@article{อภิชนาพงศ์_2020, title={กรณีศึกษา metformin-associated lactic acidosis}, volume={30}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/247617}, abstractNote={<p>Metformin-associated lactic acidosis (MALA) เป็นภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรง พยาธิกำเนิดและปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการที่ระดับยา metformin สูงเกินระดับปกติ ทำให้เกิดการสะสมของ lactate ร่วมกับมีปัจจัยอื่นที่ทำให้มีการสร้างหรือขจัด lactate ออกได้น้อยลง ป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงการใช้ยา metformin ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิด MALA ปรับขนาดยา metformin ตามการทำงานของไต และให้การรักษาแบบประคับประคอง แก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดและรักษาปัจจัยร่วมที่สาเหตุของ lactic acidosis<br>กรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 81 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (eGFR = 38 mL/min/1.73 m2 ) โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ได้รับยา metformin 500 mg รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามใช้ยา metformin และเมื่อพิจารณาขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับ พบว่าไม่เกินขนาดที่แนะนำตามการทำงานของไต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยรายนี้มาโรงพยาบาลด้วยอาการเหนื่อยมากขึ้น แพทย์วินิจฉัยเป็น MALA จากผลตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และประวัติการรักษารวมถึงการได้รับยาทั้งจากในและนอกโรงพยาบาล โดยสาเหตุของ MALA ในผู้ป่วยรายนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีภาวะ acute kidney injury (AKI) จากการได้รับยาที่มีพิษต่อไตคือ diclofenac ทำให้ระดับยา metformin เพิ่มสูงขึ้นจนเกิดภาวะ lactic acidosis <br>จากกรณีศึกษา แสดงให้เห็นว่าการป้องกัน MALA มีความสำคัญ และเภสัชกรมีบทบาทในการป้องกันการเกิด MALA ได้โดยการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ทบทวนการได้รับยาของผู้ป่วย ให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการช่วยสืบค้นสาเหตุและปัจจัยร่วมในการเกิด MALA</p>}, number={1}, journal={วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล}, author={อภิชนาพงศ์ วันทนี}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={26–33} }