@article{กิตติจันทร์เมธี_ก้องวัชรพงศ์_2020, title={วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 9 สายพันธุ์}, volume={29}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/247238}, abstractNote={<p>มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งคิดเป็นผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 6 คนต่อวัน ทั้งที่มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ ปัจจุบันตัวเลขผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ปัญหาสำคัญเนื่องจากหญิงไทยส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิด คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง หรือมีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่น่าจะเกิดโรคร้ายนี้ได้ จึงไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งและฉีดวัคซีนป้องกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 2 ชนิด คือ bivalent และ quadrivalent ซึ่งครอบคลุมเชื้อ human papillomavirus (HPV) ที่ทำให้เกิดโรค 2 และ 4 สายพันธุ์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์อื่นอีกมาก ภายหลัง ปี ค.ศ. 2014 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรอง nonavalent HPV vaccine (9vHPV) ซึ่งครอบคลุมไวรัสเอชพีวี 4 สายพันธุ์เช่นเดียวกับวัคซีน quadrivalent และไวรัสเอชพีวี 5 สายพันธุ์เพิ่มเติม วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์เป็นวัคซีนที่มีข้อบ่งใช้ในเพศหญิงและเพศชายอายุ 9 ถึง 45 ปีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด ช่องคลอดและทวารหนักที่เกิดจากไวรัสเอชพีวี ชนิด 16, 18, 31, 33, 45, 52, และ 58 ภาวะการเปลี่ยนแปลงก่อนเซลล์มะเร็ง(precancerous)หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี ชนิด 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 และหูดบริเวณอวัยวะเพศที่เกิดจากไวรัสเอชพีวีชนิด 6 และ 11 จาก 8 การศึกษาทางคลินิกเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ และพบว่าวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ มีความปลอดภัยและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี</p>}, number={3}, journal={วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล}, author={กิตติจันทร์เมธี คนึงนิจ and ก้องวัชรพงศ์ จันทร์พร}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={261–273} }