@article{เก่งเขตกิจ_ระเบียบ_เอี่ยมรักษา_2012, title={การตรวจเต้านมในสตรีไทย}, volume={15}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2229}, abstractNote={<p><strong> </strong>การตรวจเต้านมเป็นการตรวจดัดกรองโรคมะเร็งเต้านมที่ดีมีวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยคันพบมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และสามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยได้ ซึ่งการตรวจเต้านมในปัจจุบัน 3 วิธี คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองการตรวจเต้านมโดยการแพทย์ และโดยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาถึงการตรวจเต้านมทั้ง 3 วิธี รวมทั้งเหตุส่งเสริมและอุปสรรคของการตรวจ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงให้สตรีไทยมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมที่ถูกต้องโดยการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม คือพยาบาล ผู้รับริการรักษาเต้านมและผู้รับบริการรักษาทั่วไปที่โรงพยาบาลศิริราชรวมทั้งสิ้น 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นคำถามปลายเปิด 10 ข้อ สรุปผลการวิจัยได้คือ</p> <p>1.สตรีไทยส่วนใหญ่มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อยกว่าเดือนละครั้ง วิธีการตรวจคือ ไม่ได้ตรวจหน้ากระจก ดูแลลักษณะและสีผิวของเต้านมคลำตรวจทั่วเต้านมทั้ง 2 ข้าง ไม่ได้คลำรักแร้ ท่าตรวจที่ใช้คือ ท่ายืนขณะอาบน้ำ</p> <p>เหตุส่งเสริมในการตรวจ คือ กลัวการเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด ส่วนอุปสรรคคือไม่ทราบวิธีตรวจ</p> <p>2.สตรีไทยส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจเต้านมโดยแพทย์ สำหรับสตรีที่เคยได้รับการตรวจนั้นเป็นการตรวจ 1 ครั้ง ในชีวิตจำนวนมากที่สุด</p> <p>เหตุส่งเสริมในการตรวจคือ มีความผิดปกติของเต้านม ส่วนอุปสรรคที่ไม่ได้ตรวจ คือ ไม่มีสิ่งผิดปกติของเต้านม</p> <p>3.สตรีไทยส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจเต้านมโดยเครื่องแมมโมแกรม สำหรับสตรีที่เคยตรวจเป็นการตรวจ 1 ครั้งในชีวิตจำนวนมากที่สุด</p> <p>เหตุส่งเสริมในการตรวจ คือ แพทย์แนะนำส่วนอุปสรรคที่ไม่ได้ตรวจคือไม่มีสิ่งผิดปกติของเต้านม</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การตรวจเต้านม,มะเร็งเต้านม,สตรี-ไทย</p><br />}, number={1}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={เก่งเขตกิจ บงกช and ระเบียบ เพ็ญศรี and เอี่ยมรักษา สุพรรณี}, year={2012}, month={Aug.}, pages={55} }