วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC <p>วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี (The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบงานวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาการพยาบาล การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการศึกษาด้านพยาบาลและสุขภาพ และสนับสนุนให้บุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> netiya@snc.ac.th (ผศ.ดร.เนติยา แจ่มทิม) netiya@snc.ac.th (ผศ.ดร.เนติยา แจ่มทิม) Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อ ชะลอความเสื่อมของไต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272384 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน - หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ซึ่งเลือกโดยวิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษารวม 7 สัปดาห์ เป็นระยะทดลอง 3 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ถึง เดือนมกราคม 2565 โปรแกรมซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การใช้ตัวแบบ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ นิเทศติดตามการเยี่ยมบ้าน และติดตามความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไตทางกลุ่มไลน์แอปพลิเคชัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยค่า Chi-square, Independent t-test และ Repeated measure ANOVA</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ภายหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการสร้างเสริมสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้นและมีความต่อเนื่อง โดยควรประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนโดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ การใช้ตัวแบบ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ รวมทั้งการนิเทศติดตามการเยี่ยมบ้านและกระตุ้นให้มีความรู้ต่อเนื่องผ่านกลุ่มไลน์เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำงานแก่อาสาสมัครสาธารณสุข</p> จุฑามาศ ติลภัทร, วันเพ็ญ แก้วปาน, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, จุฑาธิป ศีลบุตร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272384 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : การทบทวนวรรณกรรม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272386 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัจจุบันภาวะพึ่งพิงได้รับการถูกกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างของประชากรภายในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น และสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ประสิทธิภาพลดลงตามกระบวนการชราภาพ หรือ ความเสื่อมของร่างกาย รวมไปถึงผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค ทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะพึ่งพิงมากขึ้นภายในสังคมไทย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ ตามความต้องการพื้นฐานที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เน้นการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยทางนักวิจัยเล็งเห็นว่า ตัวแปรคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความน่าสนใจ และถูกนำมาศึกษาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีคุณค่า และควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และสามารถพึ่งพาตนเองได้ หลังจากนั้นทำการสืบค้นงานวิจัยปฐมภูมิแล้วได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ThaiJO, PubMed, ProQuest และ ScienceDirect ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ.2566 และสกัดข้อมูลจากการคัดเลือกมาเฉพาะงานวิจัยที่มีคำสำคัญ (keywords) ครอบคลุมทั้งหมดแล้วทำการสังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการทบทวนจากการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัย</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยอาศัยกระบวนการทบทวนงานวิจัยตามขั้นตอนต่าง ๆ จึงสามารถสรุปเนื้อหาสาระสำคัญได้ว่า คุณภาพชีวิต (quality of life) หมายถึง การรับรู้ระดับการมีชีวิตที่ดี ความสุข และความพึงพอใจในชีวิตของบุคคล ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้บริบททางวัฒนธรรม ค่านิยม และเป้าหมายของชีวิต ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักของคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย (physical domain) คือ การรับรู้สภาพทางด้านร่างกายของบุคคลที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน 2) ด้านจิตใจ (psychological domain) คือ การรับรู้สภาพทางจิตใจของตนเอง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationships) คือ การรับรู้เรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม (environment) คือ การรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต จากสรุปผลการวิจัย พบว่า สามารถนำไปเป็นข้อมูลด้านการปฏิบัติทางพยาบาลสำหรับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงสามารถนำผลการศึกษาไปปรับใช้กับการเฝ้าระวังการเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น</p> เนตรนภา พันเล็ก, กฤติยา ชาสุวรรณ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272386 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 มุมมองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272391 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative descriptive approach) นี้ มีวัตถุประสงค์เข้าใจมุมมองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ปัญหา อุปสรรค และผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตภาคเหนือ ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 6 ราย และผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 9 ราย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (purposive sampling) รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลรับรู้และสะท้อนมุมมองถึงสถานการณ์ ปัญหา และความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน จำแนกได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน ประเด็นที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่าน และประเด็นที่ 3 การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน สรุป ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน</p> กชพร พงษ์แต้, ปริมล หงษ์ศรี, สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272391 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความรู้และการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272401 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาล ศึกษาในประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช&nbsp; จำนวนทั้งหมด 126 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .73 และ 3) แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha เท่ากับ .90&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พิสัย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับสูง ร้อยละ 69.00 มีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 29.40 และระดับต่ำ ร้อยละ 1.60 และมีการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับสูงและระดับปานกลาง ร้อยละ 97.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ ดังนั้นผู้สอนสามารถนำผลการวิจัยไปปรับวิธีการสอนในรายวิชาการพยาบาลที่เกี่ยวข้องต่อไป</p> วิลาสินี แผ้วชนะ, เทพกัลยา เหมทานนท์, บุญธิดา เทือกสุบรรณ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272401 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์เรียนรู้ภาวะผู้นำทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลผ่านโปรแกรมออนไลน์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272407 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์เรียนรู้ภาวะผู้นำทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลผ่านโปรแกรมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ &nbsp;1) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2) แบบประเมินความพึงพอใจ &nbsp;ค่าความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า 1&nbsp; ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ได้ค่า 0.96, 0.82. วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำก่อนและหลังใช้โปรแกรมออนไลน์ด้วยสถิติ dependent t-test &nbsp;หาค่าความพึงพอใจด้วยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการศึกษา พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยภาวะผู้นำ สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em> &lt; .01 และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( M= 4.05 <em>SD</em>=0.67)&nbsp; เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า โปรแกรมออนไลน์ใช้เป็นหลักสูตรเสริมการเรียนนอกห้องเรียนได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด&nbsp; (mean = 4.15 S.D=0.64)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ อาจารย์ผู้สอนวิชาการบริหารทางการพยาบาลควรนำโปรแกรมออนไลน์ไปใช้ในการเรียนรู้ภาวะนำทางการพยาบาล</p> สุพิตรา เศลวัฒนะกุล, วัชรีวงศ์ หวังมั่น, ธิดารัตน์ คณึงเพียร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272407 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุ ที่มีศักยภาพของประชาชนจังหวัดนนทบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272409 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเตรียมความพร้อมประชาชนให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมและศึกษาผลของแนวทางการเตรียมความพร้อมของประชาชนให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ G* power Test family กำหนดค่า Effect size .50, a=.05, b= .95 จำนวนกลุ่มละ 88 คน ประกอบด้วยกลุ่มอายุ 50- 59 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว และกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อม 5 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ โดยมี 4 องค์ประกอบหลักที่ส่งเสริมให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ&nbsp; คือ 1) การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน 2) การมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของตนเอง 3) การจัดการสุขภาพตนเอง 4) ความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการดูแลตนเอง การเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานมีความพร้อมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ส่วนกลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัวมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ช่วยเตรียมความพร้อมให้ประชาชนที่จะเป็นผู้สูงอายุให้มีทักษะในการปฏิบัติตนเอง สามารถจัดการตนเองได้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์สู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพต่อไป</p> ณัฐนันท์ วรสุข, โสมสิริ รอดพิพัฒน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272409 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272411 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแล ของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน 2) ประเมินการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุฯ 3) มีส่วนร่วมในการดูแลและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุฯ และการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล 4) ร่วมวางแผนหารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุฯ และ &nbsp;&nbsp;&nbsp;5) ประเมินแนวทางการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุฯ 58 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน 1.รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นหลังจากศึกษาสถานการณ์ 2.การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดังนี้ การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และ ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้อง= 0.86 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่า Cronbach’s alpha = 0.82 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาจำแนกวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 001) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ ของผู้ดูแลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 001) การศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (LTC Ban Suan Model) พบว่ารูปแบบที่มีความเหมาะสม ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม 1) กิจกรรมการพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยครอบครัว 2) กิจกรรมสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเพื่อนบ้าน 3) กิจกรรมการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้นำชุมชน และ 4) กิจกรรมการประสานความช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยภาคีเครือข่าย</p> สุริยา ฟองเกิด, สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา, ศุภรา หิมานันโต, ฐิติพร ยอดประเสริฐ, สุนันท์ สินซื่อสัตย์กุล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272411 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272413 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี วิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และ&nbsp; 3) ประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 21 คน และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 21 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพยาบาล และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม ซึ่งมีการตรวจสอบค่าความตรงตามเนื้อหาด้วยวิธี CVI เท่ากับ 0.94 และตรวจสอบความความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired&nbsp; t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย นโยบายและทรัพยากร ระบบการพยาบาลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย การออกแบบการดูแลผู้ป่วย การสนับสนุนการพยาบาล และระบบข้อมูลทางการพยาบาลโรคไตเรื้อรัง สำหรับผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล ความพึงพอใจต่อรูปแบบ และความพึงพอใจต่อการพยาบาล อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม และอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยหลังใช้รูปแบบ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> นฤมล ศรีสม, เพียงดาว จุลบาท, จินตนาพร ประสมศรี, วลี กิตติรักษ์ปัญญา, ชุติมา เทียนชัยทัศน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272413 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 สภาพการดำเนินงานการจัดการข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกันของภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัดนนทบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272614 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกันของภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย พยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิ เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ ตรวจสอบความถูกต้องและ ความเชื่อมั่นของผลการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลและการตรวจสอบแบบสามเส้า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการจัดการข้อมูลในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ สามารถสรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพได้เป็น 7 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การบูรณาการข้อมูลและการสื่อสารระหว่างภาคีเครือข่าย 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและชุมชน 3) ความท้าทายและแนวทางการพัฒนา 4) การจัดการสัตว์จรจัด 5) การพัฒนาระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล 6) การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 7) การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ดังนั้นจึงควรมีการวิจัยและพัฒนาพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน และตัดสินใจในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ภราดร ยิ่งยวด, ณิชมน หลำรอด, เมทณี ระดาบุตร, พงษ์พินิต ไชยวุฒิ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272614 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้า https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272615 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 30 คน และผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคทางเดินหายใจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2567 จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบประเมินการรับรู้ของพยาบาลต่อประโยชน์ของรูปแบบ และแบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนัก ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ pair t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบสนับสนุนการจัดรูปแบบพยาบาล ประกอบด้วย นโยบายการจัดอัตรากำลังในหอผู้ป่วยหนัก และแนวทางการจัดรูปแบบการพยาบาลแบบทีม 2) กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก ประกอบด้วย มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก และ SHOCK Bundle และ 3) ผลลัพธ์และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย ตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกและแผนการพัฒนาความรู้และทักษะของทีมพยาบาล หลังใช้รูปแบบฯ พยาบาลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .05) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อประโยชน์ของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกในหอผู้ป่วยหนักตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบมุ่งเป้าที่พัฒนาขึ้นบรรลุเป้าหมายร้อยละ 77.36 และมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 83.02</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกตามแนวทางการดูแลแบบมุ่งเป้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยช็อกได้</p> ณาตยา ขนุนทอง, วิริยา ศิลา, สุรเชฎฐ์ กุคำใส, นภัสวริน พูลสวัสดิ์, ชนินทร์นาถ แวงดงบัง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272615 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 การถอดบทเรียนกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาวะชุมชนต้นแบบบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนเลิศสุขสม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272616 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลลัพธ์สุขภาวะชุมชนต้นแบบในบริบทชุมชนเมือง 2) กระบวนการมีส่วนร่วมจัดการสุขภาวะชุมชนต้นแบบในบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนเลิศสุขสม และ 3) ปัจจัยและเงื่อนไขที่สนับสนุนความสำเร็จสู่ชุมชนสุขภาวะ เลือกศึกษาชุมชนเลิศสุขสมซึ่งเป็นต้นแบบสุขภาวะบริบทชุมชนเมือง โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน&nbsp; กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชน และสมาชิกชุมชน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 276 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 28 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้เกณฑ์ และสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามสุขภาวะ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลลัพธ์สุขภาวะโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M= 3.61, <em>SD</em> = 0.39) 2) กระบวนการจัดการสุขภาวะชุมชนต้นแบบ ประกอบด้วย 3 กลไก ได้แก่ 1) กลไกบริหารจัดการต้นทางสู่พื้นที่สุขภาวะ 2) กลไกบริหารจัดการระหว่างทางสู่พื้นที่สุขภาวะ 3) กลไกบริหารจัดการปลายทางสู่พื้นที่สุขภาวะ และ 3) ปัจจัยและเงื่อนไขที่สนับสนุนความสำเร็จสู่ชุมชนสุขภาวะ ได้แก่ ทุนทางสังคม ภาวะผู้นำของแกนนำชุมชน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ&nbsp; ซึ่งแนวทางพัฒนาการจัดการสุขภาวะชุมชนจึงควรส่งเสริมทุนทางสังคม ภาวะผู้นำของแกนนำชุมชน และสร้างความร่วมมือจากชุมชน ภาคีเครือข่าย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญ &nbsp;</p> สุภาพ ไทยแท้ ไทยแท้, ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง, อารยา เชียงของ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272616 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700 เรื่องเล่าจากประสบการณ์เด็กวัด: พลเมืองรุ่นใหม่ในจังหวัดนนทบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272617 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การพัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยการเสริมสร้างศักยภาพผ่านทุนชีวิต ภายใต้บริบทแวดล้อมที่เกื้อหนุน โดยครอบครัวถือเป็นหน่วยพื้นฐานที่สำคัญในการบ่มเพาะบุคลิกภาพและค่านิยม แต่ด้วยสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ปกครองมีเวลาในการดูแลบุตรลดลง ดังนั้นสถานศึกษา ศาสนสถาน และชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวม การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพแบบเล่าเรื่อง (Narrative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของเด็กวัดในการเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ในจังหวัดนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลคือเด็กวัดที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 10 คน ที่มีประสบการณ์การเป็นเด็กวัดอย่างน้อย 1 ปี เก็บข้อมูลโดยการการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระ &nbsp;ผลการวิจัยพบประเด็นที่สำคัญในการพัฒนาเด็กวัดให้เป็นพลเมืองรุ่นใหม่ 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1) เส้นทางเติบโตของเด็กวัด: จากแรงบันดาลใจสู่การสร้างคุณค่าและทักษะชีวิต 2) เส้นทางการเรียนรู้: จากลูกมือสู่ผู้นำ 3) พลังเด็กวัดสู่การพัฒนา: จากภูมิปัญญาสู่การพัฒนาชุมชน และ 4) การหล่อหลอมทักษะชีวิต: จากเด็กวัดสู่พลเมืองรุ่นใหม่ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองรุ่นใหม่ในบริบทที่ใกล้เคียงต่อไป</p> อารยา มันตราภรณ์, ภัทรียา ดำรงสัตย์, วริณญา อาจธรรม, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/272617 Mon, 25 Nov 2024 00:00:00 +0700