 18 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลและ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นฯ ของพยาบาล 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 4) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลด้านมารดา/ทารก ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>ด้านบริบท คือ ได้แนวทางการปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญทุกคนในทีมสหสาขาวิชาชีพยอมรับ ด้านปัจจัยนําเข้า คือ โปรแกรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน ด้านกระบวนการ คือ E–Book แนวทางการปฏิบัติฯ เพื่อให้พยาบาลเข้าถึงความรู้ได้สะดวก และด้านผลผลิต พบว่า คะแนนเฉลี่ยความเครียดของพยาบาลหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 9.953, <em>p</em> < 0.01) และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้ อยู่ในระดับมาก (<em>M</em>= 4.17) และไม่พบพยาบาลหรือทารกแรกเกิดฯ ติดเชื้อโควิด–19 </p> <p>การนำแนวทางการดูแลและโปรแกรมการฝึกอบรมที่มีโครงสร้างชัดเจนมาใช้ ส่งผลให้การปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิดดีขึ้นและลดความเครียดของพยาบาล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลโดยรวสำหรับกลุ่มเปราะบางนี้</p>
อรทัย ศิลป์ประกอบ
อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
4 2
73
84
-
รูปแบบการพัฒนามาตรฐานวิธีปฏิบัติเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.๒) จังหวัดราชบุรี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268628
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน พัฒนารูปแบบการพัฒนามาตรฐานวิธีปฏิบัติเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2) จังหวัดราชบุรีและเปรียบเทียบผล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับอนุญาตสถานที่ขายยาประเภท ข.ย.2 จังหวัดราชบุรี 30 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 - มกราคม 2567 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบตรวจประเมิน GPP สถานที่ขายยาประเภท ข.ย.2 ใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) แบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการสถานที่ขายยา ที่เข้าร่วมพัฒนา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>ผลการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนกระบวนการพัฒนา ค่าเฉลี่ยคะแนนร้อยละ รวมและจำแนกรายหมวด ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ผลการประเมินหลังกระบวนการพัฒนาโดยใช้รูปแบบฯ จำนวน 18 ร้าน เปรียบเทียบค่ามัธยฐานพบว่าผลรวมทุกหมวด และจำแนกรายหมวดทุกหมวดเพิ่มขึ้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.05) สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมากทุกด้าน</p> <p>การวิจัยครั้งนี้พบว่าการสร้างรูปแบบการพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สถานที่ขายยาประเภท ข.ย.2 มีการพัฒนาได้ตามมาตรฐาน GPP สามารถเป็นรูปแบบในการพัฒนาสถานที่ขายยาประเภทอื่นๆ</p>
วรลักษณ์ อนันตกูล
กฤตธี พุทธิกานต์
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-15
2024-07-15
4 2
85
96
-
มุมมองความสำเร็จในการมีชีวิตอยู่ต่อและสามารถดูแลสุขภาพตนเองของผู้มีอายุยืนยาวมากกว่าร้อยปี: การวิจัยเชิงคุณภาพ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/269156
<p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ มุมมองด้านความสำเร็จในการดูแลสุขภาพตนเองจนสามารถมีชีวิตยืนยาวได้นานของผู้สูงอายุ ดำเนินการศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลแบบเจาะจงในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุเกิน 100 ปี ที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง (ADL ≥12) ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน 11 คน ใช้แนวคำถามปลายเปิด เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์แบบเล่าเรื่องที่บ้านของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า สะท้อนมุมมองความสำเร็จในด้านการมีเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ต่อและความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง จำนวน 3 ประเด็นหลักและมีจำนวน 9 ประเด็นย่อย คือ ประเด็นหลักที่ 1 คือ ความสำเร็จในการมีอิสระในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ 1) ไม่ต้องการเป็นภาระและ 2) ไม่ต้องการให้ครอบครัวเป็นทุกข์กับการเจ็บป่วยของตน ประเด็นหลักที่ 2 คือ ความสำเร็จคงไว้ ซึ่งคุณค่าของตนเอง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อยคือ 1) คงไว้ซึ่งความเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2) คงไว้ซึ่งความเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และประเด็นหลักที่ 3 คือ ด้านมุมมองความสำเร็จที่ต้องมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ 1) สร้างแรงยึดเหนี่ยวทางจิตใจ 2) ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง 3) ปล่อยวางไม่ยึดติด 4) เข้าใจและยอมรับในศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ และ 5) สื่อสารความต้องการที่แท้จริง</p>
อาคม โพธิ์สุวรรณ
สุภาภรณ์ วรอรุณ
อุมากร ใจยั่งยืน
จิรพรรณ โพธิ์ทอง
เนติยา แจ่มทิม
ชาคริต สัตยารมณ์
พิศิษฐ์ พลธนะ
เยาวลักษณ์ มีบุญมาก
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-16
2024-06-16
4 2
97
108
-
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีโรคร่วมแพ้ภูมิตัวเอง: กรณีศึกษา 2 ราย
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268508
<p>กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีโรคร่วมแพ้ภูมิตัวเอง ตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย โดยศึกษากรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง 2 ราย ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ ดำเนินการวางแผนการพยาบาลโดย ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย ตั้งแต่ การประเมิน การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผน การปฏิบัติการพยาบาล สรุปและการประเมินผลทางการพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า</p> <p>ผู้ป่วยเพศหญิงทั้ง 2 ราย มีโรคประจำตัวคือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งได้รับการส่งต่อมาโรงพยาบาลสกลนครหลังได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และเป็นผู้ป่วยรายใหม่ทั้ง 2 ราย ที่ต้องได้รับการทำหัตถการใส่สายสวนหลอดเลือดดำชนิดชั่วคราว เพื่อรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบเร่งด่วน จึงทำให้มีการดูแลผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเฝ้าระวังความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วย ต้องเข้าถึงการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้รวดเร็วที่สุด เพื่อชะลอการเสื่อมของไตและให้ไตสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้เร็วที่สุดและเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพบริการ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม</p>
ศิริพร พิมจันนา
จิราภรณ์ จำปาจันทร์
อนุวัฒน์ สุรินราช
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-05
2024-07-05
4 2
109
119