@article{พงศ์ถาวรกมล_ฉัตรชัยสุชา_2012, title={รายงานการวิจัยการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น : ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการปฏิบัติ ของพยาบาลอายุ 35 ปีขึ้นปี}, volume={18}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2359}, abstractNote={<p><strong> </strong>มะเร็งเต้านมพบได้บ่อยในสตรีไทยเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งมดลูก และมีแนวโน้มพบในสตรีอายุน้อยเพิ่มขึ้น การค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นเพื่อสามารถรักษาให้หาย ถือเป็นความจำเป็นของสตรีซึ่งทุกคนเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป การค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่ดี ควรประกอบด้วย 3 วิธีร่วมกัน ได้แก่ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self-Exan : BSE)  การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) และการตรวจเต้านมโดยแพทย์/บุคลากรทางการแพทย์ (Clinical Breast Exam : CBE) อย่างไรก็ดีพบว่าสตรีจำนวนมากยังไม่ปฏิบัติการตรวจเต้านมดังกล่าว การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์พฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อค้นหาโรคมะเร็ง.เต้านมระยะเริ่มต้นของพยาบาลประจำการอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 276 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้ตอบแบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการตรวจเต้านมทั้ง 3 อย่าง ได้แก่ BSE, mammogram และ CBE  ของพยาบาลอายุ 35 ปีขึ้นไป อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์แนะนำกำหนดโดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม (r= 0.143 p<.0.05)  การรับรู้ประโยชน์ (r=0.156 p<0.01) และการรับรู้อุปสรรคในการตรวจ BSE (r=0.224 p<0.001) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตรวจ BSE  ของพยาบาล การับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตรวจ CBE (r= 0.222 p< 0.001)  การตรวจแมนโมแกรม ของพยาบาล ( r=0.127 p<0.05) อายุของพยาบาลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตรวจเต้านมทั้ง 3 อย่าง  ประวัติมีก้อน/ความผิดปกติที่เต้านมเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการตรวจ CBE ของพยาบาลอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 30.4 (R   =0.304, p<0.001  ) พยาบาลในฐานะบุคลากรหลักในทีมสุขภาพ ที่ทำหน้าที่สอน/ให้คำแนะนำแก่สตรีในการป้องกันมะเร็งเต้านมควรตระหนัก ถึงการเป็นผู้ปฏิบัติพฤติกรรมทางสุขภาพเพื่อเป็นแบอย่างในการดูแลเต้านมตนเองอย่างเหมาะสมด้วย ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการศึกษาแนวเดียวกันในสตรี/พยาบาลกลุ่มอื้นหรือในภูมิภาคอื่นๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรงของผลวิจัยกับการศึกษาครั้งนี้</p> <p>คำสำคัญ : การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, มะเร็งเต้านม,ความเชื่อด้านสุขภาพ,พยาบาล</p>}, number={2}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={พงศ์ถาวรกมล คนึงนิจ and ฉัตรชัยสุชา สิริรัตน์}, year={2012}, month={Aug.}, pages={1} }