ผลของโปรแกรมควบคุมความชื้นของผิวหนังต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนัง และการเกิดแผลกดทับ ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทั

Authors

  • สายฝน ไทยประดิษฐ์
  • วิภา แซ่เซี้ย
  • เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

Keywords:

ความชื้นของผิวหนัง ค่าความเป็นกรดด่างของผิวหนัง ผื่นแดง แผลกดทับ และผู้สูงอายุ Skin hydration, Skin pH, Skin redness, Pressure ulcer, Elderly

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมความชื้นของผิวหนังต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนังและอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

การออกแบบวิจัย: แบบกึ่งทดลองชนิดวัดผลก่อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม

การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อ

การเกิดแผลกดทับจำนวน 60 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทางเดินหายใจโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม จำนวนเท่าๆกัน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการควบคุมความชื้นของผิวหนังร่วมกับการดูแลปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติเท่านั้น  ความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนังประเมินจากค่าความเป็นกรดด่างและความชื้นของผิวหนังบริเวณก้นกบ เครื่องมือดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน 2) โปรแกรมการควบคุมความชื้นของผิวหนัง 3) เครื่องมือสำหรับวัดค่าความเป็นกรดด่างและความชื้นของผิวหนัง 4) แบบประเมินผื่นแดง และ 5) แบบประเมินระดับการเกิดแผลกดทับซึ่งใช้  ใช้.=hตามเกณฑ์การแบ่งระดับการเกิดแผลกดทับขององค์กรที่ปรึกษาเรื่องแผลกดทับ วิเคราะห์ค่าความแตกต่างของความเป็นกรดด่างและความชื้นของผิวหนังระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติทีอิสระ ส่วนอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับและผื่นแดงของผิวหนังวิเคราะห์ด้วยสถิติไควสแควร์

ผลการวิจัย: พบว่า ค่าเฉลี่ยความเป็นกรดด่าง ความชื้นของผิวหนังก้นกบ ความถี่ของการเกิดผื่นแดง และอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับบริเวณก้นกบหลังการทดลองของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำโปรแกรมการควบคุมความชื้นที่พัฒนาในการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจและมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้

Abstract: Objective:To study the impact that a skin humidity control programme could have on skin integrity and pressure ulcers in elderly patients with pressure ulcer risks. Design:Quasi-experimental research with a pre-test and post-test on the control. Implementation:The subjects, purposively sampled, were 60 elderly patients with pressure ulcer risks, who were treated in the respiratory disorder ward of a tertiary hospital in Southern Thailand. The research instruments were (1) Braden’s (1987) pressure ulcer risk measuring scale; (2) a skin humidity control programme; and (3) a skin integrity assessment device, which consisted of (i) a skin pH measuring device for coccyx humidity; and (ii) rash and pressure ulcer formation assessment device. Independent T-test was used to analyse differences in skin pH levels and skin humidity levels between the experimental group and the control group, whilst Chi-square Statistics were used to analyse rash and pressure ulcer for-mation. Results:The experimental group displayed a significantly lower (p < .001) post-experimental degree of coccyx humidity, skin pH level, rash frequency and pressure ulcer formation than the control. Recommendations:This programme could be applied to caring processes for elderly patients with pressure ulcer risks.

 

Downloads

How to Cite

1.
ไทยประดิษฐ์ ส, แซ่เซี้ย ว, ฐานิวัฒนานนท์ เ. ผลของโปรแกรมควบคุมความชื้นของผิวหนังต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนัง และการเกิดแผลกดทับ ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทั. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Mar. 31 [cited 2024 Apr. 19];29(1):43-54. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/18617