วารสารทันตาภิบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ <p>เป็นวารสารวิชาการทางด้านทันตสาธารณสุขจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้องให้กับทันตบุคลากร โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เพื่อเปิดโอกาสให้ทันตบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องได้นำเสนอผลงานวิชาการ ซึ่งได้แก่ ผลงานวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความที่น่าสนใจอันเป็นวิชาการใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทันตบุคลากรรวมถึงส่งผลต่อประชาชนผู้รับบริการ<br />วารสารจัดทำเป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p>Online ISSN: 2697-665X<br />Print ISSN: 0857-880X</p> <p>บทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน</p> <p>All submitted menuscripts must be reviewed by expert reviewers at least 3 reviewers.</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล</p> tdn.journal@gmail.com (Dr. Werachat Yudthachawit) rawin@scphkk.ac.th (Mr. Rawin Julsawat) Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268913 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-75 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี จำนวน 175 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคร์สแควร์ (Chi-Square) และวิเคราะห์การถดถอยด้วย Logistic regression ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ไปใช้บริการทันตกรรมในสถานบริการ ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา เพียงร้อยละ 39.40 ผู้สูงอายุที่ใช้บริการทันตกรรมใน 1 ปี ที่ผ่านมา ไปใช้บริการทันตกรรมครั้งล่าสุดของ คือ ถอนฟัน ร้อยละ 71.00 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.05) ได้แก่ ปัจจัยเอื้อ คือ การเดินทางเพื่อไปรับบริการ และปัจจัยด้านสุขภาพ คือ การมีปัญหาจำเป็นที่ต้องพบทันตแพทย์ การมีฟันผุในปัจจุบัน&nbsp; และการมีปัญหาการเคี้ยวอาหาร</p> ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, จิราพร อ่อนสลุง, จุฑาธิป ศีลบุตร Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268913 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/267235 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับโรคฟันผุในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 278 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Chi-Square Test &nbsp;</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.5 ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.3 และพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 83.5 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.8 ซี่/คน และค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุ เท่ากับ 1.27 ซี่/คน เพศหญิงมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.028) และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.025)</p> <p style="font-weight: 400;">จากผลการศึกษาข้างต้น โรงเรียนควรมีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน&nbsp;และจัดให้มีการตรวจสุขภาพช่องปากจากทันตบุคลากรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้นักเรียนรับรู้และตระหนักถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเอง</p> วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, จุฬนาริน วิทยวรรณกุล, อนงนารถ คำเชียง, พลอยนิล อันทะศรี, ยุวธิดา พลหมอ, รัตนกร จำปากุล Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/267235 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/267597 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) ตำบล บัวขาว อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 180 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-Square และ Fisher's exact test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 53.9) ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับสูง (ร้อยละ 71.1) ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 55.0) ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 60.6) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.4) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.03) ส่วนปัจจัยนำ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value &gt;0.05)</p> วรยา มณีลังกา, รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด, ปรียานุช นามพิกุล, มาลิกา นามทรรศนีย์, จารุวรรณ จันทระ, เมธาลักษณ์ ยลถนอม Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/267597 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268026 <p>การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 107 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.50 และความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับบรรยากาศองค์การ ปัจจัยทางการบริหาร และการปฏิบัติงานของทันตบุคลากรอยู่ในระดับมาก (x̄=4.01, S.D.=0.54), (x̄=3.94, S.D.=0.54), (x̄=4.16, S.D.=0.49) ตามลำดับ ภาพรวมบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานของทันตบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.623, p-value &lt;0.001 และ r=0.666, p-value &lt;0.001) ตามลำดับ และตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การด้านความรับผิดชอบ และปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณ มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 45.5 (R<sup>2</sup>=0.455, p-value &lt;0.001)</p> ชาลินี พสุนนท์, สุรชัย พิมหา Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268026 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความแม่นยำในการวิเคราะห์รอยโรคในช่องปากด้วยอุปกรณ์ปัญญาประดิษฐ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268196 <p>การใช้ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเครื่องมือช่วยในการทำนายความน่าจะเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งในช่องปาก ควรใช้เทคนิคการถ่ายภาพ และ ทิศทางการนำเข้าภาพถ่ายที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการทำนายรอยโรคสูงสุด การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของภาพถ่ายที่มีความสว่างจากแสงแฟลชในกล้องถ่ายรูปของโทรศัพท์มือถือ และแสงธรรมชาติ ระยะในการถ่ายภาพใกล้และไกล ทิศทางของภาพถ่าย ที่สัมพันธ์กับความแม่นยำในการระบุรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งช่องปาก ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยนำตัวอย่างที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยสายตาจากทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ว่าเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ ของร้อยละความน่าจะเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งช่องปากด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า เทคนิคทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มถ่ายระยะห่าง แสงธรรมชาติ กลุ่มถ่ายระยะห่าง แสงแฟลช กลุ่มถ่าย Close up แสงธรรมชาติ และกลุ่มถ่าย Close up แสงแฟลช มีค่ามัธยฐานร้อยละการทำนายความน่าจะเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก เท่ากับ 57.18 63.35 79.38 และ 80.28 ใช้สถิติ Kruskal - Wallis test เปรียบเทียบความแตกต่างของร้อยละการทำนายความน่าจะเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากและมะเร็งช่องปาก ของเทคนิคทั้ง 4 กลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001) ใช้สถิติ Mann withney U test ดูความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และผลการศึกษาทิศทางของภาพถ่ายรอยโรคในช่องปาก ขณะนำข้อมูลเข้าวิเคราะห์ของกลุ่มถ่าย Close up แสงแฟลช พบว่า การหมุนภาพในแนว 90 180 และ 270 องศา จากภาพปกติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.037)</p> <p>สรุปผลการวิจัย การถ่ายภาพ Close-up ด้วยกล้องที่มีกำลังขยายมากกว่า 2 เท่า และใช้แสงสว่างจากแฟลชในกล้องถ่ายรูปของโทรศัพท์มือถือ ให้ร้อยละในการทำนายความน่าจะเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งในช่องปากสูงสุด และ ทิศทางการนำเข้าภาพถ่ายเพื่อทำการวิเคราะห์ มีผลต่อการทำนายความน่าจะเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งในช่องปากของปัญญาประดิษฐ์ โดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายแบบแนวนอน (กลุ่มภาพปกติ และกลุ่มหมุนภาพ 180 องศา) ให้ค่าร้อยละที่สูงมากกว่าภาพถ่ายแบบแนวตั้ง (กลุ่มหมุนภาพในแนว 90 องศา และกลุ่มหมุนภาพ 270 องศา)</p> ณัฐพงศ์ อธิกิจรุ่งเรือง Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268196 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานผสมน้ำตาล ของบุคลากรทางการแพทย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268238 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานผสมน้ำตาล ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามในบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 194 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ ไคสแควร์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า เครื่องดื่มที่บุคลากรทางการแพทย์นิยมมากที่สุด ได้แก่ กาแฟและชา คิดเป็นร้อยละ 55.6 สาเหตุที่เลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยเนื่องจากดีต่อสุขภาพ ร้อยละ 52.1 บุคลากรกว่าสองในสามดื่มเครื่องดื่มที่ทำงาน ร้อยละ 64.4 โดยบุคคลในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และสื่อต่าง ๆ เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มีอิทธิพลต่อการบริโภคเครื่องดื่มของบุคลากร ร้อยละ 80.9 และ 74.2 เพศมีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานผสมน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001, OR=0.16, 95% CI: 0.08-0.34) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและด้านพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานผสมน้ำตาลอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุป นอกจากปัจจัยเพศแล้ว ประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานผสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น จึงควรมีการดำเนินนโยบายอย่างจำเพาะเจาะจงในการลดปริมาณและความถี่ในการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มรสหวานผสมน้ำตาลในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์</p> โสรยา เฉลยจิต, ลักขณา อุ้ยจิรากุล, เทพธิดา นนทีอุทก, พจณิชา แก้วพิรา Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268238 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/266441 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) กับแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 134 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.95, S.D. = 0.80) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง (x̄ = 4.38, S.D. = 0.35) และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ทันตสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.049 โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ 0.171 จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าด้านเจตคติที่มีค่าน้อยที่สุดคือ คิดว่าวิชาชีพนี้ไม่มั่นคง มีโอกาสตกงานสูง ดังนั้นวิทยาลัยควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อหาแหล่งงาน ให้นักศึกษามั่นใจว่าเมื่อเรียนจบจะมีงานทำแน่นอน</p> ณัฐนิชา พุมมาจันทร์, นลพรรณ สุขรมย์, สาลินี อ่อนสี, สุทธิดา สุวรรณโชติ, กรรณิการ์ กุลเกียรติชัย Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/266441 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บรรยากาศองค์การและสุนทรียสาธกที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากร ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268922 <p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การและสุนทรียสาธก ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ศึกษา คือทันตบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาจากทันตบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 137 คน จากประชากรทั้งหมด 287 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.98 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สุนทรียสาธก การออกแบบ บรรยากาศองค์การ มิติความเสี่ยง สุนทรียสาธก การจินตนาการสร้างฝัน และบรรยากาศองค์การ มิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียว สามารถร่วมกันในการพยากรณ์ และมีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 62.8 (R2 =0.628, p-value &lt;0.001)</p> ทิชากร วิริยะ, สุรชัย พิมหา Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268922 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของทันตบุคลากร ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268937 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างเป็นทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป บรรยากาศองค์การและความสุขในการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.30 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 55.07 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 60.55 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 78.63 มีอัตราเงินเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท ร้อยละ 72.88 เป็นนักวิชาการทันตสาธารณสุข ร้อยละ 41.92 มีตำแหน่งระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 36.16 มีประสบการณ์การทำงานระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 30.68 กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อบรรยากาศองค์การในโรงพยาบาลชุมชนอยู่ในระดับดีและความสุขในการทำงานของทันตบุคลากรที่อยู่ในระดับสูง การศึกษาพบว่า บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001)</p> <p>ควรมีการขยายขอบเขตในการศึกษาครั้งต่อไปให้กว้างออกไปในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมและศึกษาตัวแปรในปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อความสุขในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในการแก้ไขปรับปรุงองค์กรต่อไป</p> อวัสดา ดะวัง, อัฎฮียะห์ อัฮมัดมูซา Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/268937 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700