TY - JOUR AU - บุญภัทรฐิติ, กันต์ศักดิ์ AU - วิจิตขะจี, มัณฑนา AU - ทิพย์พะยอม, ธีรพล AU - โกสุมา, ปัทมวรรณ PY - 2021/08/21 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานกลุ่มใหม่ในการรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ JF - วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล JA - Thai J Hosp Pharm VL - 31 IS - 2 SE - การศึกษาต่อเนื่อง DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/251032 SP - 196-207 AB - <p>ยากลุ่ม direct oral anticoagulants (DOAC) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ factor ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรง โดยยากลุ่มนี้ถูกพัฒนามาเพื่อลดข้อจำกัดของยา warfarin ที่ต้องมีการติดตามค่า international normalized ratio โดยหนึ่งในข้อบ่งใช้หลักของยากลุ่ม DOAC คือ การใช้รักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) ที่มีสาเหตุมาจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ การไหลเวียนเลือดที่ช้าลง หรือความเสียหายของเยื่อบุหลอดเลือด โดยภาวะ VTE แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา (deep vein thrombosis) และลิ่มเลือดอุดตันที่บริเวณปอด (pulmonary embolism) ยา DOAC ทุกตัวจะมีระยะเวลาในการดูดซึมจนความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดอยู่ในระดับสูงสุด 1-6 ชั่วโมง มีการเมแทบอลิซึมที่ตับแล้วขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ในการใช้ยา DOAC ต้องมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา เช่น ภาวะเลือดออก รวมถึงต้องติดตามการทำงานของไต เนื่องจากต้องทำการปรับขนาดยากลุ่ม DOAC ในผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง การเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยากลุ่ม DOAC ในการรักษาผู้ป่วย VTE พบว่า DOAC ลดการเกิด recurrence VTE, major blee–ding และ clinically relevant non-major bleeding ได้ไม่แตกต่างจาก warfarin อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลของ DOAC แต่ละชนิดพบว่า apixaban และ riva–roxaban สามารถลดความเสี่ยงการเกิด major bleeding ได้ ยากลุ่ม DOAC ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ได้แก่ apixaban, dabigatran, edoxaban และ rivaroxaban โดยยาทุกชนิดในกลุ่มนี้จัดเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ทั้งนี้ แนวทางการรักษา VTE ของประเทศไทย ได้แนะนำให้ใช้ยา heparin และ warfarin โดยไม่มีการกล่าวถึงการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่น</p> ER -