วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ <p>วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านการพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ผลงานวิจัยบทความทุกเรื่องจากได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คน โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการ Double-blind และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันที่หลากหลายไม่อยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้แต่ง กำหนดการตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> th-TH <p>บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา</p> parinyaporn.th@bcnr.ac.th (กองบรรณาธิการวารสาร) parinyaporn.th@bcnr.ac.th (กองบรรณาธิการวารสาร) Sun, 21 Apr 2024 23:37:37 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วยสามัญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268083 <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาล 202 คนและผู้ป่วย 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้สมรรถนะ และการปฏิบัติด้านการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า</p> <p>หลังการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ด้วยการจัดทำเป็นโปรแกรมการลงข้อมูลและคำนวณ MEWS score เพื่อความครบถ้วน รวดเร็ว นำสู่การบริหารจัดการทางการพยาบาลที่เหมาะสม พร้อมทั้งประกาศเป็นนโยบายของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี และเน้นย้ำเรื่องการนิเทศหน้างาน พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านสมรรถนะและด้านการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (p &lt;0.05) ส่วนด้านความรู้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าอุบัติการณ์อาการทรุดลงลดลงได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจ การช่วยฟื้นคืนชีพ การย้ายไอซียูโดยไม่ได้วางแผน และการเสียชีวิต</p> <p>ดังนั้นควรมีการนำระบบการเฝ้าระวังอาการนำก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติไปขยายผลในทุกหอผู้ป่วยและขยายผลไปโรงพยาบาลของเขตสุขภาพที่ 5</p> สกาวเดือน ขำเจริญ, เบญจวรรณ มนูญญา, ลัดดา สะลีมา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268083 Sun, 21 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268824 <p>การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง 321 ราย ได้จากวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วน คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัคความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยรวม อยู่ในระดับพอใช้ (<em>M</em> =121.70, <em>SD</em>=18.34) ปัจจัย ได้แก่ อายุ การมีกิจกรรมทางกาย ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 28.0 (<em>R<sup>2</sup></em> = .280)</p> <p>ดังนั้นบุคลากรทางด้านสุขภาพจึงควรนำปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่ม ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p> ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์, สุภาวดี นพรุจจินดา, ประทีป หมีทอง; สุนิสา จันทร์แสง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268824 Sat, 15 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากร เขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268748 <p>การวิจัยเชิงพรรณนา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากร ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 50 - 70 ปี จำนวน 210 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเสี่ยง ความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและร้อยละ และหาความสัมพันธ์ปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการ คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยสถิติ Chi-square test &nbsp;</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value &lt; 0.05</em>) ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย ของครอบครัว การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหาร การรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ดังนั้น ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างให้มากขึ้น ควรมีการรณรงค์คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง</p> กัลยา ยิบประดิษฐ์, น้ำฝน วชิรัตนพงษ์เมธี, จินตนา ทองเพชร Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/268748 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 มุมมองความสำเร็จในการมีชีวิตอยู่ต่อและสามารถดูแลสุขภาพตนเองของผู้มีอายุยืนยาวมากกว่าร้อยปี: การวิจัยเชิงคุณภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/269156 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ มุมมองด้านความสำเร็จในการดูแลสุขภาพตนเองจนสามารถมีชีวิตยืนยาวได้นานของผู้สูงอายุ ดำเนินการศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลแบบเจาะจงในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุเกิน 100 ปี ที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง (ADL ≥12) ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน 11 คน ใช้แนวคำถามปลายเปิด เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์แบบเล่าเรื่องที่บ้านของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า สะท้อนมุมมองความสำเร็จในด้านการมีเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ต่อและความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง จำนวน 3 ประเด็นหลักและมีจำนวน 9 ประเด็นย่อย คือ ประเด็นหลักที่ 1 คือ ความสำเร็จในการมีอิสระในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ 1) ไม่ต้องการเป็นภาระและ 2) ไม่ต้องการให้ครอบครัวเป็นทุกข์กับการเจ็บป่วยของตน ประเด็นหลักที่ 2 คือ ความสำเร็จคงไว้ ซึ่งคุณค่าของตนเอง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อยคือ 1) คงไว้ซึ่งความเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2) คงไว้ซึ่งความเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และประเด็นหลักที่ 3 คือ ด้านมุมมองความสำเร็จที่ต้องมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ 1) สร้างแรงยึดเหนี่ยวทางจิตใจ 2) ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง 3) ปล่อยวางไม่ยึดติด 4) เข้าใจและยอมรับในศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ และ 5) สื่อสารความต้องการที่แท้จริง</p> อาคม โพธิ์สุวรรณ, สุภาภรณ์ วรอรุณ, อุมากร ใจยั่งยืน, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, เนติยา แจ่มทิม, ชาคริต สัตยารมณ์, พิศิษฐ์ พลธนะ, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/269156 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700