TY - JOUR AU - นิ่มสมบูรณ์, ธนพล AU - นิ่มสมบูรณ์, นันทนา PY - 2022/04/28 Y2 - 2024/03/28 TI - กรดกัดแก้ว JF - วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล JA - Thai J Hosp Pharm VL - 32 IS - 1 SE - พิษวิทยา DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/254379 SP - 28-38 AB - <p>กรดกัดแก้วหรือกรดไฮโดรฟลูออริก เป็นกรดอ่อนที่มีความเป็นพิษที่รุนแรง ผู้ป่วยสัมผัสกรดกัดแก้วได้หลายช่องทาง ได้แก่ ทางผิวหนัง ทางดวงตา ทางทวารหนัก การสูดดม และการรับประทาน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่สัมผัสกรดกัดแก้วทางผิวหนัง โดยกรดกัดแก้วจะดูดซึมเข้าไปภายในเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง และแตกตัวออกเป็น ไฮโดรเจนไอออน และ ฟลูออไรด์ไอออน ต่อมา ฟลูออไรด์ไอออนจะจับกับแคลเซียมไอออนในเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง กรณีที่สัมผัสกรดกัดแก้วที่มีความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 20 เป็นบริเวณกว้างมากกว่าร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ผิวกาย อาจเกิดอาการพิษต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายซึ่งมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ยาที่ใช้เป็นยาต้านพิษ คือ แคลเซียมกลูโคเนต ซึ่งสามารถนำมาเตรียมเป็นแคลเซียมกลูโคเนตที่มีรูปแบบและความแรงที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยที่สัมผัสกรดกัดแก้วผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจดูลักษณะรอยโรค การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับประทานกรดกัดแก้ว หรือ ผู้ป่วยที่สัมผัสกรดกัดแก้วที่ผิวหนังเป็นบริเวณกว้าง หรือ ผู้ป่วยที่สูดดมก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ หรือไอระเหยของกรดกัดแก้วเป็นเวลานาน หากมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติควรให้การรักษาโดยให้แคลเซียมกลูโคเนตทางหลอดเลือดดำทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือด</p> ER -