https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/issue/feed
วารสารทันตาภิบาล
2024-12-31T13:56:04+07:00
Dr. Werachat Yudthachawit
tdn.journal@gmail.com
Open Journal Systems
<p>เป็นวารสารวิชาการทางด้านทันตสาธารณสุขจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้องให้กับทันตบุคลากร โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เพื่อเปิดโอกาสให้ทันตบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องได้นำเสนอผลงานวิชาการ ซึ่งได้แก่ ผลงานวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความที่น่าสนใจอันเป็นวิชาการใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทันตบุคลากรรวมถึงส่งผลต่อประชาชนผู้รับบริการ<br />วารสารจัดทำเป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p>Online ISSN: 2697-665X<br />Print ISSN: 0857-880X</p> <p>บทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน</p> <p>All submitted menuscripts must be reviewed by expert reviewers at least 3 reviewers.</p>
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/267707
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
2024-05-26T12:53:16+07:00
นฤชา นนทมิตร
64202501006@scphkk.ac.th
อรวรรณ นามมนตรี
Orawann16@gmail.com
<p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ความรอบรู้ด้าน ทันตสุขภาพ ความเข้มแข็งในการมองโลกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ในอำเภอแก้งคร้อจำนวน 614 คน ทำการสุ่มตัวย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ แบบวัดความเข้มแข็ง ในการมองโลกและแบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67 - 1 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.70 - 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์และสถิติพหุถดถอยลอจิสติก กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 326 คน คิดเป็นร้อยละ 53.10 (S.D. = 0.50) อายุเฉลี่ย 11.84 ปี (S.D. = 0.36) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในระดับมาก (การได้รับผลกระทบจากปัญหาในช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันน้อย) คิดเป็นร้อยละ 92.5 ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 78 มีความเข้มแข็งในการมองโลกในระดับน้อย คิดเป็น ร้อยละ 88.60 เมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากพบว่า ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพและความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่มีความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพต่ำถึงปานกลางจะมีโอกาสที่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากไม่ดีเป็น 1.70 เท่าของผู้ที่มีความรอบรู้ด้าน ทันตสุขภาพสูง (AOR = 1.70, 95% CI 1.43 - 3.10, p-value = 0.017) และผู้ที่มีความเข้มแข็งในการมองโลกต่ำมีโอกาสที่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากไม่ดีเป็น 2.04 เท่าของผู้ที่มีความเข้มแข็งในการมองโลกปานกลางถึงสูง (AOR = 2.04, 95% CI 1.68 - 4.66, p-value = 0.013)</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/269277
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
2024-06-10T20:47:44+07:00
เก็จวไลย นาคศิริชัยกุล
65202501001@scphkk.ac.th
อรวรรณ นามมนตรี
Orawann16@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเข้มแข็งในการมองโลก สภาวะสุขภาพช่องปากคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 270 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเข้มแข็งในการมองโลก ข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (OHIP-14) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเข้มแข็งในการมองโลกและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก เท่ากับ 0.73, 0.75 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องในการตรวจฟันด้วยสถิติแคปปา มีค่า 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยใช้ Multiple logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับปานกลาง ร้อยละ 69.26 ความเข้มแข็งในการมองโลกระดับปานกลาง ร้อยละ 64.07 ด้านสภาวะสุขภาพช่องปากพบจำนวนฟันแท้ในช่องปากมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ซี่ ร้อยละ 71.48 ค่าเฉลี่ย 21.54 ซี่/คน คู่สบฟันหลังมากกว่าหรือเท่ากับ 4 คู่สบ ร้อยละ 53.70 ค่าเฉลี่ย 4.23 คู่สบ/คน มีการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์แบบ A ร้อยละ 53.33 ไม่มีฟันโยก ร้อยละ 77.41 และค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 9.79 ซี่/คนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 74.07 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ได้แก่ จำนวนฟันแท้ในช่องปาก (p-value = 0.009) การมีฟันโยก (p-value = 0.013) และความเข้มแข็งในการมองโลก (p-value = 0.036)</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/269348
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
2024-10-02T14:53:49+07:00
ปุญญพัฒน์ วิฆเนศรังสรรค์
poonphat61@gmail.com
วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์
wacharaphol@scphkk.ac.th
ภานุวัฒน์ ศรีโยธา
phanuwat@scphkk.ac.th
กลวัชร บุตรี
noteties10@gmail.com
คณาธิป ศลาฆินหิรัณยกุล
m_u_mu@hotmail.com
<p>การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Descriptive cross-sectional research) นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Fisher’s exact test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = <0.001, 0.011, 0.004 ตามลำดับ) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเอื้อกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า อุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก และการเข้าถึงแหล่งบริการทันตกรรม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.011, 0.024 ตามลำดับ) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า การได้รับการสนับสนุนจากบุคคล การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.020, 0.003 ตามลำดับ) จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับสภาพช่องปาก สร้างเครือข่าย อสม. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาส ให้ อสม. ได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการทำงาน และสร้างช่องทางการสื่อสาร ที่สะดวก เช่น กลุ่มไลน์ กลุ่มเฟซบุ๊ก เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/269818
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด
2024-10-02T14:57:07+07:00
วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์
wacharaphol@scphkk.ac.th
นฤพร ชูเสน
n.choosen@gmail.com
รัฐติภรณ์ ลีทองดี
rathiporn@scphkk.ac.th
กรรณิการ์ อินทร์บุตร
popeye8278@gmail.com
พิมพกานต์ สวยงาม
momoeiei5083@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง 218 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันแห้ง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.703 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Chi-square และ Fisher’s exact test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 16.3 ปี (S.D. = 0.9) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.1 ส่วนใหญ่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 45.4 รายได้บิดา/มารดา(รวมกันเฉลี่ยต่อเดือน) ส่วนใหญ่ อยู่ที่ 19,575.1 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.0 นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 71.1 การไปพบทันตบุคลากรส่วนใหญ่เข้าพบมากกว่า 1 ปี ร้อยละ 69.3 พฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนส่วนใหญ่แปรงฟันแห้ง ร้อยละ 64.7 และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนกับระดับชั้น และการไปพบทันตบุคลากรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.042 และ 0.004 ตามลำดับ)</p> <p>จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การไปพบทันตบุคลากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนั้นทันตบุคลากรควรให้ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องการแปรงฟันแห้งอย่างต่อเนื่อง</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/270259
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
2024-09-13T14:43:11+07:00
เกียรติศักดิ์ หิรัญวิริยะกุล
keattisakhi@scphpl.ac.th
ธิติรัตน์ ราศิริ
panda_19jung@hotmail.com
<p>สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพราะต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากจากผู้ดูแล ซึ่งบทบาทของผู้ดูแลสามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยจึงสนใจทำงานวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลัก ที่ทำหน้าที่ให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ ในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 161 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยวิเคราะห์หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนี IOC ระหว่าง 0.67-1 และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ alpha coefficient) ได้ค่าระหว่าง 0.75-0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวม ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.40 ((x̄) = 26.03, S.D. = 5.50) ส่วนใหญ่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในการทำความสะอาดช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ((x̄) = 2.39, S.D. = 0.75) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก (B = 0.14, p <0.001) และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (B = 0.29, p = 0.001) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 51.5 (R2 = 0.51) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ควรมีการออกแบบกิจกรรมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ดีต่อไป</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/271280
การเข้าถึงบริการทันตกรรมและสภาวะทันตสุขภาพของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
2024-11-18T15:37:36+07:00
เบญญาภา กาลเขว้า
benyapa@scphkk.ac.th
สมสาย ผลศิริ
prateep@scphkk.ac.th
ประทีป กาลเขว้า
prateep@scphkk.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรม สภาวะทันตสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนตัวอย่าง 209 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) (อยู่ในช่วง 0.67-1.00) และค่าความเที่ยง (Reliability) ด้วยการหาค่า Cronbach’s alpha coefficient ได้เท่ากับ 0.820 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA For Windows สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติการถดถอยพหุโลจิสติก</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.64 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 43.54 (เฉลี่ย 39.78 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.81) รายได้ระหว่าง 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 39.23 (เฉลี่ย 18,231.61 บาท, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8834.58 ) ระดับการศึกษาสูงสุด จบปริญญาตรี ร้อยละ 46.63 มีสถาะภาพสมรสคู่ ร้อยละ 59.81 เป็นตำแหน่งข้าราชการ ร้อยละ 63.64 ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระหว่าง 1-10 ปี ร้อยละ 49.76 (ค่าเฉลี่ย 10.27 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.20), ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 85.65, โรคประจำตัวที่พบ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไธรอยด์ หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น</p> <p>ตัวอย่าง มีการเข้าถึงบริการทันตกรรม ในระดับสูง ร้อยละ 49.76 และระดับปานกลาง ร้อยละ 44.98 ทราบสภาวะช่องปากของตนเอง ร้อยละ 16.27 สิทธิการรักษาทางทันตกรรมหรือทำฟันใช้สวัสดิการข้าราชการ มากที่สุด ร้อยละ 48.80 การไปใช้บริการทันตกรรมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 48.80 สถานบริการที่ไปใช้บริการทันตกรรมบ่อยที่สุด คือ โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 98.04</p> <p>ปัจจัยด้านระดับการศึกษาและ ด้านระยะทางจากบ้านถึงสถานบริการทันตกรรมที่ไปใช้บริการประจำ มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอห้วยเม็ก โดย ตัวอย่างที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีการไปใช้บริการทันตกรรม มากเป็น 2.04 เท่าของผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (ORadj = 2.04, 95%CI = 1.01 ถึง 4.09) และ ตัวอย่างที่มีบ้านห่างจากสถานบริการทันตกรรมที่ไปใช้บริการประจำ (น้อยกว่าเท่ากับ 7 กิโลเมตร) มีการใช้บริการทันตกรรม น้อยกว่าผู้มีบ้านห่างจากสถานบริการทันตกรรมที่ไปใช้บริการประจำ (มากกว่า7 กิโลเมตร) เป็น 0.31 เท่า (ORadj = 0.31, 95%CI = 0.17 ถึง 0.58)</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/271758
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางทันตกรรม และเพิ่มรายได้ตามชนิดบริการ เครือข่ายบริการสุขภาพวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2562 - 2566
2024-11-15T14:05:07+07:00
นิธินันท์ สกุลทอง
nithinan1624@gmail.com
<p>การพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางสุขภาพช่องปากของประชาชนในเขตรับผิดชอบ (2) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมเฉพาะทางของประชาชน ในเขตรับผิดชอบ (3) เพื่อเพิ่มรายได้ตามชนิดบริการ จากค่าบริการทางทันตกรรม โดยเก็บข้อมูลจากโปรแกรม HospxP HOSSoffice และ HDC ติดตามผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2562-2566 มีประชากรในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการระบบบริการสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 35.90, 31.38, 29.45, 35.59 และ 36 ตามลำดับ ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 40 จากการปรับระบบบริการสุขภาพช่องปากทำให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีโอกาสเข้าถึงงานบริการทางทันตกรรมเฉพาะทางได้หลากหลายสาขาเพิ่มมากขึ้น เช่น สาขารักษาคลองรากฟัน สาขาทันตกรรมจัดฟันและสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ รายได้ตามชนิดบริการ จากค่าบริการทางทันตกรรม มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มดีขึ้น สูงกว่าเป้าหมายในปี 2566</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/272194
ปัจจัยส่วนบุคคล สภาวะช่องปาก กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ของประชากรอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
2024-11-27T14:59:16+07:00
เกตชดา โพธิรุกข์
ketchada@scphkk.ac.th
วัชรินทร์ คำภูวรรณ
ketchada@scphkk.ac.th
ศาสวัติ สุรำไพ
ketchada@scphkk.ac.th
วรุตม์ จินดาเวชช์
ketchada@scphkk.ac.th
<p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาวะช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของประชากรอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ในเขตบริการสุขภาพโรงพยาบาลประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 323 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (OHIP-14) และการตรวจช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple logistic regression analysis) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 คน อายุเฉลี่ย 60.09 ± 10.63 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 14.23 ซี่/คน รากฟันผุ 0.33 ซี่/คน มีร่องลึกปริทันต์ 4-5 มม. เฉลี่ย 1.18 ส่วนของช่องปาก/คน และมีร่องลึกปริทันต์ 6 มม.ขึ้นไป เฉลี่ย 0.11 ส่วนของช่องปาก/คน คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (OHIP-14) เท่ากับ 10.53±10.04 สภาวะช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก คือ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (Adjusted OR 0.24; 95%CI 0.08-0.70, p-value 0.009) และสภาวะของรากฟัน (Adjusted OR 4.15; 95%CI 1.15-14.90, p-value 0.029) จากผลการศึกษานี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่มีฟันผุ ถอน อุด ตั้งแต่ 10 ซี่ขึ้นไปจะมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากแย่ลง ส่วนการมีรากฟันผุและ/หรือสึกทะลุโพรงประสาทฟันเป็นปัจจัยที่น่าสนใจ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/271111
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 6
2024-11-08T09:03:48+07:00
ปาริชาติ แย้มสี
parichart_218@hotmail.com
สุภา เพ่งพิศ
supa.pen@mahidol.ac.th
อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข
parichart_218@hotmail.com
<p>พฤติกรรมสุขภาพมีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม รวมถึงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของ อสม. ในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 410 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage cluster Sampling) เก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบสำรวจสภาวะช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์โดยสถิติไคสแควร์ และสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเพียงพอ (ร้อยละ 28.4) สภาวะช่องปากในระดับดี (ร้อยละ 59.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา ปัจจัยนำ เอื้อ เสริม (p-value <0.001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็น อสม.</p> <p>ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐและหน่วยงานทันตสาธารณสุข ควรจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงการบริการทันตกรรม มีการอบรมเสริมสร้างการรับรู้ปัญหาทันตสุขภาพและรับรู้ประโยชน์ของการดูแลทันตสุขภาพใน อสม.อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/272130
การประเมินและพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ สบช.โมเดล (ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี)
2024-11-12T15:29:10+07:00
เพ็ญศิริ ทานให้
pensiri@scphkk.ac.th
ธรินธร นามวรรณ
tharinthorn.n@msu.ac.th
กาญจน์ เรืองมนตรี
karn.r@msu.ac.th
สฤษดิ์ ผาอาจ
saritpa@scphyl.ac.th
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เพื่อศึกษาการประเมินและพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ สบช.โมเดล (ปิงปอง 7 สี) ในกลุ่มนักศึกษา จำนวน 150 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย<br />1) เครื่องมือจัดการเชิงผลลัพธ์ 2) แบบทดสอบความรู้พฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาณและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา ระยะที่ 1 สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีค่าดัชนีมวลกายสมส่วน นักศึกษาประเมินตนเองว่าพฤติกรรมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติไม่ได้ คือ การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมน้ำหนัก ตามลำดับ สาเหตุของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ มาจากการขาดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพที่เหมาะสมและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมที่ดี ระยะที่ 2 การดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี และการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br />(p-value <0.001) อีกทั้งโครงการ Green & Clean public health ช่วยส่งเสริมการลดปริมาณขยะ และเกิดนวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่นโครงการ My glass ช่วยสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัยฯ ระยะที่ 3 การประเมินผล พบว่า นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพส่งผลให้มีเครือข่ายนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร และขยะลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) นอกจากนี้ยังได้เกิดรูปแบบจากการพัฒนานำไปสู่เป้าหมายเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ ลดโรค ลดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัย</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล