TY - JOUR AU - ทองทิน, สดใส AU - เชาวกีรติพงศ์, ทวนทอง AU - ผลประเสริฐ, ปาจรีย์ PY - 2016/01/28 Y2 - 2024/03/28 TI - ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดตาก JF - Thai Journal of Nursing JA - TJN VL - 61 IS - 4 SE - Research Article DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47610 SP - 20-26 AB - <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและ ปัญหาการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในเขตพื้นที่ จังหวัดตาก 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่าย สุขภาพจิตชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดตาก และ 3) ประเมิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในเขตพื้นที่ จังหวัดตาก ในการศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานฯ ใช้แบบสอบถามกับผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตของหน่วยงาน บริหารและหน่วยงานบริการสาธารณสุขทุกระดับในเขต พื้นที่จังหวัดตาก จำนวน 112 คน สัมภาษณ์ผู้บริหาร ของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดตาก จำนวน 19 คน และสนทนากลุ่ม คณะกรรมการหมู่บ้านจัดการ สุขภาพที่มีการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน ไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 15 คน ในการสร้างยุทธศาสตร์ การพัฒนาเครือข่ายฯ ใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกและจัดทำร่างยุทธศาสตร์ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 38 คน และสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ จำนวน 8 คน การประเมินคุณภาพยุทธศาสตร์ใช้ผู้เชี่ยวชาญ ด้านยุทธศาสตร์และด้านสุขภาพจิต จำนวน 19 คน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้</p><p>1. ผู้นำเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน มีความรู้ ความสามารถเชิงกลยุทธ์ สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในงานสุขภาพจิต เครือข่าย สุขภาพจิตมีการประสานงานด้านการดำเนินงาน แต่มีการ ติดตามข้อมูลข่าวสารไม่ต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมค่อนข้าง น้อย ปัญหาการสร้างการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพจิต พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ค่าเฉลี่ยของปัญหา สูงที่สุดคือ การพร้อมในการดำเนินการเครือข่าย รองมาคือ การจัดระบบการจัดการเครือข่าย และปัจจัยพื้นฐาน ในการจัดการเครือข่าย</p><p>2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิต ชุมชนฯ ประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ให้ประชาชน ในจังหวัดตากสุขภาพจิตดี ด้วยภาคีเครือข่ายสุขภาพจิต ที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็น ยุทธศาสตร์ 14 กลยุทธ์ 22 ตัวชี้วัด และ30 มาตรการ/ แนวทางในการพัฒนา ประเด็นยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและ นอกระบบบริการสาธารณสุขในการดำเนินงานสุขภาพจิต ชุมชน 2 ) การสร้างกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานและ บูรณาการงานสุขภาพจิตระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และ ชุมชน 3) การพัฒนาระบบการสื่อสารงานสุขภาพจิตสู่ ชุมชนแบบเชิงรุก และ 4) การเสริมสร้างศักยภาพแกนนำ เครือข่ายในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และ ชุมชน</p><p>3. การประเมินคุณภาพของยุทธศาสตร์ฯ พบว่า ในวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ/แนวทางในการพัฒนา มีความสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด และในด้าน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้</p><p> </p><p><strong>Strategy for the development of community mental health network in Tak Province.</strong></p><p><em>Thongthin, S., Chaowakeeratiphong, T., &amp; Phonprasert, P. </em></p><p>The objectives of the research were: 1) to study the conditions and problems of community mental health network operation in Tak province, 2) to create strategy for development of community mental health network in Tak province and 3) to evaluate strategy for development of community mental health network in Tak province. For the first objective, the researcher used questionnaire in 112 operators who worked in mental health unit of administration section and all levels of public health service sections in Tak province, interviewed 19 administers of public health service in Tak province, and set group discussion of 15 members of a village panel who had been running a community mental health network at least 3 years. For the second objective, the researcher analyzed the internal and external environment and provided strategic draft by performing a workshop meeting of 38 experts, administers, operators, and stakeholders, then performed an 8 experts relying seminar in order to verify the strategic draft. For the final objective, The researcher sent a questionnaire to 19 strategic experts and mental health experts. Data were analyzed in percentage, standard deviation, and content analysis. The results were as follows.</p><p>1. Conditions and problems: according to nine aspects studying frame, the leaders of community mental health network had competency in strategy. The members had taken parts in an operation but lack of knowledge and understanding on mental health work. There was coordination in Mental health network operation but lack of continuous follow-up in the information. Only few activities were founded. The problems of community mental health network operation were at the moderate quality. The highest problem was the readiness for network operation. The next was network management system setting and fundamental factors in network management.</p><p>2. The strategies of development of community mental health network in Tak province area were setting up vision and the setting strategies. Setting up vision for people in Tak province to have good mental health via energetic mental health network party, consisted of 4 missions, 4 objectives, 4 strategy issues, 14 tactics, 22 indicators, and 30 trends in development. The setting strategies consisted of 4 strategy issues. 1) To establish cooperation within network parties in and out public service system for running community mental health work. 2) To create an operating mechanism for moving and integrating mental health work at all levels including province, district, sub-district, and community. 3) To develop the proactive communication system of mental health work to community. 4) To establish network leader ability in care of a mental health of oneself, family, and community.</p><p>3. The consistency of vision, mission, objectives, strategy issues, tactics, indicators, and trends in development were at the best quality. The propriety, feasibility, and utility were at good and the best quality respectively. This indicated that the developed strategy could be led to practice.</p> ER -