การเปรียบเทียบความแตกต่างของความเร็วในการไหลเวียนกลับของ เลือดดำบริเวณขาหนีบ ภายหลังการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและการใช้ เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะในผู้ป่วยอุบัติเหตุ

Authors

  • สุพรรณิการ์ ทองผา พยาบาลวิชาชีพ หออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
  • ประณีต ส่งวัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิภา แซ่เซี้ย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า, เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ, ความเร็วการไหลเวียนเลือดดำ, foot reflexology, Automatic Mechanical Intermittent Pneumatic Calf Compression, venous blood flow

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อ ความเร็วการไหลเวียนกลับของเลือดดำบริเวณขาหนีบในผู้ป่วยอุบัติเหตุ จำนวน 32 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยได้รับทั้งการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า 3 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 30 นาที และใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะทั้งวัน วัดความเร็วในการไหลเวียน กลับของเลือดดำบริเวณขาหนีบทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลองที่ 30 นาทีและ 120 นาที ด้วยเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด ผลการวิจัยพบว่า ความเร็วการ ไหลเวียนกลับของเลือดดำบริเวณขาหนีบของกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ได้รับการนวดกดจุด สะท้อนฝ่าเท้าและกลุ่มที่ใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (F = 75.31, p < .01) โดยความเร็วการไหลเวียนกลับของเลือดดำบริเวณขาหนีบ ของกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ได้รับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าที่ 30 และ 120 นาทีของการ นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าทั้ง 3 ครั้ง มีค่ามากกว่ากลุ่มใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะที่ เวลาเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)

ดังนั้นการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าจึงสามารถใช้เป็นทางเลือกในการพยาบาลเพื่อ ส่งเสริมการไหลเวียนเลือดดำได้ โดยเฉพาะในรายที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือมีความ เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ และไม่มีเครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะใน หอผู้ป่วย

คำสำคัญ : นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า, เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ, ความเร็วการไหลเวียนเลือดดำ

 

Abstract

This one-group crossover quasi-experimental study aimed to compare the effects of foot reflexology and Automatic Mechanical Intermittent Pneumatic Calf Compression (IPC) on blood flow velocity of the femoral veins in trauma patients. Thirty-two subjects were purposively sampled to receive 30 minutes of foot reflexology three times daily on alternate days with an IPC on the other day. The femoral blood flow velocity was measured by Doppler’s vascular detector at baseline, 30 minutes and 120 minutes.

There was a significant difference in femoral blood flow velocity between patients receiving foot reflexology and those receiving IPC (F=75.31, p < .01). Pair-based comparison showed the femoral blood flow velocity after foot reflexology at 30 minutes and 120 minutes was significantly higher than those treated with IPC (p < .01).

Based on these findings, foot reflexology can be used as an alternative nursing method to promote circulation of venous blood flow in immobilized patients and those who are at risk of deep vein thrombosis, especially where there is no IPC machine available.

Keywords : foot reflexology, Automatic Mechanical Intermittent Pneumatic Calf Compression, venous blood flow

Downloads

How to Cite

1.
ทองผา ส, ส่งวัฒนา ป, แซ่เซี้ย ว. การเปรียบเทียบความแตกต่างของความเร็วในการไหลเวียนกลับของ เลือดดำบริเวณขาหนีบ ภายหลังการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและการใช้ เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะในผู้ป่วยอุบัติเหตุ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Jan. 30 [cited 2024 Mar. 29];27(3):127-41. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5482