รูปแบบการพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบใน อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

กาญจนา แก้วสุวรรณ
สุรินธร กลัมพากร

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบ โดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษาผลการพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบในพื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชน 7 ชุมชน ผู้สูบบุหรี่ ที่สมัครใจเข้าร่วมการบำบัดรักษาในชุมชนจำนวน 70 คน และครอบครัวของผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ 140 คน โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 ถึง เดือนธันวาคม 2554 ในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลทุ่งหัวช้างทั้งหมด 7 หมู่บ้าน การพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการทำประชาคมเพื่อกำหนดมาตรการสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน 2) กิจกรรมการให้ความรู้และพัฒนาทักษะในการช่วยเหลือผู้เลิกบุหรี่แก่ครอบครัว 3) กิจกรรมกลุ่มบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้านชุมชน พบว่า มีการกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน และประกาศพื้นที่สาธารณปลอดบุหรี่ ได้แก่ ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาวัด โรงเรียน ตลาดสด ร้านอาหาร บ้านที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการบ้านปลอดบุหรี่ และบ้านที่มีการจัดงานศพ จำนวนทั้งสิ้น 16 แห่ง อีกทั้งยังมีการแจ้งประชาสัมพันธ์บริเวณที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่หาก มีการฝ่าฝืนมีมติให้ปรับมวนละ 50 บาท และให้ความรู้โทษพิษภัยบุหรี่ผ่านทางเสียงตามสายในหมู่บ้าน ด้านครอบครัวของผู้เลิกบุหรี่ สมาชิกครอบครัวของผู้ร่วมโครงการ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะในการช่วยเหลือผู้เลิกบุหรี่จำนวน 140 คน มีทัศนคติที่ดีมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ต้องการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้นด้านผู้สูบบุหรี่ มีผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ทั้งหมด 70 คน ประเมินผล เมื่อครบ 6 เดือน มีผู้หยุดสูบได้ 29 คนคิดเป็นร้อยละ 41.4

การพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบนี้ เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของชุมชนโดยการส่งเสริมการสร้างมาตรการในการขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ ช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกบุหรี่และป้องกันนักสูบหน้าใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกบุหรี่ โดยให้ครอบครัวที่ได้รับการอบรมความรู้และพัฒนาทักษะในการช่วยเหลือผู้เลิกบุหรี่ เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งรูปแบบของการพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ดังกล่าวสามารถจัดการปัญหาสูบบุหรี่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมาชิกชุมชนได้จึงควรมีการสนับสนุนการดำเนินการต่อไป

 

Development of smoke-free community model in Thunghuachang district, Lamphun province

Kaewsuwan, K., Kalampakorn, S.

Objectives of this participatory action research were to develop smoke-free community using participatory approach and examine the effects of its development in Thunghuachang district, Lamphun province. Participants were7 communities leaders, 70 smokers who were willing to participate in smoking cessation activities in community and 140 families with smokers in their households. Activities were conducted between June 2011-December 2011. There are 3 core activities of developing smoke-free community including: 1) Community meeting for the strategies for smoke-free community development 2) Training families with smoker for knowledge and skill to help smoker quit smoking and 3) Group therapy for smoking cessation in community

For outcomes of the development, the community policy regarding tobacco control was developed. Public places including community hall, temple, school, market, restaurants, individual household and funeral facilities were also smoke-free areas . Those who smoke in the no-smoking areas will be fined for 50 -100 bahts. Community radio station has played roles in providing knowledge on adverse effects of tobacco. Families with smoker were also trained with knowledge and skill to help smoker stop smoking had good attitude and increase knowledge and skill. Among 70 smokers participated in smoking cessation activities, 41.1% of them successfully stop smoking at 6 months follow-up.

Smoke-free community in one of the strategies in tobacco control. Community policy regarding tobacco control regarding smoke - free public place was developed. Smokers were provided with cessation counseling and new smokers should be prevented for smoking initiation. Families who had knowledge and skills in smoking cession could help smoker to stop smoking. Community actions should be strengthened to control tobacco use which could have negative health effects on their community members. This initiative could be applied to other community settings.

Article Details

How to Cite
แก้วสุวรรณ ก., & กลัมพากร ส. (2016). รูปแบบการพัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่ต้นแบบใน อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. Thai Journal of Nursing, 61(1), 54–61. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47486
Section
Research Article