@article{พานชูวงศ์_อุทริยะประสิทธิ์_กิมปี_สัตยวิวัฒน์_2012, title={ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดขาเนื่องจากการขาดเลือดมาเลี้ยง วิธีจัดการอาการและผลลัพธ์ของการจัดการอาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน}, volume={23}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2473}, abstractNote={<p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงบรรยายนี้เพื่อศึกษาถึงประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดขาเนื่องจากการขาดเลือดมาเลี้ยง วิธีจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โดยใช้แบบจำลองวิธีการจัดการกับอาการของดอดด์และคณะ (2001) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันแบบเรื้อรัง ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 105 คน โดยเลือกผู้ป่วยตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการรักษา แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์ อาการปวด แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีจัดการอาการปวด และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ ของการจัดการอาการปวด</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดขา คือ ผู้ป่วยมีการรับรู้ความรุนแรงของอาการปวดขาในระดับมาก ตำแหน่งที่มีอาการปวด ส่วนใหญ่เกิดที่บริเวณน่องและเท้า การตอบสนองต่ออาการปวดเขา พบว่า อาการปวดขารบกวนกิจกรรมในด้านการเดินของผู้ป่วยในระดับมากที่สุด ผู้ป่วยใช้วิธีการนั่งพักเป็นวิธีจัดการอาการปวดขามากที่สุด อย่างไรก็ตาม อาการปวดยังคงส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของร่างกายมากกว่าด้านสภาพอารมณ์ พบว่า การนั่งพักและการรับประทานยาระงับปวดตามที่แพทย์สั่งมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดขาได้ดีกว่าอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)</p> <p>จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการให้ความรู้และคำแนะนำในการจัดการกับอาการปวดขาอันเนื่องมาจากการขาดเลือดมาเลี้ยงให้สอดคล้องกับประสบการณ์และวิธีการที่ผู้ป่วยเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดขา การจัดการกับอาการ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน</p>}, number={1}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={พานชูวงศ์ ธิดารัตน์ and อุทริยะประสิทธิ์ เกศรินทร์ and กิมปี สุวิมล and สัตยวิวัฒน์ วรรณี}, year={2012}, month={Sep.}, pages={60} }