@article{นิ่มสมบูรณ์_2021, title={พิษวิทยาของกัญชา}, volume={30}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/248552}, abstractNote={<p>กัญชามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและอารมณ์ จึงมีผู้นำมาใช้เป็นยาเสพติด และคาดว่าเป็นสารที่ทำให้มีฤทธิ์ทางยา กัญชามีระสิทธิภาพในการรักษาความผิดปกติต่างๆ ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด อาการคันจากภาวะคั่งของน้ำดี โรคต้อหินและกล้ามเนื้อหดเกร็ง แต่ข้อมูลการศึกษาวิจัยยังมีน้อย อย่างไรก็ตาม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้น้ำมันกัญชาใน 4 ข้อบ่งใช้ คือ คลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชัก กล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และภาวะปวดเหตุพยาธิสภาพประสาท เนื่องจากมีผลการศึกษามากกว่าโรคอื่นๆ THC ออกฤทธิ์โดยการเข้าจับกับ cannabinoid receptor ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท การได้รับกัญชาโดยการสูบจะดูดซึมได้ดีกว่าการรับประทาน/ดื่ม ยังไม่สามารถสรุปข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์เมื่อใช้กัญชาโดยการหยดใต้ลิ้น เนื่องจากปัจจุบันยังมีข้อมูลจำกัด ภาวะพิษจากกัญชาเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ ภาวะพิษเฉียบพลัน และภาวะพิษเรื้อรัง โดยภาวะพิษเฉียบพลันมักเกิดกับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้กัญชาเป็นครั้งแรกๆ และภาวะพิษเรื้อรังมักเกิดกับผู้ที่เสพกัญชาเป็นยาเสพติด การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แนะนำ คือ การตรวจหาสาร THC ในปัสสาวะ สำหรับการรักษาภาวะพิษจากกัญชาเป็นการรักษาตามอาการ ไม่มียาต้านพิษที่จำเพาะ</p>}, number={2}, journal={วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล}, author={นิ่มสมบูรณ์ ธนพล}, year={2021}, month={ม.ค.}, pages={125–136} }