@article{รัตนธราธร_2020, title={Panitumumab ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่}, volume={29}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/247183}, abstractNote={<p>มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้ สามารถเกิดได้จากพันธุกรรมการมีภาวะอักเสบของลำไส้ สภาวะแวดล้อม หรือการบริโภค การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการผ่าตัด รังสีรักษา หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามนั้น พบว่าการรักษาโดยการใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน รวมถึงการให้ยาเพื่อรักษาแบบมุ่งเป้า มีบทบาทสำคัญ และมีประสิทธิภาพในการเพิ่ม overall survival หรือ progression-free survival ให้แก่ผู้ป่วยได้<br>Panitumumab เป็น recombinant human monoclonal immunoglobulin G2 antibody ในกลุ่มยาที่มีฤทธิ์รักษาแบบมุ่งเป้า ออกฤทธิ์เป็น anti-epidermal growth factor receptor ใช้เป็นยารักษาเดี่ยว หรือร่วมกับยาเคมีบำบัดมาตรฐานที่ประกอบด้วย oxaliplatin หรือ irinotecan ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย ชนิด rat sarcoma wild-type ทั้งนี้พบว่ามีประสิทธิภาพทั้งใน first line หรือ second line ของการรักษา ขนาดของยา panitumumab ที่มีการแนะนำคือ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมนํ้าหนักตัว ให้ยาทุกๆ 2 สัปดาห์ มีรายงานอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้บ่อยคือ การเกิดปฏิกิริยาจากการหยดยา และปฏิกิริยาผื่นทางผิวหนัง</p>}, number={1}, journal={วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล}, author={รัตนธราธร ชลลดา}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={23–32} }