วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC <p>วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี (The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบงานวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาการพยาบาล การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการศึกษาด้านพยาบาลและสุขภาพ และสนับสนุนให้บุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป</p> วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี th-TH วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 1905-1859 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> การพัฒนารูปแบบของหลักสูตรโรงเรียนรักษ์ไตวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274935 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบของหลักสูตรโรงเรียนรักษ์ไตวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนา 2) การสร้างต้นแบบ ตรวจสอบคุณภาพ และศึกษานำร่อง 3) การทดสอบประสิทธิผลในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่โดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 คลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 30 คน และ 4) การประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขและยืนยันคุณภาพ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม แบบวัดคุณภาพชีวิตทั่วไป และแบบบันทึกข้อมูลคลินิก ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน 2565-สิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีรายคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของหลักสูตรโรงเรียนรักษ์ไตวิทยา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักสูตรรักษ์ไต 2) การจัดการเรียนรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม 3) การเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 4) การสนับสนุนทางสังคมโดยครอบครัว 5) การติดตามเยี่ยมด้วยการพยาบาลทางไกล และ 6) ชุดนวัตกรรมสื่อและอุปกรณ์ให้ความรู้ ภายหลังการทดลองใช้เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมโดยรวม และมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างทุกรายมีอัตราการกรองของไตอยู่ในระยะเดิม ทีมสุขภาพมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบของหลักสูตรฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประโยชน์และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง สะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบของหลักสูตรฯ ที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ผลลัพธ์ทางคลินิกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> อริสรา สิทธิจันทร์เสน อนุชา ไทยวงษ์ นันท์ชญาน์ นฤนาทธนาเสฏฐ์ อุไรวรรณ ประเสริฐสังข์ มะรีวัล ไหลหาโคตร์ โชติรส ฤกษ์ดี มลฤดี แสนจันทร์ กำทร ดานา Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 5 24 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274949 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Study) วัตถุประสงค์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อ ศึกษาระดับของพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เขตอำเภอบ้านลาด หรือโรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีระหว่างเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม 2567 จำนวน 360 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ด้านปัจจัยนำ &nbsp;&nbsp;ด้านปัจจัยเอื้อ ด้านปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป และจากผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ พบว่า เพศและอายุของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในขณะที่สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>&lt; .001) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต &nbsp;(<em>p</em> &lt; .001) ในส่วนของปัจจัยสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(<em>p </em>&lt; .001) แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนจากครอบครัว ชุมชน และระบบบริการสุขภาพช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนำและปัจจัยเสริมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ</p> วรรณา พรายมี Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 25 41 ภาวะสุขภาพจิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต30 อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274962 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเพื่อหาความสัมพันธ์ (correlation study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่&nbsp; 1-3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตทั่วไปฉบับย่อ มีค่าความสอดคล้องภายใน (Cronbach’s alpha coefficient)&nbsp; เท่ากับ 0.84&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์ (Chi-square) และสถิติการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ (Binary Logistic Regression)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลการศึกษา พบว่า 1) ส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตปกติ จำนวน 172 คน (ร้อยละ 61.87) และมีปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 106 คน (ร้อยละ 38.13) พบว่า ข้อที่มีภาวะสุขภาพจิตผิดปกติหรือมีปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด ได้แก่ รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา จำนวน 103 คน (ร้อยละ 37.05) 2) ปัจจัยด้านเพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพจิต มากกว่าเพศชาย เป็น 1.672 เท่า (Crude OR=1.672, 95% CI=1.024-2.733) นักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.00-2.50 มีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพจิต มากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.51-4.00 เป็น 4.478 เท่า (Crude OR=4.478, 95% CI=1.171-17.133)</p> เมวดี ศรีมงคล พัทรินทร์ บุญเสริม Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 42 55 ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274963 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จำนวน 349 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.87-1.00 ทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .811 และ .725 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=4.16, <em>SD</em> = 0.99) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.20, <em>SD</em> = 1.38) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r= .759) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ควรมุ่งเน้นกลยุทธ์ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม</p> อำไพวรรณ ทุมแสน สุภัจฉรี มะกรครรภ์ แสงดาว จารุจิตร Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 56 70 โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาวะในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาระดับชั้นปีที่ 5 - 6 จังหวัด สุพรรณบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274964 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนเป็นการลดผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ที่สำคัญในสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาระดับชั้นปีที่ 5 -6 จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือวัยรุ่นชายและหญิงที่กำลังศึกษาในอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 100 คน โดยใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 50 คน ดำเนินการทดลอง โดยจัดกิจกรรมการให้ความรู้และโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาวะ ระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วัดผลโปรแกรมก่อนและหลังการทดลองเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired Sample T-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาระดับชั้นปีที่ 5 -6 ระหว่างทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> -value&lt;0.001) &nbsp;และค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-</em>value&lt;0.001)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการดำเนินการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันการเสพของเสพติดควรจัดโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะ พร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ และการเลิกบุหรี่ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา</p> จารุวรรณ สนองญาติ พิศิษฐ์ พลธนะ เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์ จินตนา เพชรมณี ขวัญฤทัย ธรรมกิจไพโรจน์ อุษณียาภรณ์ จันทร Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 71 87 การปฏิบัติการพยาบาลในการบำบัดโดยการแก้ปัญหา: กรณีศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274965 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต บางรายอาจนำไปสู่ความคิดทำร้ายตนเอง การบำบัดโดยการแก้ปัญหา (Problem Solving Therapy: PST) เป็นการบำบัดที่มุ้งเน้นพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงบวก เพื่อให้ผู้ป่วยจัดการกับปัญหาในชีวิตประจำวันได้และลดอาการซึมเศร้า การปฏิบัติการพยาบาลเป็นบทบาทที่อาจารย์พยาบาลนำความรู้ ประสบการณ์ให้การดูแลผู้ป่วย บทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่บำบัดโดยการแก้ปัญหาในขณะปฏิบัติการพยาบาลของอาจารย์พยาบาล ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ดำเนินตามกระบวนการ&nbsp; 6 ขั้นตอน ได้แก่ ฝึกการทำความเข้าใจกับปัญหา ฝึกการค้นหาและระบุปัญหา ฝึกการสร้างหรือหาทางเลือกการแก้ปัญหา ฝึกการตัดสินใจ ฝึกการลงมือแก้ปัญหาและการตรวจสอบผลการแก้ปัญหา และการคงไว้ซึ่งทักษะการแก้ปัญหาและการขยายผล&nbsp; ผลที่ลัพธ์จากการบำบัดผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการมองปัญหา เข้าใจปัญหา มองปัญหาทางบวก มีทางเลือกและแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลมากขึ้น ดังนั้น การบำบัดโดยการแก้ปัญหาเป็นแนวทางที่พยาบาลสามารถนำไปใช้ในพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ทำให้ผู้ป่วยลดการกลับเป็นซ้ำได้</p> ชาลินี หนูชูสุข สุทธานันท์ กัลกะ ปภาจิต บุตรสุวรรณ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 88 99 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274972 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ (Correlative study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 180 คน ซึ่งได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากทะเบียนผู้ป่วยในคลินิกโรคเบาหวาน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 ซึ่งนำไปทดลองในผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ปัจจัยหลักตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจัยการชักนำสู่การปฏิบัติต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง เช่น การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาการเป็นโรค ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพพบว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคและการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลตนเองและการรับรู้อุปสรรคในการดูแลตนเองไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ข้อเสนอแนะงานวิจัย ควรดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงทดลองโดยนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานมาพัฒนาเป็นโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมดังกล่าว ควรประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) ตามทฤษฎีของ Bandura หรือทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory) เป็นกรอบแนวคิดเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม รวมทั้งติดตามผลในระยะยาวเพื่อประเมินความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน</p> สุวิพรรณ มาปู่ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 100 116 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีทำความสะอาดของพนักงานทำความสะอาดโรงแรมในกลุ่มบริการสุขภาพกรุงเทพใต้ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274976 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โรคผิวหนังจากการแพ้สารเคมีเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีเป็นประจำและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน การส่งเสริมการป้องกันโรคเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากการแพ้สารเคมีและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากการแพ้สารเคมีของพนักงานทำความสะอาดโรงแรม กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานทำความสะอาดโรงแรมจำนวน 400 คน ซึ่งสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงแรมระดับ 3-5 ดาวในเขตบริการสุขภาพกรุงเทพใต้ จำนวน 22 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ ค่าไคว์-สแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า พนักงานทำความสะอาดโรงแรมมีพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีอยู่ในระดับปานกลาง &nbsp;( M = 2.85, <em>SD</em> = 0.151) โดยมีพฤติกรรมการจัดเก็บการเตรียมการและขนย้ายอุปกรณ์ทำความสะอาดอยู่ในระดับสูง( M = 3.97, <em>SD</em> = 0.171) การสวมใส่อุปกรณ์การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.94, <em>SD</em> = 0.281) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) อยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.89,&nbsp; SD = 0.355) และการหมุนเวียนการทำงานเพื่อการลดพฤติกรรมเสี่ยง (Rotation) อยู่ในระดับต่ำ (M = 1.10, <em>SD </em>= 0.369) ปัจจัยที่สามารถอธิบายการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีของพนักงานทำความสะอาดโรงแรมได้แก่&nbsp; การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี แรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี นโยบายการใช้สารเคมีปลอดภัยในการปฏิบัติงานหลังสถานการณ์การระบาด COVID-19กฎระเบียบสถานประกอบการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหรือสื่อในการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีและการได้รับการกระตุ้นเตือนให้ป้องกันโรคโดยสามารถทํานายพฤติกรรมการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีของพนักงานทำความสะอาดโรงแรมได้ร้อยละ&nbsp; 49.9. (R² adjusted = 0.499, F = 100.343, p &lt; 0.01)</p> บุญธรรม ข่าขันมะณี วันเพ็ญ แก้วปาน สุรินธร กลัมพากร จุฑาธิป ศีลบุตร Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 117 133 พยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ในจังหวัดสุพรรณบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274992 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงปริมาณพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยรายใหม่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ 2568 โดยรวบรวมข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มรายงานมาตรฐาน การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ เขตสุขภาพที่ 5 เป็นข้อมูลปีงบประมาณ 2556 ถึง 2567 วิเคราะห์ข้อมูลรายปี ด้วยทฤษฎีระบบเกรย์ ผลการวิจัยพบว่า การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, และโรคหัวใจและหลอดเลือด ตัวแบบ GM(1,1) Error Periodic Correction มีค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (MAPE) ในช่วงเวลาระหว่างปีงบประมาณ 2556 ถึง 2567 ร้อยละ 3.66, 4.15, และ 7.23 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้พยากรณ์ได้แม่นยำสูง ส่งผลให้ค่าพยากรณ์ในปีงบประมาณ 2568 จะมีผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน ลดลง โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าเลือกตัวแบบ GM(1,1) ที่มี MAPE 13.16, 11.68, และ 13.00 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้มีผู้ป่วยรายใหม่ 12,940, 6,079, และ 82 ราย ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2567 ร้อยละ 5.14, 7.97, และ 28.20 ตามลำดับ</p> กาญจนา อาชีพ วัฒนา ชยธวัช Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 134 145 แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274993 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยจากโรคกลุ่มโรคเรื้อรัง มีความรู้สึกเหนื่อยล้า มีความเครียดและความกังวลที่ต้องอยู่กับโรคตลอดเวลา&nbsp; ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย&nbsp; ท้อแท้ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง จำเป็นต้องมีแนวทางการดูแลเพื่อป้องกันผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่อาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยและศึกษาผลลัพธ์แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า จากรายงานการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2566 โดยใช้กระบวนการทบทวนของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2011) ผลการสืบค้น พบงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า ตามคำสำคัญที่ระบุไว้ทั้งหมด&nbsp; 30&nbsp; เรื่อง มีงานวิจัยจำนวน 22 เรื่อง ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกโดยใช้แบบคัดกรองรายงานการวิจัย งานวิจัยจำนวน 14 เรื่องถูกคัดออก &nbsp;เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ไม่ได้กล่าวถึงแนวทาง หรือวิธีการในการดูแลผู้ป่วยที่กลุ่มโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า ได้งานวิจัยจำนวน 8 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าสู่การทบทวน ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลองจำนวน 8 เรื่อง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์โดยการสรุปเชิงเนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลของแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่กลุ่มโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า พบว่า 1) การฝึกบำบัดความคิดและพฤติกรรม&nbsp; 2) การฝึกทักษะผ่อนคลายความเครียดและการเผชิญปัญหา 3) การดูแลแบบพุทธบูรณาการ มีผลทำให้ผู้ป่วยรู้แนวทางการดูแลตนเองได้ครอบคลุมและเหมาะสม ช่วยให้ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลการศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการนำการฝึกบำบัดความคิดและพฤติกรรม การฝึกทักษะผ่อนคลายความเครียดและการเผชิญปัญหา และการดูแลแบบพุทธบูรณาการ มาใช้เป็นรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่จะตามมาและให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม</p> สุพัตรา จันทร์สุวรรณ ปวิดา โพธิ์ทอง สุนทรี ขะชาตย์ เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 146 156 การพัฒนาความรู้ ทักษะความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/274996 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำหน้าที่เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของคนในชุมชน การพัฒนาความรู้ ความสามารถให้ อสม.ซึ่งเป็นหมอประจำบ้าน เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนได้รับการดูแล ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความรู้ ทักษะความสามารถ ของ อสม.ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อการได้รับบริการจาก อสม. ประชากรคือ อสม. ใน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ระหว่างเดือน มี.ค- ก.ย 2567 จำนวน 1,779 คน และทำการคัดเลือกแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือ ได้แก่ คู่มือการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะความสามารถ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดำเนินการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00&nbsp; และความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะความสามารถ และแบบประเมินความพึงพอใจ ได้ 0.69, 0.78, และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ paired t-test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า อสม.ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.70 มีอายุ 50-60 ปี ร้อยละ 36.70 (M = 49.53, <em>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;SD</em> = 11.88) จบชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 46.70 มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ร้อยละ 45.00 ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าอบรมฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลัง (M = 16.72, 18.98; <em>SD</em> = 1.61, 1.65) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05, <em>t</em> = 9.10) ผลการประเมินทักษะความสามารถ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะก่อนและหลังการอบรม (M = 5.85, 7.32; <em>SD</em> = 1.93, 0.68) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05, <em>t </em>= 8.14) และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคะแนนความพึงพอใจต่อการได้รับการบริการจาก อสม. ทั้งรายด้านและโดยรวมในระดับมากที่สุด (M = 4.80, <em>SD</em> = 0.51) ดังนั้นการพัฒนาความสามารถของ อสม.ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยคู่มือการอบรมนี้ สามารถนำไปใช้ได้ และควรมีการทบทวนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; สรุป การพัฒนาความสามารถของ อสม.ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ควรมีการจัดกระทำเป็นระยะๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถและทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ อสม.ครได้รับการพัฒนาความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเป็นระยะ ๆ (Refresh Course) ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพควรจัดหลักสูตรอบรมทบทวนความรู้สำหรับ อสม.และผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นประจำทุกปี</p> ดวงเนตร ธรรมกุล เรณู ขวัญยืน อรนุช ชูศรี Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-10 2025-04-10 8 1 157 169