บทบาทพยาบาลในการสื่อสารไม่พึงประสงค์หรือแจ้งข่าวร้ายในผู้ป่วยมะเร็ง

Authors

  • จิตชญา บุญนันท์
  • ปรางทิพย์ ฉายพุทธ

Abstract

การสื่อสารเรื่องไม่พึงประสงค์หรือข่าวร้ายของผู้ป่วยมะเร็งอาจเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนของการวินิจฉัยโรค และอาจต่อเนื่องเป็นระยะตลอดการรักษา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัวทำให้เกิดความกลัว เครียด และวิตกกังวล จนเกิดเป็นปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมได้ ทั้งยังมีผลกระทบต่อพยาบาลและแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารหรือให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าว โดยอาจทำให้เกิดความเครียดและกลัวที่จะต้องมีปฏิพันธ์กับผู้ป่วยและครอบครัวได้เช่น เนื่องจากการสื่อสารเรื่องไม่พีงประสงค์หรือข่าวร้าย เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และยากสำหรับพยาบาลที่ขาดทักษะ ไม่มีประสบการณ์ และไม่มีแนวทางในการสื่อสาร พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสที่จะต้องสื่อสารเพื่อยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องไม่พึงประสงค์หรือข่าวร้ายให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับทราบ หรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม การใช้แนวทางสไปคส์ 6 ขั้นตอนที่ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมก่อนการสนทนา การประเมินการรับรู้ของผู้ป่วย การประเมินความต้องการการรับทราบข้อมูลการให้ความรู้ การสนใจความรู้สึกของผู้ป่วย และการสรุปวิธีเผชิญปัญหาและวางแผนในอนาคต สามารถช่วยให้การสื่อสารไม่พึงประสงค์หรือแจ้งข่าวร้ายในผู้ป่วยมะเร็งของพยาบาลมีประสิทธิดียิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องดังกล่าว โดยช่วยให้พยาบาลสามารถรวบรวมข้อมูลจากการใช้คำถามที่เหมาะสมและสังเกตปฏิกิริยาการแสดงออกของผู้ป่วย ทำการตอบสนองต่อปฏิกิริยาดังกล่าวและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลรักษาโรคของตนในอนาคต ซึ่งการใช้แนวทางสไปคส์นี้ยังทำให้พยาบาลเกิดความมั่นใจในการสื่อสาร และสามารถให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ : เรื่องไม่พึงประสงค์ ข่าวร้าย ผู้ป่วยมะเร็ง การสื่อสาร

Downloads

Published

2012-09-07

How to Cite

1.
บุญนันท์ จ, ฉายพุทธ ป. บทบาทพยาบาลในการสื่อสารไม่พึงประสงค์หรือแจ้งข่าวร้ายในผู้ป่วยมะเร็ง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 7 [cited 2024 Apr. 20];24(3):7. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2572